SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 88
Downloaden Sie, um offline zu lesen
วิทยาศาสตร์
พว02017 เทคโนโลยีชีวภาพ
หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
สาหรับคนไทยในต่างประเทศ
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกลุ่มเป้าหมายพิเศษ
สานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ
เอกสารวิชาการเล่มที่ 61/2554
หนังสือแบบเรียนสาระวิชาความรู้พื้นฐาน
รายวิชาเลือก
เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 1
ชื่อหนังสือ หนังสือแบบเรียนสาระวิชาความรูพื้นฐาน
รายวิชาเลือก พว02017 เทคโนโลยีชีวภาพ
หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 สําหรับคนไทยในตางประเทศ
ISBN :
พิมพครั้งที่ : 2/2554
จํานวนพิมพ :
เอกสารทางวิชาการลําดับที่ ; 61/2554
จัดพิมพและเผยแพร : ศูนยการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกลุมเปาหมายพิเเศษ
สํานักงานสงเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงศึกษาธิการ
โทร 02 2817217,0202685329,026285331
โทรสาร 02 2817216, 02 6285330
เว็ปไซด : http;//www.nfe.go.th/0101-v3/frontend/
เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 2
คํานํา
สํานักงานสงเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ไดดําเนินการจัดทํา
หนังสือเรียนสาระวิทยาศาสตร รายวิชาเลือก รหัส พวพว02017 เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อใชในการ
เรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบและการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สําหรับ
คนไทยในตางประเทศ โดยมีวัตถุประสงคเพื่อพัฒนาผูเรียนใหมีคุณธรรม จริยธรรมมีสติปญญาและ
ศักยภาพในการประกอบอาชีพ และการศึกษาตอตลอดจนสามารถดํารงชีวิตอยูในครอบครัว ชุมชน
สังคมไดอยางมีความสุข ซึ่งผูเรียนสามารถนําหนังสือเรียนไปใชดวยวิธีการศึกษาคนควาดวยจนเอง
ปฏิบัติกิจกรรมและแบบฝกหัด เพื่อทดสอบความรูความเขาใจในสาระเนื้อหา รวมทั้งหาความรูจาก
แหลงเรียนรูหรือสื่ออื่นๆเพิ่มเติมได
ในการดําเนินการจัดทําหนังสือเรียน ไดรับความรวมมือที่ดีจากผูทรงคุณวุฒิและ
ผูเกี่ยวของที่คนควาและเรียบเรียงเนื้อหาสาระจากสื่อตาง ๆ เพื่อใหไดสื่อที่สอดคลองกับหลักสูตร
และเปนประโยชนตอผูเรียนที่อยูนอกระบบอยางแทจริง ศูนยการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม
อัธยาศัยกลุมเปาหมายพิเศษ ขอขอบคุณคณะที่ปรึกษาและ คณะผูเรียบเรียง ตลอดจนคณะผูจัดทํา
ทุกทานที่ไดใหความรวมมือดวยดีไว ณ โอกาสนี้
ศูนยการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกลุมเปาหมายพิเศษ หวังวา
หนังสือเลมนี้จะเปนประโยชนตอผูเรียนและการจัดการเรียนการสอน หากมีขอเสนอแนะประการใด
จะขอนอมรับไวดวยความขอบคุณยิ่ง
ศูนยการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกลุมเปาหมายพิเศษ
เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 3
สารบัญ
หนา
คํานํา 2
คําแนะนําการใชหนังสือเรียน 4
โครงสรางรายวิชา พว 02017 เทคโนโลยีชีวภาพ 7
- ตอนที่ 1 ความหมายเทคโนโลยีชีวภาพ 8
- ตอนที่ 2 การโคลนนิ่ง 11
- ตอนที่ 3 การสรางและดัดแปลงสิ่งมีชีวิตทางพันธุวิศวกรรม 20
- ตอนที่ 4 เซลลตนกําเนิด 28
- ตอนที่ 5 การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช 37
5.1 ความสําคัญและประโยชน 37
5.2 ประวัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช 38
5.3 หองปฏิบัติการ 41
5.4 เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณเครื่องแกว 42
5.5 อาหารสําหรับเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 47
5.6 การเตรียมอาหาร 52
5.7 การเตรียมชิ้นสวนพืช การฟอกฆาเชื้อ 54
5.8 การยายเนื้อเยื่อพืช 57
5.9 การยายปลูกในสภาพธรรมชาติ 58
5.10 ปญหาที่พบในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช 59
- ตอนที่ 6 ประโยชนและผลกระทบของเทคโนโลยีชีวภาพตอมนุษย
สิ่งแวดลอม และเศรษฐกิจ 61
กิจกรรมทายบท 64
แนวตอบกิจกรรม 75
บรรณานุกรม 86
คณะผูจัดทํา 87
เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 4
คําแนะนําในการใชหนังสือเรียน
หนังสือแบบเรียนสาระวิชาความรูพื้นฐาน รายวิชาเลือก พว 02017 เทคโนโลยีชีวภาพ
( 1 หนวยกิต) หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สําหรับ
คนไทยในตางประเทศ แบงออกเปน 3 สวน ประกอบดวย
สวนที่ 1 คําชี้แจงกอนเรียนรูรายวิชา
สวนที่ 2 เนื้อหาสาระและกิจกรรมทายบท
สวนที่ 3 แนวตอบกิจกรรมทายบทและหรือแบบทดสอบยอยทายบท
สวนที่ 1 คําชี้แจงกอนเรียนรูรายวิชา
ผูเรียนตองศึกษารายละเอียดในคํานําและคําแนะนําการใชหนังสือแบบเรียน เพื่อสรางความ
เขาใจและเพื่อใหบรรลุตามมาตรฐานการเรียนรูของรายวิชา ซึ่งการเรียนรูเนื้อหาและการปฏิบัติ
กิจกรรมทายบท ควรปฏิบัติดังนี้
1.หารือครูประจํากลุม/ครูผูสอน เพื่อรวมกันวางแผนการเรียน (ใชเวลาเรียน 40
ชั่วโมง)
2 ศึกษาเนื้อหาจากหนังสือแบบเรียน หากมีขอสงสัยเรื่องใดสามารถศึกษาคนควา
เพิ่มเติมไดจากสื่อๆหรือหารือครูประจํากลุม/ครูผูสอน เพื่อขอคําอธิบายเพิ่มเติม
3.ทํากิจกรรมทายบทตามที่กําหนด
4. เขาสอบวัดผลการเรียนรูตามที่กําหนด
5. สรางความเขาใจเกี่ยวกับการประเมินผลรายวิชา ซึ่งมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน จาก
การศึกษาหนังสือรายวิชานี้ เพื่อแสดงใหเห็นกระบวนการเรียนรู และนําความรูไปใชโดยทําตามที่ครู
กําหนดและจัดทําเปนรูปแบบเอกสารความรู ดังนี้
5.1 คะแนนระหวางภาคเรียน 60 คะแนน แบงสวนคะแนนตามกิจกรรม
ไดแก
1) ทํากิจกรรมทายบทเรียน 20 คะแนน โดยทํากิจกรรมทายบทใหครบถวน
2) ทําบันทึกการเรียนรู 20 คะแนน โดยสรุปเนื้อหาหรือวิเคราะหเนื้อหาจาก
การศึกษาหนังสือรายวิชานี้ เพื่อแสดงใหเห็นกระบวนการเรียนรูและนําความรูไปใชโดยทําตามที่ครู
กําหนดและจัดทําเปนรูปแบบเอกสารความรู ดังนี้
เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 5
- สวนบันทึกการเรียนรู (เนื้อหาประกอบดวย ชื่อ-นามสกุล รหัส
ประจําตัว ระดับการศึกษา ศูนยการเรียนกศน. ของผูเรียนและศูนยการศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศัยกลุมเปาหมายพิเศษ)
- สวนการบันทึกการเรียนรู (เนื้อหาประกอบดวย หัวขอ/เรื่องที่ศึกษา
และจุดประสงคที่ศึกษาและขั้นตอนโดนระบุวามีวิธีรวบรวมอยางไร นําขอมูลมาใชอยางไร
-สวนสรุปเนื้อหา (สรุปสาระความรูสําคัญตามเนื้อหาที่ไดบันทึกการ
เรียนรู)
-ประโยชนที่เกิดกับผูเรียน (บอกความรูที่รับและนํามาพัฒนาตนเอง/
การนําไปประยุกตใหในรายวิชาอื่นๆ หรือในชีวิตประจําวัน)
3) ทํารายงานหรือโครงงาน คิดสัดสวน 20 คะแนนโดยจัดทําเนื้อหาหรือ
โครงงานตามที่ครูกําหนด รูปแบบเอกสารรายงานหรือโครงการดังนี้
3.1) การทํารายงานหรือโครงการตามที่ครูมอบหมายใหดําเนินตาม
รูปแบบกระบวนการทํารายงานหรือโครงงานตามรูปแบบดังนี้
-ปก (เรื่องที่รายงาน รายละเอียดเกี่ยวกับตัวผูเรียน:ชื่อ-นามสกุล รหัส
ประจําตัว ระดับการศึกษา ศูนยการเรียน กศน.ของผูเรียนและศูนยการศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศัยกลุมเปาหมายพิเศษ
-คํานํา
-สารบัญ
-สวนเนื้อหา (หัวขอหลัก หัวขอยอย)
-สวนเอกสารอางอิง
3.2) การทําโครงงาน ตามที่ครูมอบหมายและดําเนินการตาม
กระบวนการทํางาน โดยจัดทําตามรูปแบบเอกสาร ดังนี้
-ปก (เรื่องที่โครงงาน รายละเอียดเกี่ยวกับตัวผูเรียน:ชื่อ-นามสกุล รหัส
ประจําตัว ระดับการศึกษา ศูนยการเรียน กศน.ของผูเรียนและศูนยการศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศัยกลุมเปาหมายพิเศษ
-หลักการและเหตุผล
-วัดถุประสงค
-เปาหมาย
เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 6
-ขอบเขตของการศึกษา
-วิธีการดําเนินงานและรายละเอียดของแผน
-ระยะเวลาดําเนินงาน
-งบประมาณ
-ผลที่คาดวาจะไดรับ
5.2 คะแนนปลายภาคเรียน 40 คะแนน ผูเรียนตองเขาสอบวัดความรูปลายภาคเรียนโดยใช
เครื่องมือ (ขอสอบแบบปรนัยหรืออัตนัย) ของศูนยการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
กลุมเปาหมายพิเศษ
สวนที่ 2 เนื้อหาสาระและกิจกรรมทายบท
ผูเรียนตองวางแผนการเรียน ใหสอดคลองกับระยะเวลาของรายวิชาและตองศึกษาเนื้อหา
สาระตามที่กําหนดในรายวิชาใหละเอียดครบถวน เพื่อใหเปนไปตามมาตรฐานการเรียนรูของ
รายวิชา ซึ่งในรายวิชานี้ไดแบงเนื้อหาออกเปน 3 บท ดังนี้
บทที่ 1 ความหมายและความสําคัญของสารเคมีและเคมีภัณฑ
บทที่ 2 ผลของปฏิกิริยาเคมีตอสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดลอม
บทที่ 3 สารเคมีในบาน
สวนกิจกรรมทายบท เมื่อผูเรียนไดศึกษาเนื้อหาแตละบท/ตอนแลว ตองทํากิจกรรมทาย
บทเรียนหรือแบบฝกหัด ตามที่กําหนดใหครบถวน เพื่อสะสมเปนคะแนนระหวางเรียน( 20 คะแนน)
สวนที่ 3 แนวตอบกิจกรรมทายบทเรียนหรือแบบฝกหัดและหรือเฉลยยอย
แนวตอบกิจกรรมทายบทเรียนหรือแบบฝกหัดและหรือเฉลยยอย จัดทําแยกในบท
เรียงลําดับ
เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 7
โครงสร้าง พว32007 เทคโนโลยีชีวภาพ
สาระสําคัญ
เทคโนโลยีชีวภาพ เป็นกระบวนการที่รวบรวมและนําเอาหลักการความรู้ วิทยาการ และ
เทคนิคต่าง ๆ ทางชีวเคมี จุลชีววิทยา วิศวกรรมเคมี ชีวเคมี วิศวกรรมกระบวนการที่มีความสัมพันธ์กัน
มาใช้เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ เอ็นไซม์ เซลล์และส่วนประกอบของเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
ต่าง ๆ เทคโนโลยีชีวภาพได้ถูกนํามาใช้ประโยชน์ทั้งทางด้าน เกษตรกรรม อาหาร การแพทย์ และเภสัช
กรรม โดยมีวัตถุประสงค์ต่าง ๆ อาทิ เพื่อลดปริมาณการใช้สารเคมี เพื่อเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก เพื่อเพิ่ม
ผลผลิตทางการเกษตร เพื่อคิดค้นอาหารที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูงขึ้น เพื่อค้นคิดตัวยาป้องกันและ
รักษาโรค ซึ่งล้วนเป็นการนําเทคโนโลยีชีวภาพมารับใช้ประชากรโลก ในการสร้างสรรค์พัฒนาให้มวล
มนุษย์สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
ปัจจุบัน มีการนําวิทยาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ที่เด่นชัดที่สุด
คือ ในทางการแพทย์และการเกษตร ทั้งนี้เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวภาพได้ก่อให้เกิด
ความหวังใหม่ ๆ ในการคิดค้นหนทางแก้ปัญหาสําคัญที่โลกกําลังเผชิญอยู่ทั้งทางด้านเกษตรกรรม
อาหาร การแพทย์ และเภสัชกรรม
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1.สามารถอธิบายความหมายของเทคโนโลยีชีวภาพได้
2.อธิบายหลักการ การโคลนนิ่ง การสร้างและดัดแปลงสิ่งมีชีวิตทางพันธุวิศวกรรม เซลล์ต้น
กําเนิด การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชได้
3.อธิบายวิธีการและขั้นตอนของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชได้
4.สามารถบอกประโยชน์และผลกระทบของเทคโนโลยีชีวภาพต่อมนุษย์ สิ่งแวดล้อมและ
เศรษฐกิจได้
ขอบข่ายเนื้อหา
บทที่ 1 ความหมายเทคโนโลยีชีวภาพ
บทที่ 2 การโคลนนิ่ง
บทที่ 3 การสร้างและดัดแปลงสิ่งมีชีวิตทางพันธุวิศวกรรม
บทที่ 4 เซลล์ต้นกําเนิด
บทที่ 5 การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
บทที่ 6 ประโยชน์และผลกระทบของเทคโนโลยีชีวภาพต่อมนุษย์ สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ
เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 8
บทที่ 1 เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)
คําว่า “เทคโนโลยีชีวภาพ” หรือ Biotechnology อาจจะฟังดูแล้วเป็นศัพท์ทางวิชาการ แต่
แท้จริงเทคโนโลยีชีวภาพไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด หากแต่มนุษย์เราได้นําประโยชน์จากกระบวนการ
ทางเทคโนโลยีชีวภาพเข้ามาใช้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตเราเป็นเวลาหลายปีเพื่อการแปรรูปอาหารและถนอม
อาหารในสมัยโบราณประมาณ 6,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวสุเมเรียนและบาบิโลเนียนเริ่มรู้จักการนํา
ยีสต์มาหมักเบียร์ ต่อมาชาวอียิปต์ได้ค้นพบการทําขนมปังโดยใช้เชื้อยีสต์ลงไปในแป้งสาลี ในเอเชียมี
การค้นพบวิธีถนอมอาหารในรูปแบบง่าย ๆ ได้แก่ การหมักดองอาหาร เช่น เต้าเจี้ยว แหนม ปลาร้า ผัก
ดอง ซีอิ๊ว การทําข้าวหมาก สุราพื้นบ้านเป็นต้น
ความหมายของเทคโนโลยีชีวภาพ
การใช้เทคโนโลยีชีวภาพ หมายถึง การนําสิ่งมีชีวิต หรือผลิตภัณฑ์จากสิ่งมีชีวิต หรือสังเคราะห์
จากสิ่งมีชีวิต มาปรับปรุงพืช สัตว์ หรือผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อประโยชน์เฉพาะตามต้องการได้มีการนํา
เทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรม เช่น เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อปรับปรุงพันธุ์พืช เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์สัตว์
United Nations Convention on Biological Diversityได้ให้นิยามของ เทคโนโลยีชีวภาพ ไว้ว่า
“Any technological application that uses biological systems, living organisms, or
derivatives thereof, to make or modify products or processes for specific use”
“การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่างๆทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้กับ ระบบของสิ่งมีชีวิต หรือ สิ่งมีชีวิต
หรือ ชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิต เพื่อสร้างหรือปรับปรุง ผลิตภัณฑ์ หรือ กระบวนการ เพื่อมาใช้ประโยชน์
เฉพาะด้าน”
กล่าวได้ว่าเทคโนโลยีชีวภาพเป็นสหวิทยาการประกอบมาจากหลายสาขาวิชา เช่น ชีววิทยา
เคมี ฟิสิกส์ จุลชีววิทยา ชีววิทยาโมเลกุล วิศวกรรม พันธุวิศวกรรม สรีรวิทยา ชีวเคมี การเกษตร
การแพทย์ การอุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม กาพลังงานและอื่นๆอีกมากมายที่นําความรู้และพื้นฐาน
เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตมาใช้ให้เกิดประโยชน์
ในปัจจุบันการพัฒนาด้านเทคโนโลยีชีวภาพได้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่นักวิทยาศาสตร์
รุ่นใหม่ ประสบความสําเร็จในการคัดเลือกจุลินทรีย์ที่เหมาะสมมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ตลอดไปจนถึง
การริเริ่มนํายีน (Gene) หรือหน่วยพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตมาศึกษาการถ่ายทอดลักษณะพิเศษเพื่อ
เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 9
นํามาใช้ประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรม อาหาร ยาป้องกันและรักษาโรคปัจจุบัน ประเทศที่พัฒนาแล้ว
เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ต่างมีนโยบายสนับสนุนการค้นคว้านําเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ให้เป็นประโยชน์
เพราะเชื่อว่าวิทยาการแขนงนี้จะช่วยให้สามารถคิดค้นตัวยาใหม่ ๆ และผลผลิตด้านอาหารและเกษตร
ของโลกเพิ่มมากขึ้น พอเพียงสําหรับประชากรโลกในอนาคต
ประเภทของเทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
เทคโนโลยีชีวภาพแบบดั้งเดิม เป็นเทคโนโลยีชีวภาพที่มนุษย์รู้จักกันมานาน ไม่ต้องใช้เทคนิค
วิธีการทางวิทยาศาสตร์และวิทยาการสูงมากนักเช่น การทําเหล้า อาหารหมักดอง การผลิตปุ๋ยหมัก การ
ใช้สิ่งมีชีวิตในการควบคุมและกําจัดศัตรูพืช เป็นต้น
เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ เป็นเทคโนโลยีชีวภาพที่ต้องใช้ความรู้และเทคนิควิธีการทาง
วิทยาศาสตร์ชั้นสูงที่เกี่ยวข้องกับสารพันธุกรรม เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิต
เช่น การโคลนนิ่ง พันธุวิศวกรรรม เป็นต้น
เทคโนโลยีชีวภาพ มีความสําคัญอย่างไร
เทคโนโลยีชีวภาพได้ถูกนํามาใช้ประโยชน์ทั้งทางด้านเกษตรกรรม อาหาร การแพทย์ และเภสัช
กรรม โดยมีวัตถุประสงค์ต่าง ๆ อาทิ เพื่อลดปริมาณการใช้สารเคมี เพื่อเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก เพื่อเพิ่ม
ผลผลิตทางการเกษตร เพื่อคิดค้นอาหารที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูงขึ้น เพื่อค้นคิดตัวยาป้องกันและ
รักษาโรค ซึ่งล้วนเป็นการนําเทคโนโลยีชีวภาพมารับใช้ประชากรโลก ในการสร้างสรรค์พัฒนาให้มวล
มนุษย์สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นปัจจุบัน มีการนําวิทยาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ประโยชน์
อย่างกว้างขวาง ที่เด่นชัดที่สุดคือ ในทางการแพทย์และการเกษตร ทั้งนี้เนื่องจากความก้าวหน้าทาง
เทคโนโลยีชีวภาพได้ก่อให้เกิดความหวังใหม่ ๆ ในการคิดค้นหนทางแก้ปัญหาสําคัญที่โลกกําลังเผชิญอยู่
ทั้งทางด้านเกษตรกรรม อาหาร การแพทย์ และเภสัชกรรมอันได้แก่
ความพยายามจะลดปริมาณการใช้สารเคมีในเกษตรกรรม ด้วยการคิดค้นพันธุ์พืชใหม่ที่
ต้านทานโรคศัตรูพืชอันจะช่วยลดปัญหาการใช้สารเคมีซึ่งเป็นหนึ่งในต้นเหตุของปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
ความพยายามจะเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกของโลก ด้วยการปรับปรุงพันธุ์พืชใหม่ ที่ทนทานต่อภาวะ
แห้งแล้ว หรืออุณหภูมิที่สูงหรือต่ําเกินไป
ความพยายามจะเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรของโลก ด้วยการคิดค้นปรับปรุงพันธุ์พืชและพันธุ์
สัตว์ที่ทนทานต่อโรคภัยและให้ผลิตสูงขึ้น
เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 10
ความพยายามจะค้นคิดอาหารที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูงขึ้นหรือมีคุณสมบัติที่มีประโยชน์ต่อ
ผู้บริโภคมากขึ้น เช่นอาหารไขมันต่ํา อาหารที่คงความสดได้นานกว่า อาหารที่มีอายุการบริโภคนานขึ้น
โดยไม่ต้องใส่สารเคมี เป็นต้น
ความพยายามจะค้นคิดตัวยาป้องกันและรักษาโรคติดต่อหรือโรคร้ายแรงต่าง ๆ ที่ยังไม่มีวิธี
รักษาที่ได้ผล เช่น การคิดตัวยาหยุดยั้งการลุกลามของเนื้อเยื่อมะเร็งแทนการใช้สารเคมีทําลาย
การคิดค้นวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบชนิดต่าง ๆ
วิธีการทางเทคโนโลยีชีวภาพ
การนําเทคโนโลยีมาใช้เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิต มีหลากหลาย
วิธีซึ่งมีทั้งวิธีการแบบดั้งเดิมและแบบสมัยใหม่ ตัวอย่างของวิธีการทางเทคโนโลยีชีวภาพมีดังต่อไปนี้
- การโคลนนิ่ง
- การสร้างและดัดแปลงสิ่งมีชีวิตทางพันธุวิศวกรรม
- การใช้เซลล์ต้นกําเนิดเพื่อการพัฒนา
- การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 11
บทที่ 2 การโคลนนิ่ง
โคลนนิ่ง (cloning) เป็นกระบวนการสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศชนิดหนึ่ง มนุษย์รู้จักโคลนนิ่งมา
แต่สมัยโบราณแล้ว แต่เป็นการ รู้จักโคลนนิ่งที่เกิดกับพืช นั่นคือ การขยายพันธุ์พืชโดยไม่อาศัย
กระบวนการที่เกี่ยวกับเพศของพืชเลย โคลนนิ่งที่เป็นการขยายพันธุ์พืชหรือสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศที่
เป็นที่รู้จักและเรียกกันในภาษาไทยของเราว่า“การเพาะชําพืช”เช่น การตัด ปักชํา ส่วนที่ตัดเป็นชิ้น
เล็กๆจากพืช เช่น กิ่ง ใบ ราก เมื่อนําไปปักชําจะสามารถเจริญเติบโตเป็นพืชใหม่ได้ และมีองค์ประกอบ
ทางพันธุกรรมเหมือนต้นเดิมทุกประการ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยการใช้เซลล์ อวัยวะ เนื้อเยื่อ และ
โพรโทพลาสต์ของพืชมาเลี้ยงในสารอาหารและจัดให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม ส่วนต่างๆเหล่านั้นจะ
เจริญเติบโตเป็นพืชใหม่ที่มีลักษณะตรงตามพันธุ์เดิมทุกประการ สําหรับเรื่องการโคลนนิ่งของสัตว์และ
มนุษย์ก็เป็นกระบวนการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เช่นกัน คําว่าโคลน (clone) มาจากคําภาษากรีกว่า
“Klone” แปลว่า แขนง กิ่ง ก้าน ซึ่งใช้อธิบายการแบ่งตัวแบบไม่มีเพศ (asexual) ในพืชและสัตว์ การ
โคลนนิ่งสัตว์ คือการผลิตสัตว์ให้มีลักษณะทาง กายภาพ (phenotype) และทางพันธุกรรม
(genotype) เหมือนกัน (identical twin) โดยไม่ใช้เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียมาผสมกัน ใน
ภาษาอังกฤษเรียกว่า “genetic duplication”
ดังนั้นการโคลนนิ่งจึงเป็นการทําสิ่งมีชีวิตให้เป็นแฝดเหมือนกัน คือ มีเพศเหมือนกัน สีผิว
เหมือนกัน หมู่เลือดเหมือนกัน ตําหนิเหมือนกัน เป็นต้นซึ่งในทางธรรมชาติโดยเฉพาะในสัตว์เกิด
ปรากฏการณ์การเกิดแฝดขึ้นได้น้อยมาก การโคลนนิ่งที่ทําได้ยากที่สุดคือการโคลนนิ่งสัตว์
นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามโคลนนิ่งสัตว์มาเป็นเวลานานแล้ว ซึ่งการโคลนนิ่งสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบาง
ชนิดทําได้ง่ายมาก เช่น ถ้าเราตัดปลาดาวออกเป็นสองส่วน แต่ละส่วนจะสามารถงอกเป็นปลาดาวตัว
ใหม่ทั้งตัวได้ แต่การโคลนนิ่งสัตว์มีกระดูกสันหลังทําได้ยากกว่ามาก
เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 12
ประวัติและวิวัฒนาการของการโคลนนิ่ง
ปี พ.ศ. ผู้ค้นคว้าวิจัย การค้นคว้า
2423 วิลเฮม รูกซ์ และ
ออกุสต์ ไวส์มันน์
ทฤษฎีพัฒนาการระยะแรกของสิ่งมีชีวิต เซลล์สืบพันธุ์เป็นตัว
ถ่ายทอดชุดของมรดก ทางพันธุกรรมที่สมบูรณ์ ขณะที่เซลล์ประเภท
ที่ไม่ใช้เซลล์สืบพันธุ์บางประเภทเท่านั้น ที่สามารถถ่ายทอดลักษณะ
ทางพันธุกรรมได้
2431 วิลเฮมล์ รูกซ์ ได้นําทฤษฎีดังกล่าวไปทดลองในห้องปฏิบัติการเป็นครั้งแรก ด้วย
การแยกเซลล์ตัวอ่อนของเซลล์กบด้วยเข็มที่ร้อน ทําให้เกิด
วิวัฒนาการครึ่งหนึ่งของตัวอ่อน
2437 ฮันส์ ไดรซ์ ได้แยกบลาสโตเมียร์ออกจากตัวอ่อนของเม่นทะเล และเฝ้าดู
พัฒนาการของบลาสโตเมียร์ไปเป็นดักแด้ การทดลองของไดรซ์ได้ไป
หักล้างทฤษฎีของไวส์มันน์ รูกซ์
2444 ฮันส์ สเปอร์มัน ได้แยกตัวอ่อน 2 เซลล์ของซาลามานเดอร์ออกเป็น 2 ส่วน ปรากฏ
ว่าสําเร็จและพัฒนาเป็นดักแด้ 2 ตัว
2457 ฮันน์ สเปอร์มัน ได้ทําการย้ายนิวเคลียส โดยใช้เส้นผมของเด็กทารกเขาได้ทําให้
บางส่วนของตัวอ่อนที่ได้รับการผสมแล้วหดเล็กลง เพื่อให้นิวเคลียส
ไปรวมอยู่ที่ด้านเดียวและให้โปรโตพลาสซึ่มของเซลล์ไปอยู่อีกด้าน
ในขณะที่เซลล์ด้านที่มีนิวเคลียสแยกตัวออกไปเป็นเซลล์ 16 เซลล์
นิวเคลียสก็ได้ไปรวมกับโปรโตพลาสซึ่มอีกด้านหนึ่ง ส่วนอีกด้านก็มี
การแบ่งเซลล์เช่นกันทําให้เกิดพัฒนาการของตัวดักแด้แฝดโดยที่ตัว
หนึ่งเกิดก่อนเล็กน้อย
2495 โรเบิร์ต บริกส์ และ
โทมัส คิง3
ได้ย้ายนิวเคลียสจากตัวอ่อนของกบเข้าไปปลูกในเซลล์เพศเมีย ซึ่งไม่
สามารถสืบพันธุ์ได้และพัฒนาออกมาเป็นลูกกบและหลายตัวใน
จํานวนนี้ได้เติบโตไปเป็นกบตัวเล็กๆ เทคนิคการปลูกถ่ายนิวเคลียสนี้
ต่อมาได้กลายเป็นรูปแบบเบื้องต้นของการโคลนนิ่งสิ่งมีชีวิตหลาย
เซลล์
เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 13
ปี พ.ศ. ผู้ค้นคว้าวิจัย การค้นคว้า
2504-
2505
จอห์น เกอร์ดอน
และโรเบิร์ต แม็คคิน
เนลล์
ประสบความสําเร็จในการสร้างโคลนนิ่งของกบจากเซลล์ต้นแบบที่
เป็นของลูกอ๊อดตัวโตขึ้นโดยใช้เซลล์ลําไส้ของลูกอ๊อด ซึ่งนับเป็น
เซลล์ที่มีพัฒนาการจากเซลล์ที่เป็นเพียงตัวอ่อนลูกกบใหม่ๆ
ได้ปลูกแครอทจากเซลล์รากของแครอท การทดลองครั้งนี้และการ
ทดลองกับสัตว์สะเทิ้นน้ําสะเทิ้นบกบางชนิดเมื่อก่อนหน้านี้ ทําให้
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการโคลนนิ่งจากเซลล์ที่แตกต่างกันของสัตว์
เป็นสิ่งที่สามารถเป็นไปได้
2507 เอฟ สจ๊วร์ต
จอห์น เกอร์ดอน
และวี อูลิงเกอร์
2509 ประสบความสําเร็จในการโคลนนิ่งตัวเต็มวัยของกบ โดยการฉีดเซลล์
จากลําไส้เล็กของตัวอ่อนกบ
เจมส์ แม็คกราธ และ2516
เดเวอร์ โซลเดอร์
พัฒนาเทคนิคการเปลี่ยนถ่ายนิวเคลียสสําหรับตัวอ่อนของสัตว์เลี้ยง
ลูกด้วยนม
ใช้เซลล์จากผิวหนังของกบที่เป็นกบโตแล้วไปทําโคลนนิ่งเกิดเป็นลูกอ๊
อดได้สําเร็จหลายตัวแต่ส่วนใหญ่ก็ตายหมด มีเหลืออยู่เพียงตัวเดียว
ที่เจริญเติบโตเป็นกบเต็มตัว
2518 จอห์น เกอร์ดอน
2519 ปีเตอร์ ฮอปป์ และ
คาร์ล อิลล์เมนซี
สร้างหนูโคลนขึ้นมาจํานวน 7 ตัว แต่ทดลองเฉพาะหนูโคลนที่เป็นตัว
เมียไม่สามารถผลิตหนูโคลนที่เป็นตัวผู้ได้
2529 สตีน วิลลาสเซน ได้ทดลองโคลนนิ่งแกะ
2536 เอ็ม ซิมส์ และเอ็น
เฟิร์สต์
ได้ถ่ายนิวเคลียสจากเซลล์ที่มีการปลูกตัวอ่อนลงไปซึ่งได้ผลเป็นลูกวัว
2540 เอียน วิลมุต (Ian
Wilmut)
สร้างแกะโคลนขึ้นมาได้สําเร็จเป็นจํานวน 9 ตัวโคลนนิ่งเหมือนกัน
แต่มีอยู่ตัวหนึ่ง คือ ดอลลี่(Dolly) ที่โด่งดังไปทั่วโลก
เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 14
ปี พ.ศ. ผู้ค้นคว้าวิจัย การค้นคว้า
2541 นักวิทยาศาสตร์ของ
บริษัท Advance
cell technology
ได้โคลนนิ่งมนุษย์ออกมาเป็นเอ็มบริโอ (ผ่านระยะปฏิสนธิจนเริ่ม
เกาะผนังมดลูกเป็นตัวอ่อนซึ่งถ้าหากมีอายุถึง 2 เดือนก็จะเรียกว่า
ทารก)ตัวแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน แต่เมื่อเป็นตัวได้ 2 วัน หรือ
ก่อนที่จะครบ 14 วัน พวกเขาก็ทําการเผาตัวอ่อนมนุษย์ที่ได้จากการ
โคลนนิ่งเหล่านี้ทิ้งไปทุกครั้ง เพื่อเป็นการปฏิบัติตามข้อกําหนดบังคับ
การ วิจัยเรื่องโคลนนิ่งมนุษย์ของสหรัฐที่ระบุว่าให้เผาทําลายก่อนที่
ตัวอ่อนจะมีอายุถึง 14 วัน พวกเขาก็จัดการเผาตัวอ่อนมนุษย์โคลน
นิ่งทุกครั้ง ตามกฎข้อบังคับการวิจัย
1 วิโรจน์ ไววานิชกิจ , พ.บ., อาจารย์, ภาควิชาเวชศาสตร์ชันสูตร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
,มกราคม 2544.
ที่มา http://medinfo.psu.ac.th/smj2/191/1919.html
การโคลนพืช
1. การตัด ปักชํา ส่วนที่ตัดเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ จากพืช เช่น กิ่ง ใบ ราก เมื่อนําไปปักชํา จะสามารถ
เจริญเติบโตเป็นพืชใหม่ได้ และมีองค์ประกอบทางพันธุกรรมเหมือนต้นเดิมทุกประการ ตัวอย่างส่วน
ของพืชที่ใช้ในการตัด ปักชํา ได้แก่
1. กิ่ง เช่น พู่ระหง ฤาษีผสม ชบา พลูด่าง โกสน มะลิ
ภาพวิธีการโคลนพืชด้วยกิ่ง
ภาพจาก https://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=36904
เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 15
2. ราก เช่น กระชาย มันสําปะหลัง แครอท หัวผักกาด
ภาพวิธีการโคลนพืชด้วยราก
ภาพจาก http://www.sawongvit.com/elearning/math/mongkon/content1/content1.htm
3. ใบ เช่น โคมญี่ปุ่น ต้นตายใบเป็น กุหลาบหิน เศรษฐีพันล้าน
ภาพวิธีการโคลนพืชด้วยใบ
ภาพจาก http://www.bansuanporpeang.com
2. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยการใช้เซลล์ อวัยวะ เนื้อเยื่อ และโพรโทพลาสต์ของพืชมาเลี้ยงใน
สารอาหารและจัดให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสมส่วน ต่าง ๆ เหล่านั้นจะเจริญเป็นพืชใหม่ที่มีลักษณะตรง
ตามพันธุ์เดิมทุกประการ เช่น การขยายพันธุ์กล้วยไม้ ข้าว ปาล์มน้ํามัน ยาสูบ
เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 16
การโคลนนิ่งสัตว์
การพัฒนาวิทยาการทางด้านโคลนนิ่งเซลล์สัตว์นั้นได้เริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2423 หรือ 120 ปี ที่
ผ่านมา การทดลองค้นคว้าวิจัยได้ เกิดขึ้นมาเป็นลําดับ อาจจะมีทิ้งช่วงบ้างไปตามกาลเวลา แต่ความ
พยายามคิดค้นก็มิได้หยุดนิ่ง จุดเริ่มต้นการทําโคลนนิ่ง สัตว์เกิดขึ้นเมื่อต้นทศวรรษที่ 50 โดยนักชีววิทยา
อเมริกันสองคน คือ โรเบิร์ต บริกกส์ (Robert W. Briggs) และ โทมัส คิง (Thomas J. King) แห่ง
สถาบันการวิจัยมะเร็งในฟิลาเดเฟีย ทั้งสองได้ร่วมทําการทดลองโคลนนิ่งสัตว์ โดยเริ่มต้นกับกบและได้
ริเริ่มการทํา โคลนนิ่งด้วยวิธีการถ่ายโอนนิวเคลียส (nuclear transfer) โดยอาศัย เทคนิคที่พัฒนาโดย
Sperman ซึ่งกลายเป็นวิธีการทําโคลนนิ่งที่ ใช้กันทั่วไป เมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 การโคลนนิ่งสัตว์ครั้ง
แรกๆ ได้ประสบความสําเร็จคือ การโคลนนิ่งแกะ Dolly ซึ่งเป็นสัตว์ใหญ่ โคลนนิ่งตัวแรกของโลก
ความสําเร็จนี้ได้จุดประกายในการที่จะค้นพบเรื่องการเพาะเซลล์
ภาพที่ โครงสร้าง DNA
ภาพที่ แกะ “ดอลลี่” ที่เกิดจากการโคลนนิ่งตัวแรกของโลก
ที่มา www.futura-sciences.com/img/dolly.jpg
ที่มา http://architecture.mit.edu/~carlo/genetic%20code%20spiral.gif
วิธีโคลนนิ่งทางวิทยาศาสตร์สามารถทําได้ 2 วิธี คือ
1. การแยกเซลล์หรือตัดแบ่งตัวอ่อนในระยะก่อนการฝังตัว (blastomeric separation or embryo
bisection)
1.1 การแยกเซลล์ (blastomere separation) หลังปฏิสนธิตัวอ่อนระยะ 1 เซลล์จะมีการ
แบ่งตัวเป็นทวีคูณ จากหนึ่งเป็นสอง สองเป็นสี่ สี่เป็นแปด เรื่อยๆไป หากต้องการทําแฝดเราสามารถทํา
โดยการแยกเซลล์เดี่ยวๆ ออกมา เช่น หากเป็น 2 เซลล์ ก็นํามาแยกเป็น 1:1 หรือหากเป็น 4 ก็แยกเป็น
4 ส่วน 1:1:1:1 เป็นต้น อย่างไรก็ตามพบว่าการเจริญเป็นตัวอ่อนปกติหรือตัวเต็มวัยตัวอ่อนหลังแบ่งต้อง
ประกอบด้วยเซลล์จํานวนหนึ่งที่เพียงพอ หากแบ่งแล้วไม่พอเพียงก็ไม่สามารถเจริญเป็นตัวอ่อนที่ปกติ
หรือตัวเต็มวัยได้จึงเป็น ข้อจํากัดที่สําคัญอย่างหนึ่ง
เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 17
1.2 การตัดแบ่งตัวอ่อน ( embryo bisection ) ตัวอ่อน ระยะมอรูล่า หรือ ระยะบลาสโตซีส
สามารถแบ่งเป็น 2 ส่วนเท่าๆ กัน โดยใช้ใบมีดขนาดเล็ก (microblade) ติดกับเครื่องมือพิเศษที่เรียกว่า
“micromanipulator” ข้อแตกต่างของการตัดแบ่งระยะ มอรูล่าและระยะบลาสโตซีส คือ แนวการ
แบ่ง หากเป็นตัวอ่อนระยะมอรูล่าสามารถแบ่งในแนวใดก็ได้ให้สมดุลย์ (symmetry) แต่หากเป็น
ตัวอ่อนระยะบลาสโตซีสต้องตัดแบ่งในแนวที่ผ่านเซลล์ภายในที่เรียกว่า อินเนอร์เซลล์แมส
(inner cell mass, ICM) ทั้งนี้เพราะ ตัวอ่อนระยะนี้เซลล์ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว
(differentiation) แม้ว่าการโคลนสัตว์แบบการแยกเซลล์หรือการตัดแบ่งตัวอ่อน นี้มีข้อดีคือสามารถทํา
ได้เร็ว ไม่ต้องมีขั้นตอนมากมาย แต่ก็มีข้อจํากัดคือไม่สามารถแบ่งตัวอ่อนได้มากตามจํานวนเซลล์
2. การย้ายฝากนิวเคลียส (nuclear transfer or nuclear transplantation) การย้ายฝากนิวเคลียส
เป็นวิธีการที่ค่อนข้างจะซับซ้อน โดยมีรายละเอียดขั้นตอนโดยย่อคือ
2.1 เตรียมโอโอไซต์ตัวรับ (oocyte recipient preparation)
2.2 เตรียมนิวเคลียสจากตัวอ่อน ต้นแบบ (nuclear donor preparation)
2.3 ดูดเอานิวเคลียสตัวอ่อนให้ใส่ไปยัง ไซโตพลาสซึมของโอโอไซต์ (nuclear transfer)
2.4 เชื่อม นิวเคลียสให้ติดกับไซโตพลาสซึมของโอโอไซต์ (oocyte-nuclear fusion)
2.5 การเลี้ยงนําตัวอ่อน (embryo culture)
2.6 การย้ายฝากตัวอ่อน (embryo transfer)
ภาพจาก http://takanoex.exteen.com/20080928/entry-1
เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 18
ประโยชน์ของการโคลนนิ่ง
1. มีประโยชน์ในการอนุรักษ์พันธุ์พืชหรือสัตว์ที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ ให้แพร่ขยายจํานวน
ขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว่าการผสมพันธุ์กันตามธรรมชาติ
2. สามารถช่วยลดจํานวนสัตว์ที่ใช้ในการทดลองให้น้อยลง เนื่องจากสัตว์มีลักษณะทาง
พันธุกรรม เหมือนกันทําให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการทดลองในทางการแพทย์
3. เป็นการผลิตสัตว์ที่เปลี่ยนแปลงพันธุกรรมเพื่อใช้เป็นรูปแบบการทดลองเพื่อรักษาโรคของ
มนุษย์ การผลิตเภสัชภัณฑ์และสารต่างๆ
4. ช่วยให้คู่สมรสที่ไม่มีโอกาสให้กําเนิดบุตรด้วยวิธีอื่น อาจมีโอกาสมากขึ้นในการให้กําเนิด
บุตร
5. เป็นแนวทางในการพัฒนาการปลูกถ่ายเปลี่ยนอวัยวะ ร่างกายยอมรับอวัยวะใหม่สามารถ
ลดความเสี่ยงต่อการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน
ข้อเสียของการโคลนนิ่ง
1. การทําโคลนนิ่งทําให้เกิดการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีในการทําต้นแบบในทางกลับกัน
อาจจะทําให้เกิดสายพันธุ์ที่ไม่ดีเกิดขึ้นได้
2. การที่ได้สิ่งมีชีวิตที่มีความเหมือนกันทําให้เกิดการสูญเสียความมีเอกลักษณ์และความ
หลากหลายอันเป็นสิ่งที่ถือว่าเป็นต้นกําเนิดของวิวัฒนาการ ถ้าสิ่งมีชีวิตมีสิ่งที่ดี
เหมือนกันหมดก็จะไม่มีการพัฒนาสายพันธุ์ที่ดีขึ้น
3. มีความพยายามที่จะผลิตเนื้อเยื่อมนุษย์ เพื่อใช้ในการรักษาโรคต่าง ๆ มีความพยายาม
ที่จะโคลนนิ่งมนุษย์ทั้งคน แต่อย่างไรก็ตามการกระทําดังกล่าวยังไม่เป็นที่ยอมรับ จัด
ว่าเป็นปัญหาทางด้านจริยธรรม
ประวัติการโคลนนิ่งในประเทศไทย
ในประเทศไทยการพัฒนาของพันธุ์สัตว์เรื่องการผสมเทียม การย้ายฝากตัวอ่อน การผลิตตัว
อ่อนในหลอดแก้วสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นพื้นฐานของการโคลนนิ่ง โครงการวิจัยมีความคิดที่จะโคลนนิ่ง
สัตว์เศรษฐกิจ แต่ปัญหาและอุปสรรคของเราคือ นักวิชาการและ นักวิจัยซึ่งมีประสบการณ์ทางด้านนี้มี
น้อยกว่าต่างประเทศมาก ทําให้การวิจัยและพัฒนาทําได้ช้า
แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยก็ สามารถทําโคลนนิ่งได้สําเร็จโดย ศาสตราจารย์มณีวรรณ กมล-
พัฒนะ ผู้อํานวยการโครงการ ใช้นิวเคลียร์เทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมกิจการผสมเทียม โคนม และกระบือ
ปลัก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ได้เป็นคนแรกที่นําการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์
มาผสมเทียมในกระบือและพัฒนาต่อเนื่องมากว่า 20 ปีจนประสบความสําเร็จในการ โคลนนิ่งลูกโคตัว
เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 19
แรกของประเทศไทย ชื่อว่า “อิง” ซึ่งถือเป็นลูกโคโคลนนิ่งตัวแรกของประเทศไทยและเอเชียอาคเนย์
รายที่ 3 ของเอเชีย และรายที่ 6 ของโลก โดยทําโคลนนิ่งต่อจาก ญี่ปุ่น อเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมัน และ
เกาหลี ศาสตราจารย์มณีวรรณ กมลพัฒนะ ได้นําเซลล์ใบหูของ โคแบรงกัสเพศเมียมาเป็นเซลล์ต้นแบบ
โคลนนิ่งและนําตัวอ่อน ฝากไว้กับแม่โคออยในฟาร์มของ จ่าสิบโทสมศักดิ์ วิชัยกุล ที่จังหวัดราชบุรี ได้
“อิง” ลูกโคสีดํา ซึ่งเป็นลูกโคโคลนนิ่งตัวแรก ของประเทศไทย เกิดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2543
ศ.มณีวรรณ กมลพัฒนะ หัวหน้าโครงการฯ และทีมงานวิจัย กับลูกโคโคลนนิงตัวแรกของไทย ถ่ายเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2543
อิง หนัก 37.7 ก.ก. อัน หนัก 35.2 ก.ก.
ภาพจาก http://www.vet.chula.ac.th/~nuclear/ETremember.htm
เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 20
บทที่ 3 การสร้างและดัดแปลงสิ่งมีชีวิตทางพันธุวิศวกรรม
พันธุวิศวกรรม หมายถึง กระบวนการตัดต่อยีนโดยวิธีการตัดเอายีนของสิ่งที่มีชีวิตหนึ่งใส่เข้าไป
ในยีนของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ทําให้ได้สิ่งมีชีวิตใหม่ที่มีคุณลักษณะตามต้องการสิ่งมีชีวิตดังกล่าวเรียกว่า
สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมหรือจีเอ็มโอนั่นเอง
จีเอ็มโอหรือ GMOs ย่อมาจากคําว่า Genetically Modified Organisms
Genetic เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมหรือกรรมพันธุ์
Modify คือการดัดแปลง ตบแต่งเสียใหม่
Organism คือสิ่งที่มีชีวิต
GMOs จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการตบแต่งหรือดัดแปลงสารพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพืช
หรือสัตว์
สารพันธุกรรม เป็นองค์ประกอบหนึ่งหรือส่วนหนึ่งของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย มีหน้าที่ที่จะกําหนด
คุณลักษณะของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ หรือจะกล่าวว่าเป็นตัวควบคุมกรรมพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตก็ได้ ตัวอย่างเช่น
- กรณีที่เป็นคน บางคนมีสารพันธุกรรมทําให้ผมหยิก หรือผมสีดํา หรือผมสีทอง
- กรณีที่เป็นสัตว์ เช่น หมาหลังอานก็จะมีสารพันธุกรรมที่ทําให้เขาเป็นพันธุ์หลังอาน หรือหมาบางแก้ว
ที่มีสารพันธุกรรมที่ทําให้เป็นหมาที่ดุเป็นพิเศษ
- กรณีที่เป็นพืช เช่น มะม่วงบางพันธุ์ที่เปรี้ยวมาก บางพันธุ์ค่อนข้างหวาน ซึ่งมะม่วงทั้งสองประเภทก็
จะมีสารพันธุกรรมเกี่ยวกับความเปรี้ยว-หวาน ที่แตกต่างกัน
ในธรรมชาติ สิ่งมีชีวิต เช่น พืช ก็จะมีการผสมพันธุ์กันเองตามธรรมชาติ เกสรตัวผู้ถูกลมหรือ
แมลงพาไปผสมกับเกสรตัวเมียเกิดเป็นดอกเป็นผล เกิดลูกเกิดหลานตามมา มีการคัดเลือกพันธุ์โดย
ธรรมชาติ พันธุ์ไหนอ่อนแอต่อโรค-แมลง หรือสภาพดินฟ้าอากาศก็มักจะตายหรือสูญหายไป พันธุ์ที่
แข็งแรงก็จะยังคงออกลูกออกหลานต่อไป ส่วนพันธุ์ไหนที่มีคุณสมบัติดีตามที่มนุษย์ต้องการก็มีการ
นําเอาไปขยายพันธุ์ต่อให้แพร่หลาย
นักปรับปรุงพันธุ์พืชก็นําเอาปรากฏการณ์ดังกล่าว ผนวกกับวิชาการที่พัฒนาขึ้นมาอย่าง
ต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องพันธุกรรม ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวกับการควบคุมคุณลักษณะต่าง ๆ ของ
พันธุ์พืชเอาพันธุ์พืชที่มีคุณภาพดีตามที่ต้องการอยู่แล้ว เช่น ผลผลิตดี รสชาติดี แต่อ่อนแอต่อความแห้ง
แล้งไปผสมพันธุ์กับพันธุ์ที่ถึงจะมีผลผลิตต่ํา รสชาติไม่ดี แต่มีความทนทานต่อความแห้งแล้ง โดยหวังเอา
พันธุกรรมที่ทนทานต่อความแห้งแล้งมาใช้ประโยชน์ ทั้งนี้เพื่อที่จะให้ได้พันธุ์ที่มีผลผลิตสูง รสชาติดีและ
ทนทานต่อสภาพความแห้งแล้งนั่นเอง แต่การดําเนินการอย่างนี้ต้องอดทน ต้องใช้ความพยายาม ต้องใช้
เวลา เพราะกว่าที่จะได้พันธุ์ที่ต้องการ ต้องให้สารพันธุกรรมที่มีอิทธิพลต่อผลผลิต รสชาติ และความ
ทนทานความแห้งแล้งมาผสมกันเมื่อวิทยาศาสตร์ด้านชีวภาพมีความก้าวหน้ามากขึ้น นักปรับปรุงพันธุ์
เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 21
ส่วนหนึ่งจึงใช้วิธีลัด โดยสืบหาและนําเอาสารพันธุกรรมที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการไปตบแต่ง หรือต่อ
เติมในสิ่งมีชีวิต เช่น ในพืชที่มีคุณสมบัติอื่นดีอยู่แล้ว เพื่อให้ได้คุณสมบัติที่พืชเดิมยังมีไม่เพียงพอ โดยใช้
วิธีที่มีชื่อเรียกว่า “พันธุวิศวกรรมหรือ Genetic Engineering”พืชที่ได้จากการตัดแต่งพันธุกรรมจึง
เรียกว่า “พืชดัดแปลงพันธุกรรม หรือ GM Plant แต่ในภายหลังอาจเรียก Biotech Plant” เช่น ฝ้ายที่
สามารถป้องกันหนอนเจาะสมอฝ้าย หรือข้าวโพดที่สามารถป้องกันหนอนศัตรูข้าวโพดได้
เนื่องจากมีนักวิทยาศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่งที่มีความกังวลว่า ในการดัดแปลงพันธุกรรมในพืช ที่บาง
กรณีได้นําเอาสารพันธุกรรมของแบคทีเรีย (Bacteria) หรือเชื้อไวรัส (Virus) บางชนิดเข้าไปเป็นสาร
พันธุกรรมในการตัดแต่งนั้นอาจมีผลกระทบต่อความปลอดภัยในการบริโภค หรืออาจมีผลต่อ
สิ่งแวดล้อม เช่น มีผลต่อแมลงชนิดอื่นในธรรมชาติ หรือมีผลต่อจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ในธรรมชาติ ใน
ที่สุดจึงกลายเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่ต้องมีระบบทางวิทยาศาสตร์ที่คอยกํากับดูแลว่าจะมีผลกระทบกับ
สิ่งแวดล้อมและกับความปลอดภัยในการบริโภคของมนุษย์เพียงใด โดยมีหลักการที่สําคัญคือ พืช
ดัดแปลงพันธุกรรมทุกชนิด จะต้องถูกกํากับดูแลผลกระทบดังกล่าว ในทุกขั้นตอนของการวิจัยและ
พัฒนาพืชดัดแปลงพันธุกรรม ทั้งในห้องปฏิบัติการและในการทดสอบในไร่นา รวมถึงเมื่อจะนําไปใช้
ประโยชน์หรือปลูกเป็นเชิงการค้า
วิธีการถ่ายทอดยีนให้เข้าไปอยู่ในโครโมโซมภายในเซลล์ใหม่นั้นทําได้หลายวิธี วิธีการหลักที่ใช้กันอยู่ใน
ปัจจุบันคือการใช้จุลินทรีย์ที่เรียกว่า agrobacterium เป็นพาหะช่วยพายีนเข้าไป (คล้ายกับการใช้รถลําเลียง
สัมภาระเข้าไปไว้ยังที่ที่ต้องการ) อีกวิธีหนึ่งคือการใช้ปืนยีน (gene gun) ยิงยีนที่เกาะอยู่บนผิวของอนุภาคของ
เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 22
ทอง ให้เข้าไปในโครโมโซมเซลล์พืช เมื่อยีนนั้นเข้าไปในเซลล์พืชแล้ว ไม่ว่าจะโดยวิธีการดังกล่าวข้างต้นวิธีใดก็
ตาม ยีนที่เข้าไปใหม่จะแทรกตัวรวมอยู่กับโครโมโซมของพืช จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของโครโมโซมพืช
ภาพจาก http://www2.udru.ac.th/~sci102/Data/Unit5/Unit5-2.html
การผลิตเนยแข็งโดยผ่านกรรมวิธีการตัดต่อยีน
ภาพจากhttp://www2.udru.ac.th/~sci102/Data/Unit5/Unit5-2.html
โดยสรุป พืชจีเอ็มโอหรือพืชดัดแปลงพันธุกรรม คือพืชที่นักปรับปรุงพันธุ์พืชใช้ประโยชน์จาก
ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ที่เรียกว่าพันธุวิศวกรรมมาช่วยในการปรับปรุงพันธุ์พืชให้มีคุณสมบัติ
ตามที่ต้องการ โดยนําสารพันธุกรรม (Gene) ที่กํากับหรือทําให้เกิดคุณสมบัติที่ต้องการ ไปต่อเติมใน
ระบบพันธุกรรมของพืชนั้น ๆ โดยที่กระบวนการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์พืชตลอดจนการจะนําไปใช้
ประโยชน์ในไร่นาต้องถูกกํากับหรือดําเนินการไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความเสี่ยงที่เป็น
ระบบทางวิทยาศาสตร์ เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดกับสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยต่อการบริโภค
ของมนุษย์
ข้อดีและข้อเสียของ GMOs
ข้อดีของ GMOs
GMOs คือผลผลิตจากความก้าวหน้าของวิทยาการทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพและชีววิทยา
ระดับโมเลกุล (molecular biology) โดยเฉพาะพันธุวิศวกรรมศาสตร์ ที่ได้พัฒนาอย่างรวดเร็วจนถึง
ระดับสูงมาก สิ่งที่เป็นแรงผลักดันให้นักวิทยาศาสตร์และสถาบันวิจัยทั่วโลก ทุ่มเทพลังความคิดและทุน
วิจัยจํานวนมหาศาลเพื่อศาสตร์นี้ คือ ความมุ่งหมายที่จะพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรโลก
เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 23
ทั้งทางด้านโภชนาการ การแพทย์ และสาธารณสุข ความสําเร็จ แห่งการพัฒนาศาสตร์ดังกล่าว มี
รูปธรรมคือการยกระดับคุณภาพอาหาร ยา และเทคโนโลยีทางการแพทย์ ดังที่เราได้รับผลประโยชน์อยู่
ทุกวันนี้ และในภาวะที่จํานวนประชากรโลกเพิ่ม มากขึ้นทุกวัน ในขณะที่พื้นที่การผลิตลดลง พันธุ
วิศวกรรมเป็นเทคโนโลยีที่ดีที่สุดอันหนึ่ง ที่จะช่วยแก้ปัญหา การขาดแคลนอาหารและยาที่อาจจะ
เกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้
เนื่องจากประสิทธิภาพของพันธุวิศวกรรมเป็นที่ยอมรับว่า สามารถช่วยเพิ่มอัตราผลผลิตต่อ
พื้นที่สูงขึ้นมากกว่าการผลิตในรูปแบบดั้ง เดิม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การเกษตรในสหรัฐอเมริกา และ
ด้วยการที่พันธุวิศวกรรม สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตได้ดังกล่าว จึงมีการกล่าวกันว่า พันธุวิศวกรรม
คือการปฏิวัติครั้งใหญ่ในด้านการเกษตร และการแพทย์ ที่เรียกว่า Genomic revolution
GMOs ที่ได้รับการพัฒนาจนเสร็จสมบูรณ์แล้ว และกําลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา ได้นํามาใช้
ให้เกิดประโยชน์ ในหลายด้าน ได้แก่
ประโยชน์ต่อเกษตรกร
- ทําให้เกิดพืชสายพันธุ์ใหม่ที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เช่น ทนต่อศัตรูพืช หรือมี
ความสามารถในการ ป้องกันตนเองจากศัตรูพืช เช่น เชื้อไวรัส เชื้อรา แบคทีเรีย แมลงศัตรูพืช
หรือแม้แต่ยาฆ่าแมลง และยาปราบวัชพืช หรือในบางกรณีอาจเป็นพืชที่ทนแล้ง ทนดินเค็ม
ดินเปรี้ยว คุณสมบัติ เช่นนี้เป็นประโยชน์ ต่อเกษตรกร เราเรียกลักษณะเช่นนี้ว่าเป็น
agronomic traits
- ทําให้เกิดพืชสายพันธุ์ใหม่ที่มีคุณสมบัติเหมาะแก่การเก็บรักษาเป็นเวลานาน ทําให้สามารถอยู่
ได้นานวัน และขนส่งได้เป็นระยะทางไกลโดยไม่เน่าเสีย เช่น มะเขือเทศที่สุกช้า หรือแม้จะสุก
แต่ก็ไม่งอม เนื้อยังแข็ง และกรอบ ไม่งอมหรือเละเมื่อไปถึงมือผู้บริโภค ลักษณะนี้ก็ถือว่าเป็น
agronomic traits เช่นเดียวกัน เพราะให้ประโยชน์แก่เกษตรกรและผู้จําหน่าย สินค้า GMOs
ส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ประโยชน์ต่อผู้บริโภค
- ทําให้เกิดธัญพืช ผัก หรือผลไม้ที่มีคุณสมบัติเพิ่มขึ้นในทางโภชนาการ เช่น ส้มหรือมะนาวที่มี
วิตามินซีเพิ่ม มากขึ้น หรือผลไม้ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม ให้ผลมากกว่าเดิม ลักษณะเหล่านี้
เป็นการเพิ่มคุณค่าเชิงคุณภาพ (quality traits)
- ทําให้เกิดพันธุ์พืชใหม่ๆ ที่มีคุณค่าในเชิงพาณิชย์ เช่น ดอกไม้หรือพืชจําพวกไม้ประดับสายพันธุ์
ใหม่ที่มี รูปร่างแปลกกว่าเดิม ขนาดใหญ่กว่าเดิม สีสันแปลกไปจากเดิม หรือมีความคงทน
กว่าเดิม ซึ่งถือว่าเป็น quality traits เช่นกัน
เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 24
- GMOs ที่มีลักษณะที่กล่าวมานี้ในบางประเทศเช่น สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นเริ่มมีจําหน่าย เป็น
สินค้าแล้ว และคาดว่าจะมีความแพร่หลายมากขึ้นในช่วงหลายปีต่อจากนี้ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้
อาจเรียกได้ว่าเป็นการลัดขั้นตอนของการผสมพันธุ์พืช ซึ่งในหลายกรณีหากช่วงชีวิตของพืชยาว
ทําให้ต้องกิน เวลานานกว่าจะได้ผลเนื่องจากต้องมีการคัดเลือกหลายครั้ง การทํา GMOs ทําให้
ขั้นตอนนี้เร็วและแม่นยํายิ่งขึ้น กว่าเดิมมาก
ประโยชน์ต่ออุตสาหกรรม
- คุณสมบัติของพืชที่ทําให้ลดการใช้สารเคมี และช่วยให้ได้พืชผลมากขึ้นกว่าเดิมมีผลทําให้ต้นทุน
การผลิตต่ําลง วัตถุดิบที่มาจากภาคเกษตร เช่น กากถั่วเหลือง อาหารสัตว์จึงมีราคาถูกลง ทํา
ให้เพิ่มอํานาจในการแข่งขัน
- นอกจากพืชแล้ว ยังมี GMOs หลายชนิดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น
เอ็นไซม์ที่ใช้ ในการผลิตน้ําผักและน้ําผลไม้ หรือเอ็นไซม์ ไคโมซิน ที่ใช้ในการผลิตเนยแข็งแทบ
ทั้งหมดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ ได้จาก GMOs และมีมาเป็นเวลานานแล้ว
- การผลิตวัคซีน หรือยาชนิดอื่นๆ ในอุตสาหกรรมยาปัจจุบันนี้ล้วนแล้วแต่ใช้ GMOs แทบทั้งสิ้น
อีกไม่นานนี้ เราอาจมีน้ํานมวัวที่มีส่วนประกอบของยาหรือฮอร์โมนที่จําเป็นต่อมนุษย์ ซึ่งผลิต
จาก GMOs ลักษณะที่กล่าวถึง ตั้งแต่ข้อ 6-8 ล้วนมีส่วนทําให้ลดต้นทุนการผลิตและเวลาที่ต้อง
ใช้ลงทั้งสิ้น
ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม
- ประโยชน์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมคือ เมื่อพืชมีคุณสมบัติสามารถป้องกันศัตรูพืชได้เอง อัตราการใช้
สารเคมีเพื่อ ปราบศัตรูพืชก็จะลดน้อยลงจนถึงไม่ต้องใช้เลย ทําให้มีลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
ที่เกิดขึ้น จากการใช้สารเคมี ปราบศัตรูพืช และลดอันตรายต่อเกษตรกรเองที่เกิดขึ้นจากพิษ
ของการฉีดสารเหล่านั้นในปริมาณ มาก (ยกเว้น บางกรณีเช่น พืชที่ต้านทานยาปราบวัชพืชที่
อาจมีโอกาสทําให้เกิดแนวโน้มในการใช้สารปราบ วัชพืชของบาง บริษัทมากขึ้น ซึ่งขณะนี้ยัง
เป็นที่ถกเถียงกันอยู่)
- หากยอมรับว่าการปรับปรุงพันธุ์ และการคัดเลือกพันธุ์พืชเป็นการเพิ่มความหลากหลายของ
สายพันธุ์ให้มากขึ้น แล้ว การพัฒนา GMOs ก็ย่อมมีผลทําให้เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ
ขึ้นเช่นกัน เนื่องจากยีนที่มีคุณสมบัติ เด่นได้รับการคัดเลือกให้มีโอกาสแสดงออกได้ในสิ่งมีชีวิต
หลากหลายสายพันธุ์ มากขึ้น
เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 25
ข้อเสียของ GMOs
เทคโนโลยี ทุกชนิดเมื่อมีข้อดีก็ย่อมมีข้อเสีย ในกรณีของ GMOs นั้นข้อเสียคือ มีความเสี่ยงและ
ความซับซ้อนใน การบริหารจัดการเพื่อให้มีความปลอดภัยเพื่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าโทษ แม้ว่า
ในขณะนี้ยังไม่มีรายงานว่ามี ผู้ใดได้รับอันตรายจากการบริโภคอาหาร GMOs แต่ความกังวลต่อความ
เสี่ยงของการใช้ GMOs เป็นสิ่งที่ หลีกเลี่ยงได้ยาก เช่น กรณีตัวอย่างดังต่อไปนี้
ความเสี่ยงต่อผู้บริโภค
- สารอาหารจาก GMOs อาจมีสิ่งปนเปื้อนที่เป็นอันตราย เช่น เคยมีข่าวว่า กรดอะมิโน
L-Tryptophan ของบริษัท Showa Denko ทําให้ผู้บริโภคในสหรัฐเกิดอาการป่วยและล้มตาย
อย่างไรก็ตาม กรณีที่เกิดขึ้นนี้แท้จริงแล้วเป็น ผลมาจากความบกพร่องในขั้นตอนการควบคุม
คุณภาพ (quality control) ทําให้มีสิ่งปนเปื้อนหลงเหลืออยู่หลังจากกระบวนการทําให้บริสุทธิ์
มิใช่ตัว GMOs ที่เป็นอันตราย
- ความกังวลในเรื่องของการเป็นพาหะของสารพิษ เช่น ความกังวลที่ว่า DNA จากไวรัสที่ใช้ใน
การทํา GMOs อาจเป็นอันตราย เช่น การทดลองของ Dr.Pusztai ที่ทดลองให้หนูกินมันฝรั่ง
ดิบที่มี lectin และพบว่าหนูมีภูมิคุ้ม กันลดลง และมีอาการบวมผิดปกติของลําไส้ ซึ่งงานชิ้นนี้
ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างสูง โดยนักวิทยาศาสตร์ ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าการออกแบบการ
ทดลองและวิธีการทดลองบกพร่อง ไม่ได้มาตรฐานตามหลักการวิทยา ศาสตร์ ในขณะนี้เชื่อว่า
กําลังมีความพยายามที่จะดําเนินการทดลองที่รัดกุมมากขึ้น เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ มากขึ้น
และจะสามารถสรุปได้ว่าผลที่ปรากฏมาจากการตบแต่งทางพันธุกรรมหรืออาจเป็น เพราะ
เหตุผลอื่น
- สารอาหารจาก GMOs อาจมีคุณค่าทางโภชนาการไม่เท่าอาหารปกติในธรรมชาติ เช่น รายงาน
ที่ว่าถั่วเหลืองที่ ตัดแต่งพันธุกรรมมี isoflavone มากกว่าถั่วเหลืองธรรมดาเล็กน้อย ซึ่งสาร
ชนิดนี้เป็นกลุ่มของสารที่เป็น phytoestrogen (ฮอร์โมนพืช) ทําให้มีความกังวลว่า การเพิ่มขึ้น
ของฮอร์โมน estrogen อาจทําให้เป็นอันตรายต่อ ผู้บริโภคหรือไม่ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กทารก
จึงจําเป็นต้องมีการศึกษาผลกระทบของการเพิ่มปริมาณของสาร isoflavine ต่อกลุ่มผู้บริโภค
ด้วย
- ความกังวลต่อการเกิดสารภูมิแพ้ (allergen) ซึ่งอาจได้มาจากแหล่งเดิมของยีนที่นํามาใช้ทํา
GMOs นั้น ตัวอย่าง ที่เคยมีเช่น การใช้ยีนจากถั่ว Brazil nut มาทํา GMOs เพื่อเพิ่มคุณค่า
โปรตีนในถั่วเหลืองสําหรับเป็นอาหารสัตว์ จากการศึกษาที่มีขึ้นก่อนที่จะมีการผลิต
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ

Weitere ähnliche Inhalte

Was ist angesagt?

สุขศึกษา พลศึกษา ม.ปลาย ทช31002
สุขศึกษา พลศึกษา ม.ปลาย ทช31002สุขศึกษา พลศึกษา ม.ปลาย ทช31002
สุขศึกษา พลศึกษา ม.ปลาย ทช31002Thidarat Termphon
 
ชุดวิชาการใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน 2 พว22002
ชุดวิชาการใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน 2 พว22002ชุดวิชาการใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน 2 พว22002
ชุดวิชาการใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน 2 พว22002Kasem Boonlaor
 
เศรษฐกิจพอเพียง ม.ต้น ทช21001
เศรษฐกิจพอเพียง ม.ต้น ทช21001เศรษฐกิจพอเพียง ม.ต้น ทช21001
เศรษฐกิจพอเพียง ม.ต้น ทช21001Thidarat Termphon
 
ช่่องทางการขยายอาชีพ ม.ปลาย อช31001
ช่่องทางการขยายอาชีพ ม.ปลาย อช31001ช่่องทางการขยายอาชีพ ม.ปลาย อช31001
ช่่องทางการขยายอาชีพ ม.ปลาย อช31001Thidarat Termphon
 
คณิตศาสตร์ ม.ต้น พค21001
คณิตศาสตร์ ม.ต้น พค21001คณิตศาสตร์ ม.ต้น พค21001
คณิตศาสตร์ ม.ต้น พค21001Thidarat Termphon
 
สังคมศึกษา ม.ต้น สค21001
สังคมศึกษา ม.ต้น สค21001สังคมศึกษา ม.ต้น สค21001
สังคมศึกษา ม.ต้น สค21001Thidarat Termphon
 
เศรษฐกิจพอเพียง ม.ปลาย ทช31001
เศรษฐกิจพอเพียง ม.ปลาย ทช31001เศรษฐกิจพอเพียง ม.ปลาย ทช31001
เศรษฐกิจพอเพียง ม.ปลาย ทช31001Thidarat Termphon
 
สุขศึกษา พลศึกษา ม.ต้น ทช21002
สุขศึกษา พลศึกษา ม.ต้น ทช21002สุขศึกษา พลศึกษา ม.ต้น ทช21002
สุขศึกษา พลศึกษา ม.ต้น ทช21002Thidarat Termphon
 
ศิลปศึกษา ม.ปลาย ทช31003
ศิลปศึกษา ม.ปลาย ทช31003ศิลปศึกษา ม.ปลาย ทช31003
ศิลปศึกษา ม.ปลาย ทช31003Thidarat Termphon
 
ใบงานช่องทางการขยายอาชีพ ม.ปลาย
ใบงานช่องทางการขยายอาชีพ ม.ปลายใบงานช่องทางการขยายอาชีพ ม.ปลาย
ใบงานช่องทางการขยายอาชีพ ม.ปลายpongtum
 
ทักษะการพัฒนาอาชีพ ม.ต้น อช21002
ทักษะการพัฒนาอาชีพ ม.ต้น อช21002ทักษะการพัฒนาอาชีพ ม.ต้น อช21002
ทักษะการพัฒนาอาชีพ ม.ต้น อช21002Thidarat Termphon
 
Eฎภาษาไทย ม.ต้น พท21001
Eฎภาษาไทย ม.ต้น พท21001Eฎภาษาไทย ม.ต้น พท21001
Eฎภาษาไทย ม.ต้น พท21001Thidarat Termphon
 
สังคมศึกษา ม.ปลาย สค31001
สังคมศึกษา ม.ปลาย สค31001สังคมศึกษา ม.ปลาย สค31001
สังคมศึกษา ม.ปลาย สค31001Thidarat Termphon
 
ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ม.ต้น พต.21001
ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ม.ต้น พต.21001ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ม.ต้น พต.21001
ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ม.ต้น พต.21001Thidarat Termphon
 
การพัฒนาอาชีพให้มีความเข้มแข็ง ม.ต้น อช21003
การพัฒนาอาชีพให้มีความเข้มแข็ง ม.ต้น อช21003การพัฒนาอาชีพให้มีความเข้มแข็ง ม.ต้น อช21003
การพัฒนาอาชีพให้มีความเข้มแข็ง ม.ต้น อช21003Thidarat Termphon
 
ศาสนาและหน้าที่พลเมือง สค31002
ศาสนาและหน้าที่พลเมือง สค31002ศาสนาและหน้าที่พลเมือง สค31002
ศาสนาและหน้าที่พลเมือง สค31002Thidarat Termphon
 
การพัฒนอาชีพให้มีความมั่่นคง ม.ปลาย อช31003
การพัฒนอาชีพให้มีความมั่่นคง ม.ปลาย อช31003การพัฒนอาชีพให้มีความมั่่นคง ม.ปลาย อช31003
การพัฒนอาชีพให้มีความมั่่นคง ม.ปลาย อช31003Thidarat Termphon
 
ศิลปศึกษา ม.ต้น ทช.21003
ศิลปศึกษา ม.ต้น ทช.21003ศิลปศึกษา ม.ต้น ทช.21003
ศิลปศึกษา ม.ต้น ทช.21003Thidarat Termphon
 
การพัฒนาตนอง ชุมชน สังคม ม.ปลาย สค31003
การพัฒนาตนอง ชุมชน สังคม ม.ปลาย สค31003การพัฒนาตนอง ชุมชน สังคม ม.ปลาย สค31003
การพัฒนาตนอง ชุมชน สังคม ม.ปลาย สค31003Thidarat Termphon
 
แฟ้มสะสมผลงาน กศน.
แฟ้มสะสมผลงาน  กศน.แฟ้มสะสมผลงาน  กศน.
แฟ้มสะสมผลงาน กศน.pongtum
 

Was ist angesagt? (20)

สุขศึกษา พลศึกษา ม.ปลาย ทช31002
สุขศึกษา พลศึกษา ม.ปลาย ทช31002สุขศึกษา พลศึกษา ม.ปลาย ทช31002
สุขศึกษา พลศึกษา ม.ปลาย ทช31002
 
ชุดวิชาการใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน 2 พว22002
ชุดวิชาการใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน 2 พว22002ชุดวิชาการใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน 2 พว22002
ชุดวิชาการใช้พลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน 2 พว22002
 
เศรษฐกิจพอเพียง ม.ต้น ทช21001
เศรษฐกิจพอเพียง ม.ต้น ทช21001เศรษฐกิจพอเพียง ม.ต้น ทช21001
เศรษฐกิจพอเพียง ม.ต้น ทช21001
 
ช่่องทางการขยายอาชีพ ม.ปลาย อช31001
ช่่องทางการขยายอาชีพ ม.ปลาย อช31001ช่่องทางการขยายอาชีพ ม.ปลาย อช31001
ช่่องทางการขยายอาชีพ ม.ปลาย อช31001
 
คณิตศาสตร์ ม.ต้น พค21001
คณิตศาสตร์ ม.ต้น พค21001คณิตศาสตร์ ม.ต้น พค21001
คณิตศาสตร์ ม.ต้น พค21001
 
สังคมศึกษา ม.ต้น สค21001
สังคมศึกษา ม.ต้น สค21001สังคมศึกษา ม.ต้น สค21001
สังคมศึกษา ม.ต้น สค21001
 
เศรษฐกิจพอเพียง ม.ปลาย ทช31001
เศรษฐกิจพอเพียง ม.ปลาย ทช31001เศรษฐกิจพอเพียง ม.ปลาย ทช31001
เศรษฐกิจพอเพียง ม.ปลาย ทช31001
 
สุขศึกษา พลศึกษา ม.ต้น ทช21002
สุขศึกษา พลศึกษา ม.ต้น ทช21002สุขศึกษา พลศึกษา ม.ต้น ทช21002
สุขศึกษา พลศึกษา ม.ต้น ทช21002
 
ศิลปศึกษา ม.ปลาย ทช31003
ศิลปศึกษา ม.ปลาย ทช31003ศิลปศึกษา ม.ปลาย ทช31003
ศิลปศึกษา ม.ปลาย ทช31003
 
ใบงานช่องทางการขยายอาชีพ ม.ปลาย
ใบงานช่องทางการขยายอาชีพ ม.ปลายใบงานช่องทางการขยายอาชีพ ม.ปลาย
ใบงานช่องทางการขยายอาชีพ ม.ปลาย
 
ทักษะการพัฒนาอาชีพ ม.ต้น อช21002
ทักษะการพัฒนาอาชีพ ม.ต้น อช21002ทักษะการพัฒนาอาชีพ ม.ต้น อช21002
ทักษะการพัฒนาอาชีพ ม.ต้น อช21002
 
Eฎภาษาไทย ม.ต้น พท21001
Eฎภาษาไทย ม.ต้น พท21001Eฎภาษาไทย ม.ต้น พท21001
Eฎภาษาไทย ม.ต้น พท21001
 
สังคมศึกษา ม.ปลาย สค31001
สังคมศึกษา ม.ปลาย สค31001สังคมศึกษา ม.ปลาย สค31001
สังคมศึกษา ม.ปลาย สค31001
 
ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ม.ต้น พต.21001
ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ม.ต้น พต.21001ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ม.ต้น พต.21001
ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ม.ต้น พต.21001
 
การพัฒนาอาชีพให้มีความเข้มแข็ง ม.ต้น อช21003
การพัฒนาอาชีพให้มีความเข้มแข็ง ม.ต้น อช21003การพัฒนาอาชีพให้มีความเข้มแข็ง ม.ต้น อช21003
การพัฒนาอาชีพให้มีความเข้มแข็ง ม.ต้น อช21003
 
ศาสนาและหน้าที่พลเมือง สค31002
ศาสนาและหน้าที่พลเมือง สค31002ศาสนาและหน้าที่พลเมือง สค31002
ศาสนาและหน้าที่พลเมือง สค31002
 
การพัฒนอาชีพให้มีความมั่่นคง ม.ปลาย อช31003
การพัฒนอาชีพให้มีความมั่่นคง ม.ปลาย อช31003การพัฒนอาชีพให้มีความมั่่นคง ม.ปลาย อช31003
การพัฒนอาชีพให้มีความมั่่นคง ม.ปลาย อช31003
 
ศิลปศึกษา ม.ต้น ทช.21003
ศิลปศึกษา ม.ต้น ทช.21003ศิลปศึกษา ม.ต้น ทช.21003
ศิลปศึกษา ม.ต้น ทช.21003
 
การพัฒนาตนอง ชุมชน สังคม ม.ปลาย สค31003
การพัฒนาตนอง ชุมชน สังคม ม.ปลาย สค31003การพัฒนาตนอง ชุมชน สังคม ม.ปลาย สค31003
การพัฒนาตนอง ชุมชน สังคม ม.ปลาย สค31003
 
แฟ้มสะสมผลงาน กศน.
แฟ้มสะสมผลงาน  กศน.แฟ้มสะสมผลงาน  กศน.
แฟ้มสะสมผลงาน กศน.
 

Andere mochten auch

Andere mochten auch (6)

เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพเทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
 
ภาพข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ 15 มิย.
ภาพข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ 15 มิย.ภาพข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ 15 มิย.
ภาพข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ 15 มิย.
 
15แบบทดสอบเทคโนโลยีชีวภาพ
15แบบทดสอบเทคโนโลยีชีวภาพ15แบบทดสอบเทคโนโลยีชีวภาพ
15แบบทดสอบเทคโนโลยีชีวภาพ
 
วิทย์ฯเพิ่มเติมเทอม1ม1
วิทย์ฯเพิ่มเติมเทอม1ม1วิทย์ฯเพิ่มเติมเทอม1ม1
วิทย์ฯเพิ่มเติมเทอม1ม1
 
แบบทดสอบโครงงาน
แบบทดสอบโครงงานแบบทดสอบโครงงาน
แบบทดสอบโครงงาน
 
เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)
เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)
เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)
 

Ähnlich wie เทคโนโลยีชีวภาพ

หลักสูตร Is คำอธิบายรายวิชา ม.ปลายdoc
หลักสูตร Is คำอธิบายรายวิชา ม.ปลายdocหลักสูตร Is คำอธิบายรายวิชา ม.ปลายdoc
หลักสูตร Is คำอธิบายรายวิชา ม.ปลายdockrupornpana55
 
แนวการเขียนรายงายเชิงวิจัย
แนวการเขียนรายงายเชิงวิจัยแนวการเขียนรายงายเชิงวิจัย
แนวการเขียนรายงายเชิงวิจัยwitthaya601
 
Cแนะแนว
CแนะแนวCแนะแนว
Cแนะแนวyutict
 
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้Wichai Likitponrak
 
วิจัยคืออะไร
วิจัยคืออะไรวิจัยคืออะไร
วิจัยคืออะไรrujirapyo1
 
การขับเคลื่อนโรงเรียนนนทรีวิทยา สู่ระบบโรงเรียนมาตรฐานสากล โดย ครูกอบวิทย์ พิ...
การขับเคลื่อนโรงเรียนนนทรีวิทยา สู่ระบบโรงเรียนมาตรฐานสากล โดย ครูกอบวิทย์ พิ...การขับเคลื่อนโรงเรียนนนทรีวิทยา สู่ระบบโรงเรียนมาตรฐานสากล โดย ครูกอบวิทย์ พิ...
การขับเคลื่อนโรงเรียนนนทรีวิทยา สู่ระบบโรงเรียนมาตรฐานสากล โดย ครูกอบวิทย์ พิ...Kobwit Piriyawat
 
Computer project
Computer projectComputer project
Computer projectFelinicia
 
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...Kobwit Piriyawat
 
แผนการจัดการาเรียนรู้ที่ 1
แผนการจัดการาเรียนรู้ที่  1แผนการจัดการาเรียนรู้ที่  1
แผนการจัดการาเรียนรู้ที่ 1kruruttika
 

Ähnlich wie เทคโนโลยีชีวภาพ (20)

หลักสูตร Is คำอธิบายรายวิชา ม.ปลายdoc
หลักสูตร Is คำอธิบายรายวิชา ม.ปลายdocหลักสูตร Is คำอธิบายรายวิชา ม.ปลายdoc
หลักสูตร Is คำอธิบายรายวิชา ม.ปลายdoc
 
แนวการเขียนรายงายเชิงวิจัย
แนวการเขียนรายงายเชิงวิจัยแนวการเขียนรายงายเชิงวิจัย
แนวการเขียนรายงายเชิงวิจัย
 
Cแนะแนว
CแนะแนวCแนะแนว
Cแนะแนว
 
Add m2-2-link
Add m2-2-linkAdd m2-2-link
Add m2-2-link
 
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
 
1
11
1
 
Surapol3
Surapol3Surapol3
Surapol3
 
Sahavitayakarn21
Sahavitayakarn21Sahavitayakarn21
Sahavitayakarn21
 
Basic m2-2-link
Basic m2-2-linkBasic m2-2-link
Basic m2-2-link
 
วิจัยคืออะไร
วิจัยคืออะไรวิจัยคืออะไร
วิจัยคืออะไร
 
55102 ภาษาไทย utq
55102  ภาษาไทย utq55102  ภาษาไทย utq
55102 ภาษาไทย utq
 
การขับเคลื่อนโรงเรียนนนทรีวิทยา สู่ระบบโรงเรียนมาตรฐานสากล โดย ครูกอบวิทย์ พิ...
การขับเคลื่อนโรงเรียนนนทรีวิทยา สู่ระบบโรงเรียนมาตรฐานสากล โดย ครูกอบวิทย์ พิ...การขับเคลื่อนโรงเรียนนนทรีวิทยา สู่ระบบโรงเรียนมาตรฐานสากล โดย ครูกอบวิทย์ พิ...
การขับเคลื่อนโรงเรียนนนทรีวิทยา สู่ระบบโรงเรียนมาตรฐานสากล โดย ครูกอบวิทย์ พิ...
 
Learning21
Learning21Learning21
Learning21
 
Km1
Km1Km1
Km1
 
Computer project
Computer projectComputer project
Computer project
 
Botkwam
BotkwamBotkwam
Botkwam
 
Botkwam
BotkwamBotkwam
Botkwam
 
Botkwam
BotkwamBotkwam
Botkwam
 
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
 
แผนการจัดการาเรียนรู้ที่ 1
แผนการจัดการาเรียนรู้ที่  1แผนการจัดการาเรียนรู้ที่  1
แผนการจัดการาเรียนรู้ที่ 1
 

Mehr von peter dontoom

ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.3.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.3.pdfปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.3.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.3.pdfpeter dontoom
 
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.2.pdfปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.2.pdfpeter dontoom
 
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.1.pdfปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.1.pdfpeter dontoom
 
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.3.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.3.pdfปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.3.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.3.pdfpeter dontoom
 
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.2.pdfปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.2.pdfpeter dontoom
 
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.1.pdfปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.1.pdfpeter dontoom
 
ปพ.5-2565-2-ศ23103นาฏศิลป์ 3.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ23103นาฏศิลป์ 3.2.pdfปพ.5-2565-2-ศ23103นาฏศิลป์ 3.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ23103นาฏศิลป์ 3.2.pdfpeter dontoom
 
ปพ.5-2565-2-ศ23103นาฏศิลป์ 3.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ23103นาฏศิลป์ 3.1.pdfปพ.5-2565-2-ศ23103นาฏศิลป์ 3.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ23103นาฏศิลป์ 3.1.pdfpeter dontoom
 
ปพ.5-2565-2-ศ23101ทัศนศิลป์ 3.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ23101ทัศนศิลป์ 3.2.pdfปพ.5-2565-2-ศ23101ทัศนศิลป์ 3.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ23101ทัศนศิลป์ 3.2.pdfpeter dontoom
 
ปพ.5-2565-2-ศ23101ทัศนศิลป์ 3.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ23101ทัศนศิลป์ 3.1.pdfปพ.5-2565-2-ศ23101ทัศนศิลป์ 3.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ23101ทัศนศิลป์ 3.1.pdfpeter dontoom
 
ปพ.5-2565-2-ศ21101ทัศนศิลป์ 1.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ21101ทัศนศิลป์ 1.2.pdfปพ.5-2565-2-ศ21101ทัศนศิลป์ 1.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ21101ทัศนศิลป์ 1.2.pdfpeter dontoom
 
ปพ.5-2565-2-ศ21101ทัศนศิลป์ 1.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ21101ทัศนศิลป์ 1.1.pdfปพ.5-2565-2-ศ21101ทัศนศิลป์ 1.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ21101ทัศนศิลป์ 1.1.pdfpeter dontoom
 
Instruction Supervision 66.pdf
Instruction Supervision 66.pdfInstruction Supervision 66.pdf
Instruction Supervision 66.pdfpeter dontoom
 
Supervision Report 65.pdf
Supervision Report 65.pdfSupervision Report 65.pdf
Supervision Report 65.pdfpeter dontoom
 

Mehr von peter dontoom (20)

research 653.pdf
research 653.pdfresearch 653.pdf
research 653.pdf
 
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.3.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.3.pdfปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.3.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.3.pdf
 
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.2.pdfปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.2.pdf
 
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.1.pdfปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ32102นาฏศิลป์ 5.1.pdf
 
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.3.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.3.pdfปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.3.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.3.pdf
 
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.2.pdfปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.2.pdf
 
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.1.pdfปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ31102ทัศนศิลป์ 4.1.pdf
 
ปพ.5-2565-2-ศ23103นาฏศิลป์ 3.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ23103นาฏศิลป์ 3.2.pdfปพ.5-2565-2-ศ23103นาฏศิลป์ 3.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ23103นาฏศิลป์ 3.2.pdf
 
ปพ.5-2565-2-ศ23103นาฏศิลป์ 3.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ23103นาฏศิลป์ 3.1.pdfปพ.5-2565-2-ศ23103นาฏศิลป์ 3.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ23103นาฏศิลป์ 3.1.pdf
 
ปพ.5-2565-2-ศ23101ทัศนศิลป์ 3.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ23101ทัศนศิลป์ 3.2.pdfปพ.5-2565-2-ศ23101ทัศนศิลป์ 3.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ23101ทัศนศิลป์ 3.2.pdf
 
ปพ.5-2565-2-ศ23101ทัศนศิลป์ 3.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ23101ทัศนศิลป์ 3.1.pdfปพ.5-2565-2-ศ23101ทัศนศิลป์ 3.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ23101ทัศนศิลป์ 3.1.pdf
 
ปพ.5-2565-2-ศ21101ทัศนศิลป์ 1.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ21101ทัศนศิลป์ 1.2.pdfปพ.5-2565-2-ศ21101ทัศนศิลป์ 1.2.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ21101ทัศนศิลป์ 1.2.pdf
 
ปพ.5-2565-2-ศ21101ทัศนศิลป์ 1.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ21101ทัศนศิลป์ 1.1.pdfปพ.5-2565-2-ศ21101ทัศนศิลป์ 1.1.pdf
ปพ.5-2565-2-ศ21101ทัศนศิลป์ 1.1.pdf
 
portfolio 66.2.pdf
portfolio 66.2.pdfportfolio 66.2.pdf
portfolio 66.2.pdf
 
supervision 65.pdf
supervision 65.pdfsupervision 65.pdf
supervision 65.pdf
 
research 65.pdf
research 65.pdfresearch 65.pdf
research 65.pdf
 
Instruction Supervision 66.pdf
Instruction Supervision 66.pdfInstruction Supervision 66.pdf
Instruction Supervision 66.pdf
 
portfolio 2022.pdf
portfolio 2022.pdfportfolio 2022.pdf
portfolio 2022.pdf
 
Supervision Report 65.pdf
Supervision Report 65.pdfSupervision Report 65.pdf
Supervision Report 65.pdf
 
4.3.pdf
4.3.pdf4.3.pdf
4.3.pdf
 

เทคโนโลยีชีวภาพ

  • 1. วิทยาศาสตร์ พว02017 เทคโนโลยีชีวภาพ หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สาหรับคนไทยในต่างประเทศ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกลุ่มเป้าหมายพิเศษ สานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ เอกสารวิชาการเล่มที่ 61/2554 หนังสือแบบเรียนสาระวิชาความรู้พื้นฐาน รายวิชาเลือก
  • 2. เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 1 ชื่อหนังสือ หนังสือแบบเรียนสาระวิชาความรูพื้นฐาน รายวิชาเลือก พว02017 เทคโนโลยีชีวภาพ หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สําหรับคนไทยในตางประเทศ ISBN : พิมพครั้งที่ : 2/2554 จํานวนพิมพ : เอกสารทางวิชาการลําดับที่ ; 61/2554 จัดพิมพและเผยแพร : ศูนยการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกลุมเปาหมายพิเเศษ สํานักงานสงเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ โทร 02 2817217,0202685329,026285331 โทรสาร 02 2817216, 02 6285330 เว็ปไซด : http;//www.nfe.go.th/0101-v3/frontend/
  • 3. เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 2 คํานํา สํานักงานสงเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ไดดําเนินการจัดทํา หนังสือเรียนสาระวิทยาศาสตร รายวิชาเลือก รหัส พวพว02017 เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อใชในการ เรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบและการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สําหรับ คนไทยในตางประเทศ โดยมีวัตถุประสงคเพื่อพัฒนาผูเรียนใหมีคุณธรรม จริยธรรมมีสติปญญาและ ศักยภาพในการประกอบอาชีพ และการศึกษาตอตลอดจนสามารถดํารงชีวิตอยูในครอบครัว ชุมชน สังคมไดอยางมีความสุข ซึ่งผูเรียนสามารถนําหนังสือเรียนไปใชดวยวิธีการศึกษาคนควาดวยจนเอง ปฏิบัติกิจกรรมและแบบฝกหัด เพื่อทดสอบความรูความเขาใจในสาระเนื้อหา รวมทั้งหาความรูจาก แหลงเรียนรูหรือสื่ออื่นๆเพิ่มเติมได ในการดําเนินการจัดทําหนังสือเรียน ไดรับความรวมมือที่ดีจากผูทรงคุณวุฒิและ ผูเกี่ยวของที่คนควาและเรียบเรียงเนื้อหาสาระจากสื่อตาง ๆ เพื่อใหไดสื่อที่สอดคลองกับหลักสูตร และเปนประโยชนตอผูเรียนที่อยูนอกระบบอยางแทจริง ศูนยการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยกลุมเปาหมายพิเศษ ขอขอบคุณคณะที่ปรึกษาและ คณะผูเรียบเรียง ตลอดจนคณะผูจัดทํา ทุกทานที่ไดใหความรวมมือดวยดีไว ณ โอกาสนี้ ศูนยการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกลุมเปาหมายพิเศษ หวังวา หนังสือเลมนี้จะเปนประโยชนตอผูเรียนและการจัดการเรียนการสอน หากมีขอเสนอแนะประการใด จะขอนอมรับไวดวยความขอบคุณยิ่ง ศูนยการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกลุมเปาหมายพิเศษ
  • 4. เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 3 สารบัญ หนา คํานํา 2 คําแนะนําการใชหนังสือเรียน 4 โครงสรางรายวิชา พว 02017 เทคโนโลยีชีวภาพ 7 - ตอนที่ 1 ความหมายเทคโนโลยีชีวภาพ 8 - ตอนที่ 2 การโคลนนิ่ง 11 - ตอนที่ 3 การสรางและดัดแปลงสิ่งมีชีวิตทางพันธุวิศวกรรม 20 - ตอนที่ 4 เซลลตนกําเนิด 28 - ตอนที่ 5 การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช 37 5.1 ความสําคัญและประโยชน 37 5.2 ประวัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช 38 5.3 หองปฏิบัติการ 41 5.4 เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณเครื่องแกว 42 5.5 อาหารสําหรับเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 47 5.6 การเตรียมอาหาร 52 5.7 การเตรียมชิ้นสวนพืช การฟอกฆาเชื้อ 54 5.8 การยายเนื้อเยื่อพืช 57 5.9 การยายปลูกในสภาพธรรมชาติ 58 5.10 ปญหาที่พบในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช 59 - ตอนที่ 6 ประโยชนและผลกระทบของเทคโนโลยีชีวภาพตอมนุษย สิ่งแวดลอม และเศรษฐกิจ 61 กิจกรรมทายบท 64 แนวตอบกิจกรรม 75 บรรณานุกรม 86 คณะผูจัดทํา 87
  • 5. เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 4 คําแนะนําในการใชหนังสือเรียน หนังสือแบบเรียนสาระวิชาความรูพื้นฐาน รายวิชาเลือก พว 02017 เทคโนโลยีชีวภาพ ( 1 หนวยกิต) หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สําหรับ คนไทยในตางประเทศ แบงออกเปน 3 สวน ประกอบดวย สวนที่ 1 คําชี้แจงกอนเรียนรูรายวิชา สวนที่ 2 เนื้อหาสาระและกิจกรรมทายบท สวนที่ 3 แนวตอบกิจกรรมทายบทและหรือแบบทดสอบยอยทายบท สวนที่ 1 คําชี้แจงกอนเรียนรูรายวิชา ผูเรียนตองศึกษารายละเอียดในคํานําและคําแนะนําการใชหนังสือแบบเรียน เพื่อสรางความ เขาใจและเพื่อใหบรรลุตามมาตรฐานการเรียนรูของรายวิชา ซึ่งการเรียนรูเนื้อหาและการปฏิบัติ กิจกรรมทายบท ควรปฏิบัติดังนี้ 1.หารือครูประจํากลุม/ครูผูสอน เพื่อรวมกันวางแผนการเรียน (ใชเวลาเรียน 40 ชั่วโมง) 2 ศึกษาเนื้อหาจากหนังสือแบบเรียน หากมีขอสงสัยเรื่องใดสามารถศึกษาคนควา เพิ่มเติมไดจากสื่อๆหรือหารือครูประจํากลุม/ครูผูสอน เพื่อขอคําอธิบายเพิ่มเติม 3.ทํากิจกรรมทายบทตามที่กําหนด 4. เขาสอบวัดผลการเรียนรูตามที่กําหนด 5. สรางความเขาใจเกี่ยวกับการประเมินผลรายวิชา ซึ่งมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน จาก การศึกษาหนังสือรายวิชานี้ เพื่อแสดงใหเห็นกระบวนการเรียนรู และนําความรูไปใชโดยทําตามที่ครู กําหนดและจัดทําเปนรูปแบบเอกสารความรู ดังนี้ 5.1 คะแนนระหวางภาคเรียน 60 คะแนน แบงสวนคะแนนตามกิจกรรม ไดแก 1) ทํากิจกรรมทายบทเรียน 20 คะแนน โดยทํากิจกรรมทายบทใหครบถวน 2) ทําบันทึกการเรียนรู 20 คะแนน โดยสรุปเนื้อหาหรือวิเคราะหเนื้อหาจาก การศึกษาหนังสือรายวิชานี้ เพื่อแสดงใหเห็นกระบวนการเรียนรูและนําความรูไปใชโดยทําตามที่ครู กําหนดและจัดทําเปนรูปแบบเอกสารความรู ดังนี้
  • 6. เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 5 - สวนบันทึกการเรียนรู (เนื้อหาประกอบดวย ชื่อ-นามสกุล รหัส ประจําตัว ระดับการศึกษา ศูนยการเรียนกศน. ของผูเรียนและศูนยการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัยกลุมเปาหมายพิเศษ) - สวนการบันทึกการเรียนรู (เนื้อหาประกอบดวย หัวขอ/เรื่องที่ศึกษา และจุดประสงคที่ศึกษาและขั้นตอนโดนระบุวามีวิธีรวบรวมอยางไร นําขอมูลมาใชอยางไร -สวนสรุปเนื้อหา (สรุปสาระความรูสําคัญตามเนื้อหาที่ไดบันทึกการ เรียนรู) -ประโยชนที่เกิดกับผูเรียน (บอกความรูที่รับและนํามาพัฒนาตนเอง/ การนําไปประยุกตใหในรายวิชาอื่นๆ หรือในชีวิตประจําวัน) 3) ทํารายงานหรือโครงงาน คิดสัดสวน 20 คะแนนโดยจัดทําเนื้อหาหรือ โครงงานตามที่ครูกําหนด รูปแบบเอกสารรายงานหรือโครงการดังนี้ 3.1) การทํารายงานหรือโครงการตามที่ครูมอบหมายใหดําเนินตาม รูปแบบกระบวนการทํารายงานหรือโครงงานตามรูปแบบดังนี้ -ปก (เรื่องที่รายงาน รายละเอียดเกี่ยวกับตัวผูเรียน:ชื่อ-นามสกุล รหัส ประจําตัว ระดับการศึกษา ศูนยการเรียน กศน.ของผูเรียนและศูนยการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัยกลุมเปาหมายพิเศษ -คํานํา -สารบัญ -สวนเนื้อหา (หัวขอหลัก หัวขอยอย) -สวนเอกสารอางอิง 3.2) การทําโครงงาน ตามที่ครูมอบหมายและดําเนินการตาม กระบวนการทํางาน โดยจัดทําตามรูปแบบเอกสาร ดังนี้ -ปก (เรื่องที่โครงงาน รายละเอียดเกี่ยวกับตัวผูเรียน:ชื่อ-นามสกุล รหัส ประจําตัว ระดับการศึกษา ศูนยการเรียน กศน.ของผูเรียนและศูนยการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัยกลุมเปาหมายพิเศษ -หลักการและเหตุผล -วัดถุประสงค -เปาหมาย
  • 7. เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 6 -ขอบเขตของการศึกษา -วิธีการดําเนินงานและรายละเอียดของแผน -ระยะเวลาดําเนินงาน -งบประมาณ -ผลที่คาดวาจะไดรับ 5.2 คะแนนปลายภาคเรียน 40 คะแนน ผูเรียนตองเขาสอบวัดความรูปลายภาคเรียนโดยใช เครื่องมือ (ขอสอบแบบปรนัยหรืออัตนัย) ของศูนยการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กลุมเปาหมายพิเศษ สวนที่ 2 เนื้อหาสาระและกิจกรรมทายบท ผูเรียนตองวางแผนการเรียน ใหสอดคลองกับระยะเวลาของรายวิชาและตองศึกษาเนื้อหา สาระตามที่กําหนดในรายวิชาใหละเอียดครบถวน เพื่อใหเปนไปตามมาตรฐานการเรียนรูของ รายวิชา ซึ่งในรายวิชานี้ไดแบงเนื้อหาออกเปน 3 บท ดังนี้ บทที่ 1 ความหมายและความสําคัญของสารเคมีและเคมีภัณฑ บทที่ 2 ผลของปฏิกิริยาเคมีตอสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดลอม บทที่ 3 สารเคมีในบาน สวนกิจกรรมทายบท เมื่อผูเรียนไดศึกษาเนื้อหาแตละบท/ตอนแลว ตองทํากิจกรรมทาย บทเรียนหรือแบบฝกหัด ตามที่กําหนดใหครบถวน เพื่อสะสมเปนคะแนนระหวางเรียน( 20 คะแนน) สวนที่ 3 แนวตอบกิจกรรมทายบทเรียนหรือแบบฝกหัดและหรือเฉลยยอย แนวตอบกิจกรรมทายบทเรียนหรือแบบฝกหัดและหรือเฉลยยอย จัดทําแยกในบท เรียงลําดับ
  • 8. เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 7 โครงสร้าง พว32007 เทคโนโลยีชีวภาพ สาระสําคัญ เทคโนโลยีชีวภาพ เป็นกระบวนการที่รวบรวมและนําเอาหลักการความรู้ วิทยาการ และ เทคนิคต่าง ๆ ทางชีวเคมี จุลชีววิทยา วิศวกรรมเคมี ชีวเคมี วิศวกรรมกระบวนการที่มีความสัมพันธ์กัน มาใช้เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ เอ็นไซม์ เซลล์และส่วนประกอบของเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ต่าง ๆ เทคโนโลยีชีวภาพได้ถูกนํามาใช้ประโยชน์ทั้งทางด้าน เกษตรกรรม อาหาร การแพทย์ และเภสัช กรรม โดยมีวัตถุประสงค์ต่าง ๆ อาทิ เพื่อลดปริมาณการใช้สารเคมี เพื่อเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก เพื่อเพิ่ม ผลผลิตทางการเกษตร เพื่อคิดค้นอาหารที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูงขึ้น เพื่อค้นคิดตัวยาป้องกันและ รักษาโรค ซึ่งล้วนเป็นการนําเทคโนโลยีชีวภาพมารับใช้ประชากรโลก ในการสร้างสรรค์พัฒนาให้มวล มนุษย์สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ปัจจุบัน มีการนําวิทยาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ที่เด่นชัดที่สุด คือ ในทางการแพทย์และการเกษตร ทั้งนี้เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวภาพได้ก่อให้เกิด ความหวังใหม่ ๆ ในการคิดค้นหนทางแก้ปัญหาสําคัญที่โลกกําลังเผชิญอยู่ทั้งทางด้านเกษตรกรรม อาหาร การแพทย์ และเภสัชกรรม ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 1.สามารถอธิบายความหมายของเทคโนโลยีชีวภาพได้ 2.อธิบายหลักการ การโคลนนิ่ง การสร้างและดัดแปลงสิ่งมีชีวิตทางพันธุวิศวกรรม เซลล์ต้น กําเนิด การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชได้ 3.อธิบายวิธีการและขั้นตอนของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชได้ 4.สามารถบอกประโยชน์และผลกระทบของเทคโนโลยีชีวภาพต่อมนุษย์ สิ่งแวดล้อมและ เศรษฐกิจได้ ขอบข่ายเนื้อหา บทที่ 1 ความหมายเทคโนโลยีชีวภาพ บทที่ 2 การโคลนนิ่ง บทที่ 3 การสร้างและดัดแปลงสิ่งมีชีวิตทางพันธุวิศวกรรม บทที่ 4 เซลล์ต้นกําเนิด บทที่ 5 การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช บทที่ 6 ประโยชน์และผลกระทบของเทคโนโลยีชีวภาพต่อมนุษย์ สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ
  • 9. เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 8 บทที่ 1 เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) คําว่า “เทคโนโลยีชีวภาพ” หรือ Biotechnology อาจจะฟังดูแล้วเป็นศัพท์ทางวิชาการ แต่ แท้จริงเทคโนโลยีชีวภาพไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด หากแต่มนุษย์เราได้นําประโยชน์จากกระบวนการ ทางเทคโนโลยีชีวภาพเข้ามาใช้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตเราเป็นเวลาหลายปีเพื่อการแปรรูปอาหารและถนอม อาหารในสมัยโบราณประมาณ 6,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวสุเมเรียนและบาบิโลเนียนเริ่มรู้จักการนํา ยีสต์มาหมักเบียร์ ต่อมาชาวอียิปต์ได้ค้นพบการทําขนมปังโดยใช้เชื้อยีสต์ลงไปในแป้งสาลี ในเอเชียมี การค้นพบวิธีถนอมอาหารในรูปแบบง่าย ๆ ได้แก่ การหมักดองอาหาร เช่น เต้าเจี้ยว แหนม ปลาร้า ผัก ดอง ซีอิ๊ว การทําข้าวหมาก สุราพื้นบ้านเป็นต้น ความหมายของเทคโนโลยีชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพ หมายถึง การนําสิ่งมีชีวิต หรือผลิตภัณฑ์จากสิ่งมีชีวิต หรือสังเคราะห์ จากสิ่งมีชีวิต มาปรับปรุงพืช สัตว์ หรือผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อประโยชน์เฉพาะตามต้องการได้มีการนํา เทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรม เช่น เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อปรับปรุงพันธุ์พืช เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์สัตว์ United Nations Convention on Biological Diversityได้ให้นิยามของ เทคโนโลยีชีวภาพ ไว้ว่า “Any technological application that uses biological systems, living organisms, or derivatives thereof, to make or modify products or processes for specific use” “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่างๆทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้กับ ระบบของสิ่งมีชีวิต หรือ สิ่งมีชีวิต หรือ ชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิต เพื่อสร้างหรือปรับปรุง ผลิตภัณฑ์ หรือ กระบวนการ เพื่อมาใช้ประโยชน์ เฉพาะด้าน” กล่าวได้ว่าเทคโนโลยีชีวภาพเป็นสหวิทยาการประกอบมาจากหลายสาขาวิชา เช่น ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ จุลชีววิทยา ชีววิทยาโมเลกุล วิศวกรรม พันธุวิศวกรรม สรีรวิทยา ชีวเคมี การเกษตร การแพทย์ การอุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม กาพลังงานและอื่นๆอีกมากมายที่นําความรู้และพื้นฐาน เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในปัจจุบันการพัฒนาด้านเทคโนโลยีชีวภาพได้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่นักวิทยาศาสตร์ รุ่นใหม่ ประสบความสําเร็จในการคัดเลือกจุลินทรีย์ที่เหมาะสมมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ตลอดไปจนถึง การริเริ่มนํายีน (Gene) หรือหน่วยพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตมาศึกษาการถ่ายทอดลักษณะพิเศษเพื่อ
  • 10. เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 9 นํามาใช้ประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรม อาหาร ยาป้องกันและรักษาโรคปัจจุบัน ประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ต่างมีนโยบายสนับสนุนการค้นคว้านําเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ให้เป็นประโยชน์ เพราะเชื่อว่าวิทยาการแขนงนี้จะช่วยให้สามารถคิดค้นตัวยาใหม่ ๆ และผลผลิตด้านอาหารและเกษตร ของโลกเพิ่มมากขึ้น พอเพียงสําหรับประชากรโลกในอนาคต ประเภทของเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีชีวภาพแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ เทคโนโลยีชีวภาพแบบดั้งเดิม เป็นเทคโนโลยีชีวภาพที่มนุษย์รู้จักกันมานาน ไม่ต้องใช้เทคนิค วิธีการทางวิทยาศาสตร์และวิทยาการสูงมากนักเช่น การทําเหล้า อาหารหมักดอง การผลิตปุ๋ยหมัก การ ใช้สิ่งมีชีวิตในการควบคุมและกําจัดศัตรูพืช เป็นต้น เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ เป็นเทคโนโลยีชีวภาพที่ต้องใช้ความรู้และเทคนิควิธีการทาง วิทยาศาสตร์ชั้นสูงที่เกี่ยวข้องกับสารพันธุกรรม เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิต เช่น การโคลนนิ่ง พันธุวิศวกรรรม เป็นต้น เทคโนโลยีชีวภาพ มีความสําคัญอย่างไร เทคโนโลยีชีวภาพได้ถูกนํามาใช้ประโยชน์ทั้งทางด้านเกษตรกรรม อาหาร การแพทย์ และเภสัช กรรม โดยมีวัตถุประสงค์ต่าง ๆ อาทิ เพื่อลดปริมาณการใช้สารเคมี เพื่อเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก เพื่อเพิ่ม ผลผลิตทางการเกษตร เพื่อคิดค้นอาหารที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูงขึ้น เพื่อค้นคิดตัวยาป้องกันและ รักษาโรค ซึ่งล้วนเป็นการนําเทคโนโลยีชีวภาพมารับใช้ประชากรโลก ในการสร้างสรรค์พัฒนาให้มวล มนุษย์สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นปัจจุบัน มีการนําวิทยาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ประโยชน์ อย่างกว้างขวาง ที่เด่นชัดที่สุดคือ ในทางการแพทย์และการเกษตร ทั้งนี้เนื่องจากความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีชีวภาพได้ก่อให้เกิดความหวังใหม่ ๆ ในการคิดค้นหนทางแก้ปัญหาสําคัญที่โลกกําลังเผชิญอยู่ ทั้งทางด้านเกษตรกรรม อาหาร การแพทย์ และเภสัชกรรมอันได้แก่ ความพยายามจะลดปริมาณการใช้สารเคมีในเกษตรกรรม ด้วยการคิดค้นพันธุ์พืชใหม่ที่ ต้านทานโรคศัตรูพืชอันจะช่วยลดปัญหาการใช้สารเคมีซึ่งเป็นหนึ่งในต้นเหตุของปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ความพยายามจะเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกของโลก ด้วยการปรับปรุงพันธุ์พืชใหม่ ที่ทนทานต่อภาวะ แห้งแล้ว หรืออุณหภูมิที่สูงหรือต่ําเกินไป ความพยายามจะเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรของโลก ด้วยการคิดค้นปรับปรุงพันธุ์พืชและพันธุ์ สัตว์ที่ทนทานต่อโรคภัยและให้ผลิตสูงขึ้น
  • 11. เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 10 ความพยายามจะค้นคิดอาหารที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูงขึ้นหรือมีคุณสมบัติที่มีประโยชน์ต่อ ผู้บริโภคมากขึ้น เช่นอาหารไขมันต่ํา อาหารที่คงความสดได้นานกว่า อาหารที่มีอายุการบริโภคนานขึ้น โดยไม่ต้องใส่สารเคมี เป็นต้น ความพยายามจะค้นคิดตัวยาป้องกันและรักษาโรคติดต่อหรือโรคร้ายแรงต่าง ๆ ที่ยังไม่มีวิธี รักษาที่ได้ผล เช่น การคิดตัวยาหยุดยั้งการลุกลามของเนื้อเยื่อมะเร็งแทนการใช้สารเคมีทําลาย การคิดค้นวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบชนิดต่าง ๆ วิธีการทางเทคโนโลยีชีวภาพ การนําเทคโนโลยีมาใช้เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิต มีหลากหลาย วิธีซึ่งมีทั้งวิธีการแบบดั้งเดิมและแบบสมัยใหม่ ตัวอย่างของวิธีการทางเทคโนโลยีชีวภาพมีดังต่อไปนี้ - การโคลนนิ่ง - การสร้างและดัดแปลงสิ่งมีชีวิตทางพันธุวิศวกรรม - การใช้เซลล์ต้นกําเนิดเพื่อการพัฒนา - การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
  • 12. เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 11 บทที่ 2 การโคลนนิ่ง โคลนนิ่ง (cloning) เป็นกระบวนการสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศชนิดหนึ่ง มนุษย์รู้จักโคลนนิ่งมา แต่สมัยโบราณแล้ว แต่เป็นการ รู้จักโคลนนิ่งที่เกิดกับพืช นั่นคือ การขยายพันธุ์พืชโดยไม่อาศัย กระบวนการที่เกี่ยวกับเพศของพืชเลย โคลนนิ่งที่เป็นการขยายพันธุ์พืชหรือสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศที่ เป็นที่รู้จักและเรียกกันในภาษาไทยของเราว่า“การเพาะชําพืช”เช่น การตัด ปักชํา ส่วนที่ตัดเป็นชิ้น เล็กๆจากพืช เช่น กิ่ง ใบ ราก เมื่อนําไปปักชําจะสามารถเจริญเติบโตเป็นพืชใหม่ได้ และมีองค์ประกอบ ทางพันธุกรรมเหมือนต้นเดิมทุกประการ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยการใช้เซลล์ อวัยวะ เนื้อเยื่อ และ โพรโทพลาสต์ของพืชมาเลี้ยงในสารอาหารและจัดให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม ส่วนต่างๆเหล่านั้นจะ เจริญเติบโตเป็นพืชใหม่ที่มีลักษณะตรงตามพันธุ์เดิมทุกประการ สําหรับเรื่องการโคลนนิ่งของสัตว์และ มนุษย์ก็เป็นกระบวนการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เช่นกัน คําว่าโคลน (clone) มาจากคําภาษากรีกว่า “Klone” แปลว่า แขนง กิ่ง ก้าน ซึ่งใช้อธิบายการแบ่งตัวแบบไม่มีเพศ (asexual) ในพืชและสัตว์ การ โคลนนิ่งสัตว์ คือการผลิตสัตว์ให้มีลักษณะทาง กายภาพ (phenotype) และทางพันธุกรรม (genotype) เหมือนกัน (identical twin) โดยไม่ใช้เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียมาผสมกัน ใน ภาษาอังกฤษเรียกว่า “genetic duplication” ดังนั้นการโคลนนิ่งจึงเป็นการทําสิ่งมีชีวิตให้เป็นแฝดเหมือนกัน คือ มีเพศเหมือนกัน สีผิว เหมือนกัน หมู่เลือดเหมือนกัน ตําหนิเหมือนกัน เป็นต้นซึ่งในทางธรรมชาติโดยเฉพาะในสัตว์เกิด ปรากฏการณ์การเกิดแฝดขึ้นได้น้อยมาก การโคลนนิ่งที่ทําได้ยากที่สุดคือการโคลนนิ่งสัตว์ นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามโคลนนิ่งสัตว์มาเป็นเวลานานแล้ว ซึ่งการโคลนนิ่งสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบาง ชนิดทําได้ง่ายมาก เช่น ถ้าเราตัดปลาดาวออกเป็นสองส่วน แต่ละส่วนจะสามารถงอกเป็นปลาดาวตัว ใหม่ทั้งตัวได้ แต่การโคลนนิ่งสัตว์มีกระดูกสันหลังทําได้ยากกว่ามาก
  • 13. เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 12 ประวัติและวิวัฒนาการของการโคลนนิ่ง ปี พ.ศ. ผู้ค้นคว้าวิจัย การค้นคว้า 2423 วิลเฮม รูกซ์ และ ออกุสต์ ไวส์มันน์ ทฤษฎีพัฒนาการระยะแรกของสิ่งมีชีวิต เซลล์สืบพันธุ์เป็นตัว ถ่ายทอดชุดของมรดก ทางพันธุกรรมที่สมบูรณ์ ขณะที่เซลล์ประเภท ที่ไม่ใช้เซลล์สืบพันธุ์บางประเภทเท่านั้น ที่สามารถถ่ายทอดลักษณะ ทางพันธุกรรมได้ 2431 วิลเฮมล์ รูกซ์ ได้นําทฤษฎีดังกล่าวไปทดลองในห้องปฏิบัติการเป็นครั้งแรก ด้วย การแยกเซลล์ตัวอ่อนของเซลล์กบด้วยเข็มที่ร้อน ทําให้เกิด วิวัฒนาการครึ่งหนึ่งของตัวอ่อน 2437 ฮันส์ ไดรซ์ ได้แยกบลาสโตเมียร์ออกจากตัวอ่อนของเม่นทะเล และเฝ้าดู พัฒนาการของบลาสโตเมียร์ไปเป็นดักแด้ การทดลองของไดรซ์ได้ไป หักล้างทฤษฎีของไวส์มันน์ รูกซ์ 2444 ฮันส์ สเปอร์มัน ได้แยกตัวอ่อน 2 เซลล์ของซาลามานเดอร์ออกเป็น 2 ส่วน ปรากฏ ว่าสําเร็จและพัฒนาเป็นดักแด้ 2 ตัว 2457 ฮันน์ สเปอร์มัน ได้ทําการย้ายนิวเคลียส โดยใช้เส้นผมของเด็กทารกเขาได้ทําให้ บางส่วนของตัวอ่อนที่ได้รับการผสมแล้วหดเล็กลง เพื่อให้นิวเคลียส ไปรวมอยู่ที่ด้านเดียวและให้โปรโตพลาสซึ่มของเซลล์ไปอยู่อีกด้าน ในขณะที่เซลล์ด้านที่มีนิวเคลียสแยกตัวออกไปเป็นเซลล์ 16 เซลล์ นิวเคลียสก็ได้ไปรวมกับโปรโตพลาสซึ่มอีกด้านหนึ่ง ส่วนอีกด้านก็มี การแบ่งเซลล์เช่นกันทําให้เกิดพัฒนาการของตัวดักแด้แฝดโดยที่ตัว หนึ่งเกิดก่อนเล็กน้อย 2495 โรเบิร์ต บริกส์ และ โทมัส คิง3 ได้ย้ายนิวเคลียสจากตัวอ่อนของกบเข้าไปปลูกในเซลล์เพศเมีย ซึ่งไม่ สามารถสืบพันธุ์ได้และพัฒนาออกมาเป็นลูกกบและหลายตัวใน จํานวนนี้ได้เติบโตไปเป็นกบตัวเล็กๆ เทคนิคการปลูกถ่ายนิวเคลียสนี้ ต่อมาได้กลายเป็นรูปแบบเบื้องต้นของการโคลนนิ่งสิ่งมีชีวิตหลาย เซลล์
  • 14. เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 13 ปี พ.ศ. ผู้ค้นคว้าวิจัย การค้นคว้า 2504- 2505 จอห์น เกอร์ดอน และโรเบิร์ต แม็คคิน เนลล์ ประสบความสําเร็จในการสร้างโคลนนิ่งของกบจากเซลล์ต้นแบบที่ เป็นของลูกอ๊อดตัวโตขึ้นโดยใช้เซลล์ลําไส้ของลูกอ๊อด ซึ่งนับเป็น เซลล์ที่มีพัฒนาการจากเซลล์ที่เป็นเพียงตัวอ่อนลูกกบใหม่ๆ ได้ปลูกแครอทจากเซลล์รากของแครอท การทดลองครั้งนี้และการ ทดลองกับสัตว์สะเทิ้นน้ําสะเทิ้นบกบางชนิดเมื่อก่อนหน้านี้ ทําให้ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการโคลนนิ่งจากเซลล์ที่แตกต่างกันของสัตว์ เป็นสิ่งที่สามารถเป็นไปได้ 2507 เอฟ สจ๊วร์ต จอห์น เกอร์ดอน และวี อูลิงเกอร์ 2509 ประสบความสําเร็จในการโคลนนิ่งตัวเต็มวัยของกบ โดยการฉีดเซลล์ จากลําไส้เล็กของตัวอ่อนกบ เจมส์ แม็คกราธ และ2516 เดเวอร์ โซลเดอร์ พัฒนาเทคนิคการเปลี่ยนถ่ายนิวเคลียสสําหรับตัวอ่อนของสัตว์เลี้ยง ลูกด้วยนม ใช้เซลล์จากผิวหนังของกบที่เป็นกบโตแล้วไปทําโคลนนิ่งเกิดเป็นลูกอ๊ อดได้สําเร็จหลายตัวแต่ส่วนใหญ่ก็ตายหมด มีเหลืออยู่เพียงตัวเดียว ที่เจริญเติบโตเป็นกบเต็มตัว 2518 จอห์น เกอร์ดอน 2519 ปีเตอร์ ฮอปป์ และ คาร์ล อิลล์เมนซี สร้างหนูโคลนขึ้นมาจํานวน 7 ตัว แต่ทดลองเฉพาะหนูโคลนที่เป็นตัว เมียไม่สามารถผลิตหนูโคลนที่เป็นตัวผู้ได้ 2529 สตีน วิลลาสเซน ได้ทดลองโคลนนิ่งแกะ 2536 เอ็ม ซิมส์ และเอ็น เฟิร์สต์ ได้ถ่ายนิวเคลียสจากเซลล์ที่มีการปลูกตัวอ่อนลงไปซึ่งได้ผลเป็นลูกวัว 2540 เอียน วิลมุต (Ian Wilmut) สร้างแกะโคลนขึ้นมาได้สําเร็จเป็นจํานวน 9 ตัวโคลนนิ่งเหมือนกัน แต่มีอยู่ตัวหนึ่ง คือ ดอลลี่(Dolly) ที่โด่งดังไปทั่วโลก
  • 15. เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 14 ปี พ.ศ. ผู้ค้นคว้าวิจัย การค้นคว้า 2541 นักวิทยาศาสตร์ของ บริษัท Advance cell technology ได้โคลนนิ่งมนุษย์ออกมาเป็นเอ็มบริโอ (ผ่านระยะปฏิสนธิจนเริ่ม เกาะผนังมดลูกเป็นตัวอ่อนซึ่งถ้าหากมีอายุถึง 2 เดือนก็จะเรียกว่า ทารก)ตัวแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน แต่เมื่อเป็นตัวได้ 2 วัน หรือ ก่อนที่จะครบ 14 วัน พวกเขาก็ทําการเผาตัวอ่อนมนุษย์ที่ได้จากการ โคลนนิ่งเหล่านี้ทิ้งไปทุกครั้ง เพื่อเป็นการปฏิบัติตามข้อกําหนดบังคับ การ วิจัยเรื่องโคลนนิ่งมนุษย์ของสหรัฐที่ระบุว่าให้เผาทําลายก่อนที่ ตัวอ่อนจะมีอายุถึง 14 วัน พวกเขาก็จัดการเผาตัวอ่อนมนุษย์โคลน นิ่งทุกครั้ง ตามกฎข้อบังคับการวิจัย 1 วิโรจน์ ไววานิชกิจ , พ.บ., อาจารย์, ภาควิชาเวชศาสตร์ชันสูตร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,มกราคม 2544. ที่มา http://medinfo.psu.ac.th/smj2/191/1919.html การโคลนพืช 1. การตัด ปักชํา ส่วนที่ตัดเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ จากพืช เช่น กิ่ง ใบ ราก เมื่อนําไปปักชํา จะสามารถ เจริญเติบโตเป็นพืชใหม่ได้ และมีองค์ประกอบทางพันธุกรรมเหมือนต้นเดิมทุกประการ ตัวอย่างส่วน ของพืชที่ใช้ในการตัด ปักชํา ได้แก่ 1. กิ่ง เช่น พู่ระหง ฤาษีผสม ชบา พลูด่าง โกสน มะลิ ภาพวิธีการโคลนพืชด้วยกิ่ง ภาพจาก https://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=36904
  • 16. เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 15 2. ราก เช่น กระชาย มันสําปะหลัง แครอท หัวผักกาด ภาพวิธีการโคลนพืชด้วยราก ภาพจาก http://www.sawongvit.com/elearning/math/mongkon/content1/content1.htm 3. ใบ เช่น โคมญี่ปุ่น ต้นตายใบเป็น กุหลาบหิน เศรษฐีพันล้าน ภาพวิธีการโคลนพืชด้วยใบ ภาพจาก http://www.bansuanporpeang.com 2. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยการใช้เซลล์ อวัยวะ เนื้อเยื่อ และโพรโทพลาสต์ของพืชมาเลี้ยงใน สารอาหารและจัดให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสมส่วน ต่าง ๆ เหล่านั้นจะเจริญเป็นพืชใหม่ที่มีลักษณะตรง ตามพันธุ์เดิมทุกประการ เช่น การขยายพันธุ์กล้วยไม้ ข้าว ปาล์มน้ํามัน ยาสูบ
  • 17. เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 16 การโคลนนิ่งสัตว์ การพัฒนาวิทยาการทางด้านโคลนนิ่งเซลล์สัตว์นั้นได้เริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2423 หรือ 120 ปี ที่ ผ่านมา การทดลองค้นคว้าวิจัยได้ เกิดขึ้นมาเป็นลําดับ อาจจะมีทิ้งช่วงบ้างไปตามกาลเวลา แต่ความ พยายามคิดค้นก็มิได้หยุดนิ่ง จุดเริ่มต้นการทําโคลนนิ่ง สัตว์เกิดขึ้นเมื่อต้นทศวรรษที่ 50 โดยนักชีววิทยา อเมริกันสองคน คือ โรเบิร์ต บริกกส์ (Robert W. Briggs) และ โทมัส คิง (Thomas J. King) แห่ง สถาบันการวิจัยมะเร็งในฟิลาเดเฟีย ทั้งสองได้ร่วมทําการทดลองโคลนนิ่งสัตว์ โดยเริ่มต้นกับกบและได้ ริเริ่มการทํา โคลนนิ่งด้วยวิธีการถ่ายโอนนิวเคลียส (nuclear transfer) โดยอาศัย เทคนิคที่พัฒนาโดย Sperman ซึ่งกลายเป็นวิธีการทําโคลนนิ่งที่ ใช้กันทั่วไป เมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 การโคลนนิ่งสัตว์ครั้ง แรกๆ ได้ประสบความสําเร็จคือ การโคลนนิ่งแกะ Dolly ซึ่งเป็นสัตว์ใหญ่ โคลนนิ่งตัวแรกของโลก ความสําเร็จนี้ได้จุดประกายในการที่จะค้นพบเรื่องการเพาะเซลล์ ภาพที่ โครงสร้าง DNA ภาพที่ แกะ “ดอลลี่” ที่เกิดจากการโคลนนิ่งตัวแรกของโลก ที่มา www.futura-sciences.com/img/dolly.jpg ที่มา http://architecture.mit.edu/~carlo/genetic%20code%20spiral.gif วิธีโคลนนิ่งทางวิทยาศาสตร์สามารถทําได้ 2 วิธี คือ 1. การแยกเซลล์หรือตัดแบ่งตัวอ่อนในระยะก่อนการฝังตัว (blastomeric separation or embryo bisection) 1.1 การแยกเซลล์ (blastomere separation) หลังปฏิสนธิตัวอ่อนระยะ 1 เซลล์จะมีการ แบ่งตัวเป็นทวีคูณ จากหนึ่งเป็นสอง สองเป็นสี่ สี่เป็นแปด เรื่อยๆไป หากต้องการทําแฝดเราสามารถทํา โดยการแยกเซลล์เดี่ยวๆ ออกมา เช่น หากเป็น 2 เซลล์ ก็นํามาแยกเป็น 1:1 หรือหากเป็น 4 ก็แยกเป็น 4 ส่วน 1:1:1:1 เป็นต้น อย่างไรก็ตามพบว่าการเจริญเป็นตัวอ่อนปกติหรือตัวเต็มวัยตัวอ่อนหลังแบ่งต้อง ประกอบด้วยเซลล์จํานวนหนึ่งที่เพียงพอ หากแบ่งแล้วไม่พอเพียงก็ไม่สามารถเจริญเป็นตัวอ่อนที่ปกติ หรือตัวเต็มวัยได้จึงเป็น ข้อจํากัดที่สําคัญอย่างหนึ่ง
  • 18. เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 17 1.2 การตัดแบ่งตัวอ่อน ( embryo bisection ) ตัวอ่อน ระยะมอรูล่า หรือ ระยะบลาสโตซีส สามารถแบ่งเป็น 2 ส่วนเท่าๆ กัน โดยใช้ใบมีดขนาดเล็ก (microblade) ติดกับเครื่องมือพิเศษที่เรียกว่า “micromanipulator” ข้อแตกต่างของการตัดแบ่งระยะ มอรูล่าและระยะบลาสโตซีส คือ แนวการ แบ่ง หากเป็นตัวอ่อนระยะมอรูล่าสามารถแบ่งในแนวใดก็ได้ให้สมดุลย์ (symmetry) แต่หากเป็น ตัวอ่อนระยะบลาสโตซีสต้องตัดแบ่งในแนวที่ผ่านเซลล์ภายในที่เรียกว่า อินเนอร์เซลล์แมส (inner cell mass, ICM) ทั้งนี้เพราะ ตัวอ่อนระยะนี้เซลล์ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว (differentiation) แม้ว่าการโคลนสัตว์แบบการแยกเซลล์หรือการตัดแบ่งตัวอ่อน นี้มีข้อดีคือสามารถทํา ได้เร็ว ไม่ต้องมีขั้นตอนมากมาย แต่ก็มีข้อจํากัดคือไม่สามารถแบ่งตัวอ่อนได้มากตามจํานวนเซลล์ 2. การย้ายฝากนิวเคลียส (nuclear transfer or nuclear transplantation) การย้ายฝากนิวเคลียส เป็นวิธีการที่ค่อนข้างจะซับซ้อน โดยมีรายละเอียดขั้นตอนโดยย่อคือ 2.1 เตรียมโอโอไซต์ตัวรับ (oocyte recipient preparation) 2.2 เตรียมนิวเคลียสจากตัวอ่อน ต้นแบบ (nuclear donor preparation) 2.3 ดูดเอานิวเคลียสตัวอ่อนให้ใส่ไปยัง ไซโตพลาสซึมของโอโอไซต์ (nuclear transfer) 2.4 เชื่อม นิวเคลียสให้ติดกับไซโตพลาสซึมของโอโอไซต์ (oocyte-nuclear fusion) 2.5 การเลี้ยงนําตัวอ่อน (embryo culture) 2.6 การย้ายฝากตัวอ่อน (embryo transfer) ภาพจาก http://takanoex.exteen.com/20080928/entry-1
  • 19. เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 18 ประโยชน์ของการโคลนนิ่ง 1. มีประโยชน์ในการอนุรักษ์พันธุ์พืชหรือสัตว์ที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ ให้แพร่ขยายจํานวน ขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว่าการผสมพันธุ์กันตามธรรมชาติ 2. สามารถช่วยลดจํานวนสัตว์ที่ใช้ในการทดลองให้น้อยลง เนื่องจากสัตว์มีลักษณะทาง พันธุกรรม เหมือนกันทําให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการทดลองในทางการแพทย์ 3. เป็นการผลิตสัตว์ที่เปลี่ยนแปลงพันธุกรรมเพื่อใช้เป็นรูปแบบการทดลองเพื่อรักษาโรคของ มนุษย์ การผลิตเภสัชภัณฑ์และสารต่างๆ 4. ช่วยให้คู่สมรสที่ไม่มีโอกาสให้กําเนิดบุตรด้วยวิธีอื่น อาจมีโอกาสมากขึ้นในการให้กําเนิด บุตร 5. เป็นแนวทางในการพัฒนาการปลูกถ่ายเปลี่ยนอวัยวะ ร่างกายยอมรับอวัยวะใหม่สามารถ ลดความเสี่ยงต่อการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน ข้อเสียของการโคลนนิ่ง 1. การทําโคลนนิ่งทําให้เกิดการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีในการทําต้นแบบในทางกลับกัน อาจจะทําให้เกิดสายพันธุ์ที่ไม่ดีเกิดขึ้นได้ 2. การที่ได้สิ่งมีชีวิตที่มีความเหมือนกันทําให้เกิดการสูญเสียความมีเอกลักษณ์และความ หลากหลายอันเป็นสิ่งที่ถือว่าเป็นต้นกําเนิดของวิวัฒนาการ ถ้าสิ่งมีชีวิตมีสิ่งที่ดี เหมือนกันหมดก็จะไม่มีการพัฒนาสายพันธุ์ที่ดีขึ้น 3. มีความพยายามที่จะผลิตเนื้อเยื่อมนุษย์ เพื่อใช้ในการรักษาโรคต่าง ๆ มีความพยายาม ที่จะโคลนนิ่งมนุษย์ทั้งคน แต่อย่างไรก็ตามการกระทําดังกล่าวยังไม่เป็นที่ยอมรับ จัด ว่าเป็นปัญหาทางด้านจริยธรรม ประวัติการโคลนนิ่งในประเทศไทย ในประเทศไทยการพัฒนาของพันธุ์สัตว์เรื่องการผสมเทียม การย้ายฝากตัวอ่อน การผลิตตัว อ่อนในหลอดแก้วสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นพื้นฐานของการโคลนนิ่ง โครงการวิจัยมีความคิดที่จะโคลนนิ่ง สัตว์เศรษฐกิจ แต่ปัญหาและอุปสรรคของเราคือ นักวิชาการและ นักวิจัยซึ่งมีประสบการณ์ทางด้านนี้มี น้อยกว่าต่างประเทศมาก ทําให้การวิจัยและพัฒนาทําได้ช้า แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยก็ สามารถทําโคลนนิ่งได้สําเร็จโดย ศาสตราจารย์มณีวรรณ กมล- พัฒนะ ผู้อํานวยการโครงการ ใช้นิวเคลียร์เทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมกิจการผสมเทียม โคนม และกระบือ ปลัก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ได้เป็นคนแรกที่นําการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ มาผสมเทียมในกระบือและพัฒนาต่อเนื่องมากว่า 20 ปีจนประสบความสําเร็จในการ โคลนนิ่งลูกโคตัว
  • 20. เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 19 แรกของประเทศไทย ชื่อว่า “อิง” ซึ่งถือเป็นลูกโคโคลนนิ่งตัวแรกของประเทศไทยและเอเชียอาคเนย์ รายที่ 3 ของเอเชีย และรายที่ 6 ของโลก โดยทําโคลนนิ่งต่อจาก ญี่ปุ่น อเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมัน และ เกาหลี ศาสตราจารย์มณีวรรณ กมลพัฒนะ ได้นําเซลล์ใบหูของ โคแบรงกัสเพศเมียมาเป็นเซลล์ต้นแบบ โคลนนิ่งและนําตัวอ่อน ฝากไว้กับแม่โคออยในฟาร์มของ จ่าสิบโทสมศักดิ์ วิชัยกุล ที่จังหวัดราชบุรี ได้ “อิง” ลูกโคสีดํา ซึ่งเป็นลูกโคโคลนนิ่งตัวแรก ของประเทศไทย เกิดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2543 ศ.มณีวรรณ กมลพัฒนะ หัวหน้าโครงการฯ และทีมงานวิจัย กับลูกโคโคลนนิงตัวแรกของไทย ถ่ายเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2543 อิง หนัก 37.7 ก.ก. อัน หนัก 35.2 ก.ก. ภาพจาก http://www.vet.chula.ac.th/~nuclear/ETremember.htm
  • 21. เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 20 บทที่ 3 การสร้างและดัดแปลงสิ่งมีชีวิตทางพันธุวิศวกรรม พันธุวิศวกรรม หมายถึง กระบวนการตัดต่อยีนโดยวิธีการตัดเอายีนของสิ่งที่มีชีวิตหนึ่งใส่เข้าไป ในยีนของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ทําให้ได้สิ่งมีชีวิตใหม่ที่มีคุณลักษณะตามต้องการสิ่งมีชีวิตดังกล่าวเรียกว่า สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมหรือจีเอ็มโอนั่นเอง จีเอ็มโอหรือ GMOs ย่อมาจากคําว่า Genetically Modified Organisms Genetic เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมหรือกรรมพันธุ์ Modify คือการดัดแปลง ตบแต่งเสียใหม่ Organism คือสิ่งที่มีชีวิต GMOs จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการตบแต่งหรือดัดแปลงสารพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพืช หรือสัตว์ สารพันธุกรรม เป็นองค์ประกอบหนึ่งหรือส่วนหนึ่งของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย มีหน้าที่ที่จะกําหนด คุณลักษณะของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ หรือจะกล่าวว่าเป็นตัวควบคุมกรรมพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตก็ได้ ตัวอย่างเช่น - กรณีที่เป็นคน บางคนมีสารพันธุกรรมทําให้ผมหยิก หรือผมสีดํา หรือผมสีทอง - กรณีที่เป็นสัตว์ เช่น หมาหลังอานก็จะมีสารพันธุกรรมที่ทําให้เขาเป็นพันธุ์หลังอาน หรือหมาบางแก้ว ที่มีสารพันธุกรรมที่ทําให้เป็นหมาที่ดุเป็นพิเศษ - กรณีที่เป็นพืช เช่น มะม่วงบางพันธุ์ที่เปรี้ยวมาก บางพันธุ์ค่อนข้างหวาน ซึ่งมะม่วงทั้งสองประเภทก็ จะมีสารพันธุกรรมเกี่ยวกับความเปรี้ยว-หวาน ที่แตกต่างกัน ในธรรมชาติ สิ่งมีชีวิต เช่น พืช ก็จะมีการผสมพันธุ์กันเองตามธรรมชาติ เกสรตัวผู้ถูกลมหรือ แมลงพาไปผสมกับเกสรตัวเมียเกิดเป็นดอกเป็นผล เกิดลูกเกิดหลานตามมา มีการคัดเลือกพันธุ์โดย ธรรมชาติ พันธุ์ไหนอ่อนแอต่อโรค-แมลง หรือสภาพดินฟ้าอากาศก็มักจะตายหรือสูญหายไป พันธุ์ที่ แข็งแรงก็จะยังคงออกลูกออกหลานต่อไป ส่วนพันธุ์ไหนที่มีคุณสมบัติดีตามที่มนุษย์ต้องการก็มีการ นําเอาไปขยายพันธุ์ต่อให้แพร่หลาย นักปรับปรุงพันธุ์พืชก็นําเอาปรากฏการณ์ดังกล่าว ผนวกกับวิชาการที่พัฒนาขึ้นมาอย่าง ต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องพันธุกรรม ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวกับการควบคุมคุณลักษณะต่าง ๆ ของ พันธุ์พืชเอาพันธุ์พืชที่มีคุณภาพดีตามที่ต้องการอยู่แล้ว เช่น ผลผลิตดี รสชาติดี แต่อ่อนแอต่อความแห้ง แล้งไปผสมพันธุ์กับพันธุ์ที่ถึงจะมีผลผลิตต่ํา รสชาติไม่ดี แต่มีความทนทานต่อความแห้งแล้ง โดยหวังเอา พันธุกรรมที่ทนทานต่อความแห้งแล้งมาใช้ประโยชน์ ทั้งนี้เพื่อที่จะให้ได้พันธุ์ที่มีผลผลิตสูง รสชาติดีและ ทนทานต่อสภาพความแห้งแล้งนั่นเอง แต่การดําเนินการอย่างนี้ต้องอดทน ต้องใช้ความพยายาม ต้องใช้ เวลา เพราะกว่าที่จะได้พันธุ์ที่ต้องการ ต้องให้สารพันธุกรรมที่มีอิทธิพลต่อผลผลิต รสชาติ และความ ทนทานความแห้งแล้งมาผสมกันเมื่อวิทยาศาสตร์ด้านชีวภาพมีความก้าวหน้ามากขึ้น นักปรับปรุงพันธุ์
  • 22. เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 21 ส่วนหนึ่งจึงใช้วิธีลัด โดยสืบหาและนําเอาสารพันธุกรรมที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการไปตบแต่ง หรือต่อ เติมในสิ่งมีชีวิต เช่น ในพืชที่มีคุณสมบัติอื่นดีอยู่แล้ว เพื่อให้ได้คุณสมบัติที่พืชเดิมยังมีไม่เพียงพอ โดยใช้ วิธีที่มีชื่อเรียกว่า “พันธุวิศวกรรมหรือ Genetic Engineering”พืชที่ได้จากการตัดแต่งพันธุกรรมจึง เรียกว่า “พืชดัดแปลงพันธุกรรม หรือ GM Plant แต่ในภายหลังอาจเรียก Biotech Plant” เช่น ฝ้ายที่ สามารถป้องกันหนอนเจาะสมอฝ้าย หรือข้าวโพดที่สามารถป้องกันหนอนศัตรูข้าวโพดได้ เนื่องจากมีนักวิทยาศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่งที่มีความกังวลว่า ในการดัดแปลงพันธุกรรมในพืช ที่บาง กรณีได้นําเอาสารพันธุกรรมของแบคทีเรีย (Bacteria) หรือเชื้อไวรัส (Virus) บางชนิดเข้าไปเป็นสาร พันธุกรรมในการตัดแต่งนั้นอาจมีผลกระทบต่อความปลอดภัยในการบริโภค หรืออาจมีผลต่อ สิ่งแวดล้อม เช่น มีผลต่อแมลงชนิดอื่นในธรรมชาติ หรือมีผลต่อจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ในธรรมชาติ ใน ที่สุดจึงกลายเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่ต้องมีระบบทางวิทยาศาสตร์ที่คอยกํากับดูแลว่าจะมีผลกระทบกับ สิ่งแวดล้อมและกับความปลอดภัยในการบริโภคของมนุษย์เพียงใด โดยมีหลักการที่สําคัญคือ พืช ดัดแปลงพันธุกรรมทุกชนิด จะต้องถูกกํากับดูแลผลกระทบดังกล่าว ในทุกขั้นตอนของการวิจัยและ พัฒนาพืชดัดแปลงพันธุกรรม ทั้งในห้องปฏิบัติการและในการทดสอบในไร่นา รวมถึงเมื่อจะนําไปใช้ ประโยชน์หรือปลูกเป็นเชิงการค้า วิธีการถ่ายทอดยีนให้เข้าไปอยู่ในโครโมโซมภายในเซลล์ใหม่นั้นทําได้หลายวิธี วิธีการหลักที่ใช้กันอยู่ใน ปัจจุบันคือการใช้จุลินทรีย์ที่เรียกว่า agrobacterium เป็นพาหะช่วยพายีนเข้าไป (คล้ายกับการใช้รถลําเลียง สัมภาระเข้าไปไว้ยังที่ที่ต้องการ) อีกวิธีหนึ่งคือการใช้ปืนยีน (gene gun) ยิงยีนที่เกาะอยู่บนผิวของอนุภาคของ
  • 23. เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 22 ทอง ให้เข้าไปในโครโมโซมเซลล์พืช เมื่อยีนนั้นเข้าไปในเซลล์พืชแล้ว ไม่ว่าจะโดยวิธีการดังกล่าวข้างต้นวิธีใดก็ ตาม ยีนที่เข้าไปใหม่จะแทรกตัวรวมอยู่กับโครโมโซมของพืช จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของโครโมโซมพืช ภาพจาก http://www2.udru.ac.th/~sci102/Data/Unit5/Unit5-2.html การผลิตเนยแข็งโดยผ่านกรรมวิธีการตัดต่อยีน ภาพจากhttp://www2.udru.ac.th/~sci102/Data/Unit5/Unit5-2.html โดยสรุป พืชจีเอ็มโอหรือพืชดัดแปลงพันธุกรรม คือพืชที่นักปรับปรุงพันธุ์พืชใช้ประโยชน์จาก ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ที่เรียกว่าพันธุวิศวกรรมมาช่วยในการปรับปรุงพันธุ์พืชให้มีคุณสมบัติ ตามที่ต้องการ โดยนําสารพันธุกรรม (Gene) ที่กํากับหรือทําให้เกิดคุณสมบัติที่ต้องการ ไปต่อเติมใน ระบบพันธุกรรมของพืชนั้น ๆ โดยที่กระบวนการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์พืชตลอดจนการจะนําไปใช้ ประโยชน์ในไร่นาต้องถูกกํากับหรือดําเนินการไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความเสี่ยงที่เป็น ระบบทางวิทยาศาสตร์ เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดกับสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยต่อการบริโภค ของมนุษย์ ข้อดีและข้อเสียของ GMOs ข้อดีของ GMOs GMOs คือผลผลิตจากความก้าวหน้าของวิทยาการทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพและชีววิทยา ระดับโมเลกุล (molecular biology) โดยเฉพาะพันธุวิศวกรรมศาสตร์ ที่ได้พัฒนาอย่างรวดเร็วจนถึง ระดับสูงมาก สิ่งที่เป็นแรงผลักดันให้นักวิทยาศาสตร์และสถาบันวิจัยทั่วโลก ทุ่มเทพลังความคิดและทุน วิจัยจํานวนมหาศาลเพื่อศาสตร์นี้ คือ ความมุ่งหมายที่จะพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรโลก
  • 24. เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 23 ทั้งทางด้านโภชนาการ การแพทย์ และสาธารณสุข ความสําเร็จ แห่งการพัฒนาศาสตร์ดังกล่าว มี รูปธรรมคือการยกระดับคุณภาพอาหาร ยา และเทคโนโลยีทางการแพทย์ ดังที่เราได้รับผลประโยชน์อยู่ ทุกวันนี้ และในภาวะที่จํานวนประชากรโลกเพิ่ม มากขึ้นทุกวัน ในขณะที่พื้นที่การผลิตลดลง พันธุ วิศวกรรมเป็นเทคโนโลยีที่ดีที่สุดอันหนึ่ง ที่จะช่วยแก้ปัญหา การขาดแคลนอาหารและยาที่อาจจะ เกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ เนื่องจากประสิทธิภาพของพันธุวิศวกรรมเป็นที่ยอมรับว่า สามารถช่วยเพิ่มอัตราผลผลิตต่อ พื้นที่สูงขึ้นมากกว่าการผลิตในรูปแบบดั้ง เดิม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การเกษตรในสหรัฐอเมริกา และ ด้วยการที่พันธุวิศวกรรม สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตได้ดังกล่าว จึงมีการกล่าวกันว่า พันธุวิศวกรรม คือการปฏิวัติครั้งใหญ่ในด้านการเกษตร และการแพทย์ ที่เรียกว่า Genomic revolution GMOs ที่ได้รับการพัฒนาจนเสร็จสมบูรณ์แล้ว และกําลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา ได้นํามาใช้ ให้เกิดประโยชน์ ในหลายด้าน ได้แก่ ประโยชน์ต่อเกษตรกร - ทําให้เกิดพืชสายพันธุ์ใหม่ที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เช่น ทนต่อศัตรูพืช หรือมี ความสามารถในการ ป้องกันตนเองจากศัตรูพืช เช่น เชื้อไวรัส เชื้อรา แบคทีเรีย แมลงศัตรูพืช หรือแม้แต่ยาฆ่าแมลง และยาปราบวัชพืช หรือในบางกรณีอาจเป็นพืชที่ทนแล้ง ทนดินเค็ม ดินเปรี้ยว คุณสมบัติ เช่นนี้เป็นประโยชน์ ต่อเกษตรกร เราเรียกลักษณะเช่นนี้ว่าเป็น agronomic traits - ทําให้เกิดพืชสายพันธุ์ใหม่ที่มีคุณสมบัติเหมาะแก่การเก็บรักษาเป็นเวลานาน ทําให้สามารถอยู่ ได้นานวัน และขนส่งได้เป็นระยะทางไกลโดยไม่เน่าเสีย เช่น มะเขือเทศที่สุกช้า หรือแม้จะสุก แต่ก็ไม่งอม เนื้อยังแข็ง และกรอบ ไม่งอมหรือเละเมื่อไปถึงมือผู้บริโภค ลักษณะนี้ก็ถือว่าเป็น agronomic traits เช่นเดียวกัน เพราะให้ประโยชน์แก่เกษตรกรและผู้จําหน่าย สินค้า GMOs ส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ประโยชน์ต่อผู้บริโภค - ทําให้เกิดธัญพืช ผัก หรือผลไม้ที่มีคุณสมบัติเพิ่มขึ้นในทางโภชนาการ เช่น ส้มหรือมะนาวที่มี วิตามินซีเพิ่ม มากขึ้น หรือผลไม้ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม ให้ผลมากกว่าเดิม ลักษณะเหล่านี้ เป็นการเพิ่มคุณค่าเชิงคุณภาพ (quality traits) - ทําให้เกิดพันธุ์พืชใหม่ๆ ที่มีคุณค่าในเชิงพาณิชย์ เช่น ดอกไม้หรือพืชจําพวกไม้ประดับสายพันธุ์ ใหม่ที่มี รูปร่างแปลกกว่าเดิม ขนาดใหญ่กว่าเดิม สีสันแปลกไปจากเดิม หรือมีความคงทน กว่าเดิม ซึ่งถือว่าเป็น quality traits เช่นกัน
  • 25. เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 24 - GMOs ที่มีลักษณะที่กล่าวมานี้ในบางประเทศเช่น สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นเริ่มมีจําหน่าย เป็น สินค้าแล้ว และคาดว่าจะมีความแพร่หลายมากขึ้นในช่วงหลายปีต่อจากนี้ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ อาจเรียกได้ว่าเป็นการลัดขั้นตอนของการผสมพันธุ์พืช ซึ่งในหลายกรณีหากช่วงชีวิตของพืชยาว ทําให้ต้องกิน เวลานานกว่าจะได้ผลเนื่องจากต้องมีการคัดเลือกหลายครั้ง การทํา GMOs ทําให้ ขั้นตอนนี้เร็วและแม่นยํายิ่งขึ้น กว่าเดิมมาก ประโยชน์ต่ออุตสาหกรรม - คุณสมบัติของพืชที่ทําให้ลดการใช้สารเคมี และช่วยให้ได้พืชผลมากขึ้นกว่าเดิมมีผลทําให้ต้นทุน การผลิตต่ําลง วัตถุดิบที่มาจากภาคเกษตร เช่น กากถั่วเหลือง อาหารสัตว์จึงมีราคาถูกลง ทํา ให้เพิ่มอํานาจในการแข่งขัน - นอกจากพืชแล้ว ยังมี GMOs หลายชนิดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น เอ็นไซม์ที่ใช้ ในการผลิตน้ําผักและน้ําผลไม้ หรือเอ็นไซม์ ไคโมซิน ที่ใช้ในการผลิตเนยแข็งแทบ ทั้งหมดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ ได้จาก GMOs และมีมาเป็นเวลานานแล้ว - การผลิตวัคซีน หรือยาชนิดอื่นๆ ในอุตสาหกรรมยาปัจจุบันนี้ล้วนแล้วแต่ใช้ GMOs แทบทั้งสิ้น อีกไม่นานนี้ เราอาจมีน้ํานมวัวที่มีส่วนประกอบของยาหรือฮอร์โมนที่จําเป็นต่อมนุษย์ ซึ่งผลิต จาก GMOs ลักษณะที่กล่าวถึง ตั้งแต่ข้อ 6-8 ล้วนมีส่วนทําให้ลดต้นทุนการผลิตและเวลาที่ต้อง ใช้ลงทั้งสิ้น ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม - ประโยชน์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมคือ เมื่อพืชมีคุณสมบัติสามารถป้องกันศัตรูพืชได้เอง อัตราการใช้ สารเคมีเพื่อ ปราบศัตรูพืชก็จะลดน้อยลงจนถึงไม่ต้องใช้เลย ทําให้มีลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม ที่เกิดขึ้น จากการใช้สารเคมี ปราบศัตรูพืช และลดอันตรายต่อเกษตรกรเองที่เกิดขึ้นจากพิษ ของการฉีดสารเหล่านั้นในปริมาณ มาก (ยกเว้น บางกรณีเช่น พืชที่ต้านทานยาปราบวัชพืชที่ อาจมีโอกาสทําให้เกิดแนวโน้มในการใช้สารปราบ วัชพืชของบาง บริษัทมากขึ้น ซึ่งขณะนี้ยัง เป็นที่ถกเถียงกันอยู่) - หากยอมรับว่าการปรับปรุงพันธุ์ และการคัดเลือกพันธุ์พืชเป็นการเพิ่มความหลากหลายของ สายพันธุ์ให้มากขึ้น แล้ว การพัฒนา GMOs ก็ย่อมมีผลทําให้เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ขึ้นเช่นกัน เนื่องจากยีนที่มีคุณสมบัติ เด่นได้รับการคัดเลือกให้มีโอกาสแสดงออกได้ในสิ่งมีชีวิต หลากหลายสายพันธุ์ มากขึ้น
  • 26. เ ท ค โ น โ ล ยี ชี ว ภ า พ | 25 ข้อเสียของ GMOs เทคโนโลยี ทุกชนิดเมื่อมีข้อดีก็ย่อมมีข้อเสีย ในกรณีของ GMOs นั้นข้อเสียคือ มีความเสี่ยงและ ความซับซ้อนใน การบริหารจัดการเพื่อให้มีความปลอดภัยเพื่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าโทษ แม้ว่า ในขณะนี้ยังไม่มีรายงานว่ามี ผู้ใดได้รับอันตรายจากการบริโภคอาหาร GMOs แต่ความกังวลต่อความ เสี่ยงของการใช้ GMOs เป็นสิ่งที่ หลีกเลี่ยงได้ยาก เช่น กรณีตัวอย่างดังต่อไปนี้ ความเสี่ยงต่อผู้บริโภค - สารอาหารจาก GMOs อาจมีสิ่งปนเปื้อนที่เป็นอันตราย เช่น เคยมีข่าวว่า กรดอะมิโน L-Tryptophan ของบริษัท Showa Denko ทําให้ผู้บริโภคในสหรัฐเกิดอาการป่วยและล้มตาย อย่างไรก็ตาม กรณีที่เกิดขึ้นนี้แท้จริงแล้วเป็น ผลมาจากความบกพร่องในขั้นตอนการควบคุม คุณภาพ (quality control) ทําให้มีสิ่งปนเปื้อนหลงเหลืออยู่หลังจากกระบวนการทําให้บริสุทธิ์ มิใช่ตัว GMOs ที่เป็นอันตราย - ความกังวลในเรื่องของการเป็นพาหะของสารพิษ เช่น ความกังวลที่ว่า DNA จากไวรัสที่ใช้ใน การทํา GMOs อาจเป็นอันตราย เช่น การทดลองของ Dr.Pusztai ที่ทดลองให้หนูกินมันฝรั่ง ดิบที่มี lectin และพบว่าหนูมีภูมิคุ้ม กันลดลง และมีอาการบวมผิดปกติของลําไส้ ซึ่งงานชิ้นนี้ ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างสูง โดยนักวิทยาศาสตร์ ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าการออกแบบการ ทดลองและวิธีการทดลองบกพร่อง ไม่ได้มาตรฐานตามหลักการวิทยา ศาสตร์ ในขณะนี้เชื่อว่า กําลังมีความพยายามที่จะดําเนินการทดลองที่รัดกุมมากขึ้น เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ มากขึ้น และจะสามารถสรุปได้ว่าผลที่ปรากฏมาจากการตบแต่งทางพันธุกรรมหรืออาจเป็น เพราะ เหตุผลอื่น - สารอาหารจาก GMOs อาจมีคุณค่าทางโภชนาการไม่เท่าอาหารปกติในธรรมชาติ เช่น รายงาน ที่ว่าถั่วเหลืองที่ ตัดแต่งพันธุกรรมมี isoflavone มากกว่าถั่วเหลืองธรรมดาเล็กน้อย ซึ่งสาร ชนิดนี้เป็นกลุ่มของสารที่เป็น phytoestrogen (ฮอร์โมนพืช) ทําให้มีความกังวลว่า การเพิ่มขึ้น ของฮอร์โมน estrogen อาจทําให้เป็นอันตรายต่อ ผู้บริโภคหรือไม่ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กทารก จึงจําเป็นต้องมีการศึกษาผลกระทบของการเพิ่มปริมาณของสาร isoflavine ต่อกลุ่มผู้บริโภค ด้วย - ความกังวลต่อการเกิดสารภูมิแพ้ (allergen) ซึ่งอาจได้มาจากแหล่งเดิมของยีนที่นํามาใช้ทํา GMOs นั้น ตัวอย่าง ที่เคยมีเช่น การใช้ยีนจากถั่ว Brazil nut มาทํา GMOs เพื่อเพิ่มคุณค่า โปรตีนในถั่วเหลืองสําหรับเป็นอาหารสัตว์ จากการศึกษาที่มีขึ้นก่อนที่จะมีการผลิต