SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 22
Downloaden Sie, um offline zu lesen
แผนธุรกิจ (คู่มือการจัดทาแผนธุรกิจ)
Date: 25 / 12 / 2001
แผนธุรกิจ (Business Plan) เป็นเครื่องมือที่มี
ความสาคัญยิ่งสาหรับผู้ประกอบการที่ริเริ่มจะก่อตั้ง
กิจการ แผนนี้เป็นผลสรุปหรือผลรวมแห่ง
กระบวนการคิดพิจารณา และการตัดสินใจที่จะ
เปลี่ยนความคิดของผู้ประกอบการออกมาเป็นโอกาส
ทางธุรกิจ มีผู้เปรียบเทียบว่าแผนธุรกิจเปรียบเหมือนแผนที่ในการเดินทาง ที่จะชี้แนะขั้นตอนต่างๆ
ทีละขั้นตอนในกระบวนการก่อตั้งกิจการ แผนจะให้รายละเอียดต่างๆ ทั้งเรื่องของการตลาด การ
แข่งขันกลยุทธ์ในการดาเนินธุรกิจ การคาดคะเนทางการเงิน ที่จะชี้นาผู้ประกอบการไปสู่ความสาเร็จ
หรือชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนและข้อควรระวังด้วยเช่นกัน
ถ้าเปรียบว่าแผนที่ที่ดีย่อมจะให้รายละเอียดถนนหนทาง และทิศทางที่ชัดเจนแล้ว แผนธุรกิจก็ไม่
ต่างกันในการที่จะให้รายละเอียดอย่างเพียงพอที่จะทาให้ผู้ร่วมลงทุนตัดสินใจได้ว่า ธุรกิจนั้นควรจะ
ร่วมลงทุนด้วยหรือไม่ จากแผนธุรกิจจะทาให้ผู้ร่วมลงทุนเข้าใจวัตถุประสงค์ของธุรกิจอย่างชัดเจน
เข้าใจแนวคิดและปรัชญาของธุรกิจ แผนปฏิบัติการ ปัญหาอุปสรรค และหนทางที่เตรียมการเพื่อ
ไปสู่ความสาเร็จ ถึงแม้ว่าผู้ประกอบการจะใช้เงินลงทุนของตัวเอง ไม่ต้องการผู้ร่วมลงทุนหรือเงินกู้
จากสถาบันการเงิน แผนธุรกิจก็ยังจาเป็นอยู่ดีเพื่อให้ผู้ประกอบการมีแผนที่ในการบอกทิศทางของ
การดาเนินกิจการในอนาคต
แผนธุรกิจสาคัญอย่างไร
สาหรับผู้ประกอบการแล้ว แผนธุรกิจเป็นเอกสารที่มีความสาคัญยิ่งกว่าเอกสารใดๆ ที่เคยมีการ
รวบรวมมา ความสาคัญเหล่านี้ ได้แก่
1. แผนธุรกิจสาคัญในฐานะที่จะให้รายละเอียดของการเริ่มต้นธุรกิจ แผนธุรกิจทาให้ผู้ประกอบการ
มีเป้าหมายที่ชัดเจน กาหนดแนวทางของความคิด และช่วยให้ผู้ประกอบการแน่วแน่ต่อการใช้
ทรัพยากรและกาลังความพยายามเพื่อไปสู่เป้าหมาย
2. แผนธุรกิจสาคัญในฐานะเป็นเครื่องมือที่จะแสวงหาเงินทุนจากผู้ร่วมลงทุน จากกองทุนร่วมลงทุน
และจากสถาบันการเงินต่างๆ
3. แผนธุรกิจสาคัญในฐานะที่เป็นเสมือนพิมพ์เขียวที่ให้รายละเอียดของกิจกรรมต่างๆ ทั้งกิจกรรม
ในการจัดหาเงินทุน กิจกรรมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กิจกรรมการตลาด และอื่นๆ ในการ
บริหารกิจการใหม่ แผนธุรกิจยังใช้เพื่อกาหนดการปฏิบัติงานที่ต่อเนื่องในอนาคตของกิจการอีก
ด้วย
แผนธุรกิจควรมีอะไรบ้าง
เนื่องจากแผนธุรกิจที่ดีย่อมช่วยในการวัดถึงความเป็นไปได้ของกิจการที่จะลงทุน แผนจึงควร
ประกอบด้วยการวิเคราะห์อย่างละเอียดในตัวแปรหรือปัจจัยดังต่อไปนี้
1. สินค้าหรือบริการที่จะขาย
2. กลุ่มลูกค้าที่คาดหวัง
3. จุดแข็งและจุดอ่อนของกิจการที่จะทา
4. นโยบายการตลาด เช่น นโยบายด้านราคา การส่งเสริมการตลาด การกระจายสินค้า
5. วิธีการหรือกระบวนการในการผลิต รวมถึงเครื่องจักร อุปกรณ์ที่ต้องใช้
6. ตัวเลขทางการเงิน นับตั้งแต่รายได้ที่คาดว่าจะได้ ค่าใช้จ่าย กาไร ขาดทุน จานวนเงินลงทุนที่
ต้องการ และกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้มาหรือใช้ไป
แผนธุรกิจที่ดี เมื่ออ่านแล้วควรจะต้องตอบคาถามเหล่านี้ได้
1. การก่อตั้งธุรกิจเป็นรูปร่างชัดเจนขนาดไหน เสร็จสมบูรณ์แล้วหรือยัง
2. ธุรกิจนี้น่าลงทุนไหม
3. ธุรกิจมีแนวโน้มหรือโอกาสที่จะประสบความสาเร็จตั้งแต่เมื่อแรกตั้งมากน้อยขนาดไหน
4. ธุรกิจนี้มีความได้เปรียบหรือความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวมากน้อยเพียงใด
5. สินค้าที่จะผลิตมีวิธีการผลิตที่มีประสิทธิภาพเพียงใด
6. สินค้าที่ผลิตสามารถวางตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด
7. วิธีการผลิตและการวางตลาดสินค้านั้น มีทางเลือกอื่นๆ ที่ประหยัดได้มากกว่าหรือไม่
8. หน้าที่ต่างๆ เช่น การผลิต การจาหน่าย การจัดการทางการเงิน การจัดการคน มีการ
จัดการที่ดีและเหมาะสมเพียงใด
9. จานวนและคุณภาพของพนักงานที่ต้องการมีเพียงพอหรือไม่
โดยสรุปแล้วแผนธุรกิจที่มีการรวบรวมและเขียนขึ้นอย่างดีนั้น ไม่เพียงแต่ให้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง
เท่านั้น ตัวแผนต้องสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ดี ที่จะส่งผ่านความคิด ผลการวิจัยและแผนที่จะ
นาเสนอให้กับผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าของเงิน ต้องเป็นพื้นฐานสาคัญของการบริหารและ
ดาเนินกิจการที่จะจัดตั้งขึ้น นอกจากนี้ ยังต้องเป็นเครื่องมือในการวัดผลความก้าวหน้าของกิจการ
รวมถึงการประเมินถึงความเปลี่ยนแปลงที่จาเป็น ดังนั้น นับได้ว่าการวางแผนธุรกิจเป็นเรื่องที่ต้อง
พิถีพิถัน ใช้เวลาใช้ความพยายาม เสียค่าใช้จ่าย แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับมา คือ ความแตกต่างระหว่าง
ความสาเร็จและความล้มเหลวของกิจการทีเดียว
องค์ประกอบของแผนธุรกิจ
แม้ว่าองค์ประกอบของแผนธุรกิจจะไม่ได้มีกาหนดไว้ตายตัว หากแต่องค์ประกอบหลัก ซึ่งนักลงทุน
พิจารณาว่าเป็นสิ่งสาคัญและต้องการรู้ จะประกอบด้วยสิ่งเหล่านี้ คือ
1. บทสรุปสาหรับผู้บริหาร
2. ประวัติโดยย่อของกิจการ
3. การวิเคราะห์สถานการณ์
4. วัตถุประสงค์และเป้าหมายทางธุรกิจ
5. แผนการตลาด
6. แผนการจัดการและแผนกาลังคน
7. แผนการผลิต/ปฏิบัติการ
8. แผนการเงิน
9. แผนการดาเนินงาน
10. แผนฉุกเฉิน
หมายเหตุ
คู่มือการจัดทาแผนธุรกิจ (Business Plan) ฉบับนี้ ย่อจากเอกสารประกอบการบรรยายใน
โครงการอบรมวิทยากร หลักสูตร "การวางแผนธุรกิจ" ซึ่งสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและ
ขนาดย่อมได้จัดทาขึ้น เพื่ออบรมคณาจารย์ในระดับอุดมศึกษา สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย และ
กระทรวงศึกษาธิการ ให้มีความรู้ในการจัดทาแผนธุรกิจ แล้วนาความรู้นั้นไปเผยแพร่ กระตุ้น
ชักชวนให้นิสิตนักศึกษาที่กาลังศึกษาอยู่ (กลุ่มเป้าหมายที่ 1) และเยาวชนผู้สาเร็จการศึกษาระดับ
อาชีวศึกษาหรือระดับปริญญาตรีขึ้นไป อายุไม่เกิน 30 ปี (กลุ่มเป้าหมายที่ 2) เข้าร่วมโครงการ
สร้างเสริมนักธุรกิจยุคใหม่ "เอื้ออาทร" เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาให้นิสิต
นักศึกษาและเยาวชน ในการทาแผนธุรกิจ
คู่มือการจัดทาแผนธุรกิจฉบับย่อนี้ จะแสดงให้เห็นความสาคัญของแผนธุรกิจ แนวทางการเขียนแผน
ธุรกิจ และองค์ประกอบที่สาคัญของแผนธุรกิจพอสังเขป ผู้ประกอบการที่ริเริ่มประกอบกิจการ หรือ
นิสิตนักศึกษา เยาวชนและบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในการดาเนินธุรกิจส่วนตัว สามารถนาไปศึกษา
เพื่อเป็นแนวทางในการทาแผนธุรกิจต่อไปได้
สาหรับ โครงการอบรมวิทยากร (Train-Of-Trainers) หลักสูตร "การวางแผนธุรกิจ"
(Business Plan) เป็นโครงการที่ได้จัดทาขึ้นเพื่อสนับสนุนโครงการสร้างเสริมนักธุรกิจยุคใหม่
"เอื้ออาทร" เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่กระทรวงอุตสาหกรรม ทบวงมหาวิทยาลัย
กระทรวงศึกษาธิการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาด
กลางและขนาดย่อม (สถาบันพัฒนา SMEs) ได้ร่วมกันจัดตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออบรม
คณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาที่สังกัดทบวงมหาวิทยาลัยและกระทรวงศึกษาธิการ ให้มีความรู้ใน
การจัดทาแผนธุรกิจ แล้วนาความรู้นั้นไปเผยแพร่ กระตุ้น ชักชวนให้นิสิตนักศึกษาที่กาลังศึกษาอยู่
(กลุ่มเป้าหมายที่ 1) และเยาวชนผู้สาเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษาหรือระดับปริญญาตรีขึ้นไปอายุ
ไม่เกิน 30 ปี (กลุ่มเป้าหมายที่ 2) เข้าร่วมโครงการฯ ตลอดจนเป็นที่ปรึกษาให้นิสิตนักศึกษาและ
เยาวชนในการทาแผนธุรกิจ แล้วนาแผนนั้นไปเป็นแนวทางในการดาเนินธุรกิจส่วนตัวยึดเป็นอาชีพได้
แทนการมุ่งหวังที่จะเป็นพนักงานในภาครัฐหรือเอกชน ช่วยให้นิสิตนักศึกษามีงานทา มีอาชีพส่วนตัว
ลดอัตราการว่างงาน อันจะส่งผลให้โครงการฯ "เอื้ออาทร" ฯ บรรลุวัตถุประสงค์ได้
การอบรมวิทยากร หลักสูตรการวางแผนธุรกิจ (Business Plan) ได้ดาเนินการแล้ว ระหว่าง
วันที่ 22 พฤษภาคม - 16 มิถุนายน 2543 รวม 8 รุ่น โดยสัญจรไปตามมหาวิทยาลัยที่เป็น
เครือข่ายของสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) 7 แห่ง คือ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยนเรศวร
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จานวนผู้เข้า
รับการอบรมทั้งสิ้น 1,105 คน ประกอบด้วย คณาจารย์จากทบวงมหาวิทยาลัย 289 คน คณาจารย์
จากกระทรวงศึกษาธิการ 499 คน และผู้สนใจทั่วไปและ SMEs 317 คน
องค์ประกอบที่ 1 : บทสรุปสาหรับผู้บริหาร
ผู้เขียน : ผศ.วิทยา ด่านธารงกูล
เป็นส่วนที่จะสรุปใจความสาคัญๆ ของแผนธุรกิจทั้งหมดให้
อยู่ในความยาวไม่เกิน 1-2 หน้า ส่วนนี้มีความสาคัญ เพราะ
เป็นส่วนแรกที่ผู้ร่วมลงทุนจะอ่านและจะต้องตัดสินใจจาก
ส่วนนี้ว่า จะอ่านรายละเอียดในตัวแผนต่อหรือไม่ ดังนั้น
บทสรุปผู้บริหารจึงต้องชี้ให้เห็นประเด็นสาคัญสองประการ
คือ หนึ่ง ชี้ให้เห็นว่ามีโอกาสจริงๆ เกิดขึ้นในตลาดสาหรับ
ธุรกิจที่กาลังคิดจะทา สอง ต้องชี้ให้เห็นว่า สินค้าหรือบริการที่จะทานั้น จะสามารถใช้โอกาสใน
ตลาดที่ว่านั้นให้เป็นประโยชน์ได้อย่างไร บทสรุปผู้บริหารจึงต้องเขียนให้เกิดความน่าเชื่อถือ หนัก
แน่น และชวนให้ติดตามรายละเอียดที่อยู่ในแผนต่อไป ผู้เขียนแผนควรระลึกไว้เสมอว่า คุณภาพของ
บทสรุปผู้บริหารจะสะท้อนถึงคุณภาพของแผนโดยรวม จึงควรให้เวลากับการเขียนส่วนนี้อย่าง
พิถีพิถัน
เนื้อหาในบทสรุปผู้บริหารควรจะกล่าวถึงสิ่งต่อไปนี้
1. อธิบายว่าจะทาธุรกิจอะไร และแนวคิดของธุรกิจนั้นเป็นอย่างไร
พยายามอธิบายให้เห็นว่า สินค้าหรือบริการที่จะทานั้นจะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตหรือวิถีการใช้สินค้า
หรือบริการไปจากเดิมอย่างไร บอกด้วยว่าธุรกิจจะก่อตั้งเมื่อไร สินค้า/บริการมีคุณสมบัติพิเศษอะไร
ในแง่รูปลักษณ์ ประโยชน์ใช้สอย เทคโนโลยี ฯลฯ ที่จะได้เปรียบเหนือคู่แข่ง หากธุรกิจดาเนินการมา
เป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว บอกด้วยว่า ขนาดของธุรกิจใหญ่ขนาดไหน มีความเติบโตก้าวหน้าในช่วงที่
ผ่านมาอย่างไร
2. โอกาสและกลยุทธ์ สรุปว่าอะไรคือโอกาส ทาไมจึงน่าในใจ และจะใช้โอกาสนั้นด้วยวิธี
อย่างไร
ข้อมูลส่วนนี้อาจนาเสนอในรูปข้อเท็จจริงของตลาด เงื่อนไขตลาด สภาพของคู่แข่ง (เช่น คู่แข่งขันไม่
ปรับปรุงสินค้ามานานแล้ว คู่แข่งขันกาลังเพลี่ยงพล้า แนวโน้มของอุตสาหกรรมและอื่นๆ ที่แสดงว่า
โอกาสทางการค้ากาลังเปิดให้)
3. กลุ่มลูกค้าเป้าหมายและการคะเนลูกค้าเป้าหมาย
ระบุและอธิบายย่อๆ ถึงลักษณะตลาด ใครเป็นกลุ่มลูกค้าหลัก จะจัดวางตาแหน่งผลิตภัณฑ์อย่างไร
จะวางแผนการเข้าถึงลูกค้าอย่างไร รวมถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างของตลาด ขนาดและอัตรา
การเติบโตของกลุ่มลูกค้า ยอดขาย และส่วนแบ่งตลาดที่คาดหมาย
4. ความได้เปรียบเชิงแข่งขันของธุรกิจ
ระบุถึงความได้เปรียบและความเหนือกว่าในการแข่งขัน เช่น ความได้เปรียบจากตัวผลิตภัณฑ์ การ
ได้เปรียบจากการเข้าตลาดก่อน ความได้เปรียบจากการที่คู่แข่งขันอยู่ในภาวะอ่อนแอ ตลอดจน
เงื่อนไขอื่นๆ ของอุตสาหกรรมนั้นๆ
5. ความคุ้มค่าเชิงเศรษฐกิจและความสามารถในการทากาไร
บทสรุปให้เห็นถึงความคุ้มค่าของการลงทุน เช่น กาไรขั้นต้น กาไรจากการดาเนินงาน ระยะเวลา
ของการทากาไร ระยะเวลาการคุ้มทุน ระยะเวลาที่กระแสเงินสดจะเป็นบวก การคาดหมายอัตรา
ผลตอบแทนจาการลงทุน และการคาดคะเนผลตอบแทนทางการเงินอื่นๆ
6. ทีมผู้บริหาร
สรุปความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และทักษะของผู้ที่เป็นตัวหลักในการก่อตั้งและบริหาร
พร้อมสมาชิกในทีม บอกย่อๆ ถึงความสาเร็จในอดีต โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการทากาไร การ
บริหารงานและคน
7. ข้อเสนอผลตอบแทน
ระบุสั้นๆ ถึงเงินลงทุนหรือเงินกู้ที่ต้องการ จะเอาเงินไปทาอะไร จะตอบแทนเจ้าของเงินอย่างไร
ผลตอบแทนของการลงทุนของเจ้าหน้าที่หรือผู้ร่วมลงทุนจะเป็นเท่าใด
องค์ประกอบที่ 2 : ประวัติย่อของกิจการ
ผู้เขียน : อ.ดร.พิภพ อุดร
ส่วนนี้คือการให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของการก่อตั้งกิจการ ทั้งในด้านรูปแบบ
การจัดตั้งหรือจดทะเบียน ตลอดจนแนวคิดและที่มาของการเล็งเห็นโอกาสทางการตลาด การคิดค้น
และพัฒนาสินค้า/บริการ ที่ต้องการนาเสนอให้กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้ควรให้ข้อมูล
เกี่ยวกับเป้าหมายระยะที่ต้องการให้เป็นในอนาคต
องค์ประกอบที่ 3 : การวิเคราะห์สถานการณ์
ผู้เขียน : อ.ดร.พิภพ อุดร
อ.ดร.ครรชิตพล ยศพรไพบูลย์
ขั้นตอนแรกของการจัดทาแผนธุรกิจ คือ การพยายาม
ทาความเข้าใจถึงสภาพแวดล้อมของการดาเนินธุรกิจใน
ปัจจุบัน และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคตของ
ปัจจัยสาคัญๆที่ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์การแข่งขัน
ความน่าสนใจโดยรวมของอุตสาหกรรม ตลอดจนความสามารถในการทากาไร และความพร้อมใน
ด้านต่างๆ ของกิจการ ดังนั้นการวิเคราะห์สถานการณ์จึงเป็นงานอันดับแรกที่สาคัญที่ผู้ประกอบการ
ควรกระทา เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการกาหนดทิศทาง กลยุทธ์ และแผนการดาเนินงานของกิจการ การ
วิเคราะห์สถานการณ์หรือเรียกอย่างย่อๆ ว่า SWOT ANALYSIS
1. การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน หมายถึง การตรวจสอบความสามารถและความพร้อมของกิจการใน
ด้านต่างๆ ทั้งนี้โดยมุ่งเน้นการวิเคราะห์ในส่วนที่เป็น จุดแข็ง (Strengths) และ จุดอ่อน
(Weaknesses) ของกิจการ
2. การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก หมายถึง การประเมินสภาพแวดล้อมในการดาเนินธุรกิจที่
ผู้ประกอบการไม่สามารถควบคุมหรือเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นจึงต้องพยายามเข้าใจในสถานการณ์
ปัจจุบันและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคตของสภาพแวดล้อมดังกล่าว เป็นไปในลักษณะที่เป็น
โอกาส (Opportunities) หรือ อุปสรรค (Threats) ในการดาเนินธุรกิจ
ผลลัพธ์จากขั้นตอนของการวิเคราะห์สถานการณ์ คือ บทวิเคราะห์ความเป็นไปและแนวโน้มการ
เปลี่ยนแปลงของการดาเนินธุรกิจที่เป็นประโยชน์ในการกาหนดกลยุทธ์ด้านต่างๆ ของกิจการ
องค์ประกอบที่ 4 : วัตถุประสงค์และเป้าหมายทางธุรกิจ
ผู้เขียน : อ.ดร.พิภพ อุดร
อ.ดร.ครรชิตพล ยศพรไพบูลย์
วัตถุประสงค์และเป้าหมายทางธุรกิจ หมายถึง ผลลัพธ์ทางธุรกิจที่กิจการต้องการได้รับในช่วง
ระยะเวลาของแผน ซึ่งโดยทั่วไปเป้าหมายทางธุรกิจอาจเป็นเป้าหมายโดยรวมของกิจการ และ
เป้าหมายเฉพาะด้านในแต่ละแผนกหรือลักษณะงาน เช่น เป้าหมายทางการตลาด เป้าหมาย
ทางการจัดการ เป้าหมายทางการผลิต และเป้าหมายทางการเงิน เป็นต้น นอกจากนี้เป้าหมายทาง
ธุรกิจอาจแบ่งเป็นเป้าหมายระยะสั้น คือ ภายใน 1 ปี เป้าหมายระยะกลาง ประมาณ 3-5 ปี และ
เป้าหมายระยะยาวที่นานกว่า 5 ปี
ลักษณะของเป้าหมายของธุรกิจที่ดีมี 3 ประการ คือ
1. มีความเป็นไปได้ หมายความว่า กิจการมีโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายได้ หากได้มีการดาเนินงาน
อย่างเต็มที่ตามแผนธุรกิจที่วางไว้ การกาหนดเป้าหมายทางธุรกิจควรประเมินจาก
สภาพแวดล้อมในการดาเนินธุรกิจทั้งภายนอกและภายในกิจการ กล่าวคือ ไม่ควรตั้งเป้าหมายที่
เลื่อนลอยเกินความจริงจนทาไม่ได้ และก่อให้เกิดความท้อแท้ แต่ก็ไม่ควรตั้งเป้าหมายที่ง่าย
จนเกินไปจนไม่ต้องทุ่มเทความพยายามใดๆ ก็สามารถที่จะบรรลุเป้าหมายได้โดยง่าย เป้าหมาย
ที่ดีจึงควรเป็นผลลัพธ์ที่ทาได้ยากแต่มีความเป็นไปได้
2. สามารถวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม หมายถึง มีความชัดเจนที่สามารถประเมินได้ว่า กิจการ
บรรลุตามเป้าหมายนั้นหรือไม่ ทั้งนี้ โดยทั่วไป ควรจะต้องกาหนดระยะเวลาให้ชัดเจนว่า
จะต้องบรรลุถึงเป้าหมายนั้นภายในระยะเวลาเท่าใด
3. เป็นไปในทิศทางเดียวกัน หมายถึง เป้าหมายย่อยๆ ในแต่ละฝ่ายควรมีความสอดคล้องและ
เป็นไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมทั้งให้แน่ใจว่าเป้าหมายระยะสั้นๆ เป็นไปเพื่อสนับสนุนและ
ส่งเสริมเป้าหมายในระยะปานกลางและระยะยาว
กล่าวคือ ไม่มุ่งหวังเพียงกาไรหรือผลลัพธ์ในระยะสั้นมากจนเกินไป โดยเฉพาะหากผลในระยะสั้นนั้น
จะก่อให้เกิดผลเสียได้ในระยะปานกลางและระยะยาว
องค์ประกอบที่ 5 : แผนการตลาด
ผู้เขียน : อ.ดร.พิภพ อุดร
อ.ดร.ครรชิตพล ยศพรไพบูลย์
แผนการตลาด คือ การกาหนดทิศทางและแนวทางในการ
ทุ่มเทความพยายามทางการตลาด ตลอดจนกลไกในการ
ตรวจสอบและประเมินผลกิจกรรมการตลาดไว้ล่วงหน้า โดยใช้
ประโยชน์จากความเข้าใจที่ได้รับจากการวิเคราะห์สถานการณ์
ในองค์ประกอบที่ 3 มาพิจารณาร่วมกับวัตถุประสงค์และ
เป้าหมายทางธุรกิจที่กาหนดไว้ในองค์ประกอบที่ 4
ดังนั้น การวางแผนการตลาดจึงเป็นการกาหนดกลยุทธ์และวิธีในการดาเนินกิจกรรมทางการตลาด
เพื่อให้กิจการสามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่มุ่งหวัง โดยคานึงถึงการใช้ทรัพยากรทาง
การตลาดให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการตอบรับกับความเป็นไปและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของ
สภาพแวดล้อมในดาเนินธุรกิจทั้งภายนอกและภายในกิจการ
เนื้อหาของแผนการตลาดต้องตอบคาถามหลักๆ ให้กับผู้ประกอบการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
1. เป้าหมายทางการตลาดที่ต้องทาให้ได้ในระยะเวลาของแผนคือเรื่องอะไรบ้าง
2. ใครคือลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ทั้งกลุ่มเป้าหมายหลักและกลุ่มเป้าหมายรอง
3. จะนาเสนอสินค้า/บริการอะไรให้กลุ่มเป้าหมาย ในราคาเท่าใด และด้วยวิธีการใด
4. จะสร้างและรักษาความพึงพอใจให้กับกลุ่มเป้าหมายเหล่านั้นได้ด้วยวิธีการใดบ้าง
5. ถ้าสถานการณ์ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ จะปรับตัวหรือแก้ไขอย่างไร
ในการตอบคาถามดังกล่าวข้างต้น ผู้ประกอบการจาเป็นต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ตลอดจน
ประสบการณ์และวิจารณญาณที่ดี ในการกาหนดเป้าหมาย กลยุทธ์ และวิธีการทางการตลาด
สาหรับกิจการตามองค์ประกอบที่สาคัญของแผนการตลาด ซึ่งมีเนื้อหาหลัก 4 ส่วน ดังต่อไปนี้
1. เป้าหมายทางการตลาด
2. การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย
3. กลยุทธ์และกิจกรรมทางการตลาด
- กลยุทธ์การตลาดเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน
- กลยุทธ์เพื่อการเติบโตทางการตลาด
- กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด
4. การควบคุมและประเมินผลทางการตลาด
องค์ประกอบที่ 6 : แผนการจัดการและแผนคน
ผู้เขียน : ผศ.วิทยา ด่านธารงกูล
ในส่วนนี้ผู้จัดทาแผนจะต้องระบุโครงสร้างขององค์การให้ชัดเจน โดยแสดงแผนผัง
โครงสร้างขององค์กรว่า ประกอบไปด้วยหน่วยงานอะไรบ้าง หน่วยงานแต่ละหน่วยมีความ
รับผิดชอบอะไร รวมถึงตาแหน่งผู้บริหารหลักๆ ขององค์การ โครงสร้างของคณะกรรมการและการ
ถือหุ้น การเขียนในส่วนนี้ควรจะทาให้ผู้อ่านเห็นว่าคณะผู้บริหารรวมตัวกันในลักษณะเป็นทีมที่ดีใน
การบริหาร มีความสมดุลในด้านความรู้ ความสามารถที่ครบถ้วน ทั้งด้านเทคนิคและการบริหาร มี
ความชานาญและประสบการณ์ในกิจการที่ทา
รายละเอียดในส่วนนี้ประกอบด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้ คือ
1. โครงสร้างองค์กร
1.1 ตาแหน่งงานหลักๆ ขององค์การ คนที่จะมา
ดารงตาแหน่ง พร้อมทั้งแผนผังองค์การ
1.2 หากผู้บริหารคนใดคนหนึ่ง ไม่สามารถปฏิบัติ
หน้าที่ได้เต็มเวลา ต้องระบุว่าใครจะเป็นผู้ช่วย
ในงานนั้น เพื่อทาให้งานสมบูรณ์
1.3 หากทีมงานผู้บริหารเคยทางานร่วมกันมาก่อน
ให้ระบุว่าเคยทางานอะไร มีความสาเร็จใน
ฐานะทีมที่ดีอะไรบ้าง
2. ตาแหน่งบริหารหลัก
2.1 ระบุว่าตาแหน่งบริหารหลักๆ มีความรู้ความชานาญอะไรบ้าง และมีความเหมาะสมใน
ตาแหน่งงานนั้นอย่างไร
2.2 ระบุบทบาท ภาระความรับผิดชอบของแต่ละตาแหน่งในทีมบริหาร
2.3 อาจใส่ประวัติสั้นๆ ของทีมบริหารเอาไว้ในส่วนนี้ด้วยก็ได้ หรือมิฉะนั้นอาจนาไปใส่ไว้
รวมกันในภาคผนวก
3. ผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้บริหาร ระบุเงินเดือนที่จ่ายแก่ผู้บริหาร ตลอดจนผลประโยชน์ใน
รูปแบบอื่นๆ และสัดส่วนการถือหุ้น ของผู้บริหารแต่ละคน
4. ผู้ร่วมลงทุน ระบุผู้ร่วมลงทุนอื่นๆ และเปอร์เซ็นต์การถือหุ้น
5. คณะกรรมการบริษัท ระบุคุณสมบัติของกรรมการบริษัท องค์ประกอบและภูมิหลังของ
กรรมการแต่ละคนว่าจะเป็นประโยชน์ต่อกิจการอย่างไร
องค์ประกอบที่ 7 : แผนการผลิต/ปฏิบัติการ
ผู้เขียน : อ.ดร.เอกจิตต์ จึงเจริญ
หลังจากที่ผู้ประกอบการได้ทาการวิเคราะห์
สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของกิจการ
ตลอดจนกาหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจและแผนกล
ยุทธ์ของกิจการในภาพรวม เพื่อสร้างความ
ได้เปรียบเชิงแข่งขันแล้ว ผู้ประกอบการจาเป็นต้อง
ถ่ายทอดสิ่งเหล่านั้นให้ออกมาเป็นแผนการผลิต/
ปฏิบัติที่สอดคล้องและเชื่อมโยงกับแผนธุรกิจส่วน
อื่นๆ ของบริษัท อันได้แก่ แผนการตลาด แผนการ
บริหารและจัดการบุคลากรและแผนการเงิน เพื่อ
สนับสนุนและส่งเสริมให้องค์กรมีศักยภาพในการบรรลุเป้าหมายตามแผนนั้นๆ
แผนการผลิต/ปฏิบัติการที่ดีจะต้องสะท้อนความสามารถของกิจการในการจัดการกระบวนการผลิต
และปฏิบัติการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับธุรกิจ โดย
มุ่งเน้นประเด็นการจัดการไปยังระบบการแปลงสภาพวัตถุดิบและทรัพยากรในการผลิตให้เป็น
ผลผลิต ซึ่งสามารถแสดงความสัมพันธ์ได้ดังแผนภาพที่ 1 โดย วัตถุดิบและทรัพยากร นั้น
หมายถึง ปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ ชั่วโมงแรงงานที่ทาการผลิต หรือค่าใช้จ่ายรวมของทรัพยากรทุก
อย่างที่ใช้ ได้แก่ ค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงาน เงินลงทุน และอื่นๆ สาหรับ กระบวนการผลิตและ
ปฏิบัติการ หมายถึง กระบวนการในการแปลงสภาพวัตถุดิบและทรัพยากรการผลิตให้เป็นผลผลิต
และ ผลผลิต นั้น หมายความถึง จานวนหรือมูลค่าของสินค้าและบริการที่ผลิตได้
ในการวางแผนการผลิต/ปฏิบัตินั้น ผู้ประกอบการต้องพิจารณาตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการ
ผลิตและปฏิบัติการภายในกิจการตามประเด็นที่สาคัญๆ รวม 10 ประเด็นดังต่อไปนี้ คือ
1. คุณภาพ
2. การออกแบบสินค้าและบริการ
3. การออกแบบกระบวนการผลิตและปฏิบัติการ และการตัดสินใจเรื่องกาลังการผลิต
4. การเลือกสถานที่ตั้ง
5. การออกแบบผังของสถานประกอบการ
6. การออกแบบระบบงานและการวางแผนกาลังคน
7. การจัดกระบวนการจัดส่งวัตถุดิบ และสินค้าสาเร็จรูป (Supply-Chain Management)
8. ระบบสินค้าคงคลัง
9. กาหนดการผลิตและปฏิบัติการ
10. การดารงรักษาเครื่องมือและเครื่องจักร
องค์ประกอบที่ 8 : แผนการเงิน
ผู้เขียน : รศ.ประนอม โฆวินวิพัฒน์
อ.วิภาดา ตันติประภา
ผศ.พรชนก รัตนไพจิตร
ผศ.พรชนก รัตนไพจิตร
ในการจัดทาแผนธุรกิจนั้น กิจการต้องทราบให้ได้ว่าแผนที่จะจัดทาขึ้นนั้น เป็นไปตามวัตถุประสงค์
ที่ตั้งไว้หรือไม่ การที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว จะต้องใช้เงินลงทุนจานวนเท่าใด จะได้มาจาก
แหล่งใดบ้าง จากแหล่งเงินทุนภายใน ในรูปของเจ้าของกิจการ หรือแหล่งเงินทุนภายนอกในรูปของ
การกู้ยืมจากเจ้าหนี้ เรียกว่า กิจกรรมจัดหาเงิน (Financing Activities) จากนั้น จะเป็นเรื่อง
ของการตัดสินใจนาเงินไปลงทุน กิจกรรมนี้เรียกว่า กิจกรรมลงทุน (Investing Activities) ซึ่ง
จะแตกต่างไปตามประเภทของธุรกิจ กิจกรรมที่สาคัญต่อเนื่องจากกิจกรรมดังกล่าวข้างต้น คือ
กิจกรรมดาเนินงาน (Operating Activities) ซึ่งจะประกอบไปด้วย การผลิต การซื้อ การขาย
และการจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ
การตัดสินใจเกี่ยวกับกิจกรรมหลักทั้งสาม คือ กิจกรรมจัดหาเงิน กิจกรรมลงทุน และกิจกรรม
ดาเนินงาน จะเป็นปัจจัยสาคัญต่อความสาเร็จของการดาเนินธุรกิจ นักบัญชีจะเป็นผู้นาเสนอผลของ
กิจกรรมทั้งสาม และสรุปออกมาเป็น งบการเงิน (Financial Statements) ซึ่งเป็นรายงานสรุป
ขั้นสุดท้ายของขบวนการจัดทาบัญชี ที่แสดงให้เห็นถึงข้อมูลทางการเงินของธุรกิจหรืออาจจะเป็นงบ
การเงินที่ครอบคลุมการดาเนินกิจกรรมทางธุรกิจในรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อให้ทราบว่า
ในรอบระยะเวลาที่ผ่านมานั้น ธุรกิจมีฐานะการเงินอย่างไร กาไรหรือขาดทุน มีการเปลี่ยนแปลงใน
เงินสดอย่างไรบ้าง เพิ่มขึ้นหรือลดลง และสาเหตุเกิดจากอะไร
งบการเงินประกอบด้วย
1. งบดุล เป็นรายงานที่แสดงถึงฐานะของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง ในงบดุลจะประกอบไปด้วย
ข้อมูลทางการเงินที่แสดงถึงฐานะของกิจการ คือ ข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของผู้
เป็นเจ้าของ
2. งบกาไรขาดทุน เป็นงบที่แสดงถึงผลการดาเนินงานของกิจการ โดยแสดงรายได้ ค่าใช้จ่ายและ
กาไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
3. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ ส่วนของผู้เป็นเจ้าของหรือส่วนของผู้ถือหุ้น
ประกอบไปด้วย 2 ส่วนด้วยกัน คือ
- ทุนเรือนหุ้น
- กาไรสะสม
งบนี้จึงแสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของทุนเรือนหุ้นและกาไรสะสม
4. งบกระแสเงินสด เป็นงบการเงินที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของกระแสเงินใดในรอบ
ระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง จะรายงานให้ทราบว่า เงินสดในปีปัจจุบันที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้น มี
สาเหตุจากอะไรในกิจกรรม 3 ประเภท ดังต่อไปนี้
- กิจกรรมดาเนินงาน
- กิจกรรมลงทุน
- กิจกรรมจัดหาเงิน
5. นโยบายบัญชี หมายถึง หลักการบัญชีหรือวิธีปฏิบัติที่กิจการใช้ในการจัดทาและนาเสนองบ
การเงิน เนื่องจากหลักการบัญชีที่กิจการเลือกใช้มีได้หลายวิธี วิธีการบัญชีที่กิจการเลือกใช้จะมี
ผลกระทบต่องบการเงินไม่เหมือนกัน กิจการจึงต้องบอกข้อมูลดังกล่าวให้ผู้ใช้ในงบการเงินทราบ
โดยทั่วไปแล้วกิจการควรเปิดเผยนโยบายบัญชีในเรื่องต่อไปนี้ไว้ในงบการเงิน
- วิธีการรับรู้รายได้
- การตีราคาสินค้าคงเหลือ
- การตีราคาเงินทุน
- ค่าเผื่อหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ
- วิธีการคิดค่าเสื่อมราคา และการตัดบัญชีสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
- การแปลงค่าเงินตราต่างประเทศ
- การจัดทางบการเงินรวม
องค์ประกอบที่ 9 : แผนการดาเนินงาน
ผู้เขียน : ผศ.วิทยา ด่านธารงกูล
หลังจากผู้ประกอบการกาหนดกลยุทธ์ในด้านต่างๆ ของ
กิจการอย่างรอบคอบและครบถ้วนแล้ว ขั้นตอนต่อมาก็คือ
การจัดทารายละเอียดของกลยุทธ์ดังกล่าว โดยการกาหนด
กิจกรรมของกลยุทธ์แต่ละด้านให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน
ในทางปฏิบัติ ผู้ประกอบการอาจจะทาแผนการดาเนินงานในลักษณะของตารางที่มีรายละเอียดของ
เป้าหมาย กลยุทธ์ วิธีการ งบประมาณ และระยะเวลาดาเนินการ โดยจัดทารายละเอียดเป็นราย
เดือนหรือรายสัปดาห์ ตามที่ผู้ประกอบการเห็นสมควร
องค์ประกอบที่ 10 : แผนฉุกเฉิน
แผนฉุกเฉินเป็นการเตรียมแนวทางการดาเนินงานไว้ล่วงหน้า ในกรณีที่สถานการณ์หรือผลลัพธ์จาก
การดาเนินงานไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ หรือมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น จนเป็นผลกระทบในทางลบ
กับกิจการ ซึ่งโดยทั่วไปผู้ประกอบการควรอธิบายลักษณะความเสี่ยงทางธุรกิจที่อาจส่งผลให้การ
ดาเนินธุรกิจไม่เป็นไปอย่างราบรื่นตามแผนธุรกิจที่ได้กาหนดไว้
ตัวอย่างของประเด็นความเสี่ยงทางธุรกิจและการเตรียมพร้อมที่ควรระบุไว้ในแผนฉุกเฉิน ได้แก่กรณี
ดังต่อไปนี้
- ยอดขายหรือการเก็บเงินจากลูกหนี้ไม่เป็นไปตามคาดหมาย จนทาให้เงินสดหมุนเวียนขาด
สภาพคล่อง
- ธนาคารไม่ให้เงินกู้หรือลดวงเงินกู้
- คู่แข่งตัดราคาหรือจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่องระยะยาว
- มีคู่แข่งรายใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่า ทันสมัยกว่า มีสินค้าครบถ้วนกว่า ราคาถูกกว่า เข้าสู่
อุตสาหกรรม หรือมาตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียง
- สินค้าถูกลอกเลียนแบบและขายในราคาที่ถูกกว่า
- มีปัญหากับหุ้นส่วนจนไม่สามารถร่วมงานกันได้
- สินค้าผลิตไม่ทันตามคาสั่งซื้อเนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบ
- สินค้าผลิตมากจนเกินไป ทาให้มีสินค้าในมือเหลือมาก
- เกิดการชะงักการเติบโตของทั้งอุตสาหกรรม
- ต้นทุนการผลิต/การจัดการสูงกว่าที่คาดไว้
ฯลฯ
สถาบันการเงิน "อยากรู้อะไรในแผนธุรกิจ"
แผนธุรกิจไม่เพียงแต่จะเป็นเข็มทิศนาทางให้ผู้ประกอบการบริหารธุรกิจได้อย่างมี
ประสิทธิภาพเพื่อสร้างผลประกอบการที่ดีให้แก่ธุรกิจแผนธุรกิจยังเป็น "เอกสารสาคัญ" ที่
สถาบันการเงินจะใช้พิจารณาประกอบการอนุมัติสินเชื่อให้แก่ธุรกิจด้วย
โครงการเวทีพบปะและแสวงหาโอกาสและความร่วมมือทางธุรกิจของสถาบันพัฒนา SMEs เป็น
กิจกรรมที่นามาซึ่งความร่วมมือ การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ทางธุรกิจ รวมถึงการเปิด
โลกทัศน์ในการรับรู้เทคโนโลยีการจัดการสมัยใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการ โดยสถาบันฯ ได้เปิดเวที
พบปะครั้งสุดท้ายของปี 2545 ด้วยการจัดเสวนากลุ่มย่อย เรื่อง "ลักษณะพึงประสงค์ของแผน
ธุรกิจเพื่อเสนอสถาบันการเงิน" โดยระดมผู้เกี่ยวข้องจากสถาบันการเงินทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อกาหนดกรอบหรือแนวทางสาหรับแผนธุรกิจที่สถาบันฯ จะช่วย
ผู้ประกอบการจัดทาให้ถูกต้องตามมาตรฐาน และสอดคล้องกับความต้องการของสถาบันการเงิน
โดยเฉพาะในเวลาที่ผู้ประกอบการมีความเร่งรีบในการใช้เงินและได้เข้ามาใช้บริการปรึกษาแนะนา
ทางธุรกิจของสถาบันฯ เพื่อจัดทาแผนธุรกิจยื่นขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน หากแผนธุรกิจที่
สถาบันฯ ได้ช่วยผู้ประกอบการจัดทานั้น ต้องถูกสถาบันการเงินพิจารณาแก้ไขใหม่อีกครั้ง ก็อาจทา
ให้ผู้ประกอบการเสียโอกาสทางธุรกิจได้ และความช่วยเหลือที่สถาบันฯ มีต่อผู้ประกอบการก็ไม่
ประสบผลสาเร็จเช่นกัน
การจัดเสวนากลุ่มย่อยเพื่อประสานความร่วมมือในครั้งนี้ ทาให้สถาบันฯ ทราบว่าในการยื่นขอ
สินเชื่อของผู้ประกอบการต่อสถาบันการเงินนั้นยังมีผู้ประกอบการอีกมากที่ไม่สามารถเสนอแผน
ธุรกิจที่ถูกต้องหรือแสดงองค์ประกอบในแผนธุรกิจได้อย่างชัดเจน ซึ่งถือเป็นข้อจากัดที่สาคัญในการ
พิจารณาอนุมัติสินเชื่อ และจากการเสวนาทาให้ทราบถึงมุมมองของสถาบันการเงินที่ต่อการ
พิจารณาแผนธุรกิจเพื่ออนุมัติสินเชื่อ โดยเฉพาะรายละเอียดเพิ่มเติมบางประการที่สถาบันการเงิน
เห็นว่าผู้ประกอบการควรระบุไว้ในแผนธุรกิจให้ชัดเจน ดังนี้
1. แผนธุรกิจที่ดี ควรเป็นแผนที่ผู้ประกอบการลงมือเขียนด้วยตนเองเนื่องจากเป็นผู้ที่ทราบ
รายละเอียดและข้อมูลต่างๆ ของธุรกิจมากที่สุด และองค์ประกอบที่สาคัญของแผนธุรกิจ คือ การ
วิเคราะห์สมมติฐานและความเป็นไปได้ของโครงการนั้นๆ โดยเฉพาะในด้านการตลาดและการเงิน
2. ปัจจัยขององค์ประกอบที่มีผลต่อการพิจารณาของสถาบันการเงิน ทั้งผู้ประกอบการเดิม
และผู้ประกอบการใหม่ได้แก่ ประสบการณ์ในการดาเนินงาน ความรู้ความชานาญ นอกจากนี้สถาบัน
การเงินยังพิจารณาถึงปัจจัยที่มีส่วนสนับสนุนการดาเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ เช่น คณะผู้บริหาร
ตลาด คู่แข่งขันทางธุรกิจ กระบวนการผลิต กรอบเงื่อนไขด้านระยะเวลา ขนาดของการลงทุน
ความสามารถในการชาระหนี้คืนในระยะเวลาที่เหมาะสม หลักประกันความเสี่ยง วิธีการควบคุม
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และควรระบุปัจจัยความสาเร็จของธุรกิจซึ่งจะเป็นตัวสรุปภาพรวม
ของธุรกิจให้เห็นอย่างชัดเจน
3. สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่จะส่งผลต่อการดาเนินธุรกิจ โดยพิจารณาทั้งในระดับมหภาค
(Macroeconomic) ประกอบด้วย สภาวะเศรษฐกิจโลก แนวโน้มของภาคอุตสาหกรรม สภาพทาง
สังคม ปัจจัยโอกาสทางธุรกิจหรือภัยคุกคามและระดับจุลภาค (Microeconomic) ประกอบด้วย
ศักยภาพของบริษัท เป้าประสงค์ จุดขายของธุรกิจ ลักษณะสินค้า/บริการ
4. การบริหารจัดการบุคลากร ควรระบุแผนผังโครงสร้างการบริหารของพนักงานทุกระดับและ
การแบ่งหน้าที่ของพนักงานแต่ละฝ่ายกระบวนการบริหารจัดการ สาหรับความน่าเชื่อถือของ
ผู้บริหารควรให้ข้อมูลประวัติส่วนตัวประวัติการทางาน ประวัติการศึกษา
5. การตลาด ต้องระบุกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนในแนวทางหรือกลยุทธ์ในการขยายตลาด
กลุ่มเป้าหมายในอนาคตด้วย
6. การบริหารจัดการด้านกระบวนการผลิต ควรระบุกาลังและเทคนิคทางการผลิต
ขบวนการผลิต นโยบายการบริหารสินค้าคงคลัง ด้านวัตถุดิบ (การจัดหา การจัดสรรและการ
จัดการ) สภาพของโรงงานผลิตและที่ตั้ง
7. การบริหารระบบบัญชีและการเงิน ข้อมูลด้านการเงินและบัญชีที่แสดงในแผนธุรกิจควรเป็นงบ
ที่เชื่อถือได้และแสดงสถานภาพทางการเงินของบริษัทได้อย่างชัดเจนเพื่อนาไปสู่การวิเคราะห์งบ
การเงินได้อย่างเป็นระบบ
8. การวิเคราะห์ความเสี่ยงและแผนสารอง ความเสี่ยงทางธุรกิจสามารถวิเคราะห์ได้จากปัจจัย
หลายๆ อย่าง เช่น ศักยภาพของคณะผู้บริหาร แนวทางการตลาดและการบริหารการผลิต คู่แข่งขัน
ทางธุรกิจ ซึ่งในบางครั้งอาจต้องมองไปถึงความเสี่ยงระดับประเทศที่อาจมีผลต่อกิจการได้ และอาจ
ต้องทาแผนสารองสาหรับกรณีดังกล่าวไว้ด้วย เช่น เงินทุนสารองยามฉุกเฉิน พนักงานทดแทน
ทรัพยากรสารองฯลฯ
สาหรับรายละเอียดเชิงลึกในประเด็นต่างๆ ที่ผู้เข้าร่วมเสวนาได้ให้คาแนะนา สถาบันพัฒนา SMEs
โดยฝ่ายปรึกษาแนะนาธุรกิจ จะได้จัดทารูปแบบมาตรฐานของแผนธุรกิจที่สามารถนาเสนอ
รายละเอียดที่สถาบันการเงินต้องการได้อย่างครบถ้วน เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการใช้เวลาน้อยที่สุดใน
การขออนุมัติสินเชื่อ และสถาบันการเงินเองก็สามารถพิจารณาอนุมัติสินเชื่อได้อย่างรวดเร็ว
ผู้ประกอบการที่ต้องการใช้บริการปรึกษาแนะนาธุรกิจในด้านการเขียนแผนธุรกิจของสถาบัน
พัฒนา SMEs ติดต่อได้ที่ โทรศัพท์ 0-2564-4000 ต่อ 1111 ในวันและเวลาทาการ
สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. 2545. "สถาบันการเงินอยากรู้อะไร
ในแผนธุรกิจ." เพื่อนธุรกิจ SMEs. 2, 7: 2-3.
ทาอย่างไรให้ SMEs กู้เงินจากสถาบันการเงินได้
ด้วยคาถามยอดฮิตที่สถาบันพัฒนา SMEs ได้รับจากผู้ประกอบการ SMEs ตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่าน
มาเป็นคาถาม ที่ว่า "ทาอย่างไรจึงจะกู้เงินจากสถาบันการเงินได้?" จึงขอถือโอกาสเปิดตัวคอลัมน์นี้
ด้วยการนาข้อสรุปที่ได้จากเวทีเสวนากลุ่มย่อยเรื่องดังกล่าว ซึ่งสถาบันพัฒนา SMEs จัดขึ้นเมื่อ 18
เมษายน 2544 มานาเสนอเพื่อประโยชน์แก่ SMEs โดยทั่วกัน โดยจะขอนาเสนอประเด็นที่
เกี่ยวข้องกับการเตรียมพร้อมของ SMEs เป็นสาระสาคัญ
ปัญหาและอุปสรรคในการกู้เงินของ SMEs ส่วนใหญ่เกิดจากความไม่พร้อมของผู้ประกอบการใน
หลายๆ ด้าน ตัวอย่างเช่น เป็นผู้ประกอบการรายใหม่ ขาดประสบการณ์ ขาดความเข้าใจในการทา
ธุรกิจที่ดีพอมีระดับภาระหนี้เกินตัว เป็นลูกหนี้ NPL ขาดการทาระบบบัญชีที่น่าเชื่อถือ ขาด
หลักประกันที่เพียงพอ ขาดหลักฐานสาคัญในการยื่นประกอบคาขอกู้ เช่น สัญญาเงินกู้ ใบส่งสินค้า
สัญญาการซื้อขาย เป็นต้น
ปัญหาและอุปสรรคการกู้เงินไม่ได้ของผู้ประกอบการ SMEs อีกส่วนหนึ่งเกิดจากสถาบันการเงิน
ธนาคารพาณิชย์และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนนโยบาย กฎเกณฑ์ และการปฏิบัติ เช่น
การจัดชั้นลูกหนี้ที่เป็น NPL และตั้งสมมุติฐานว่าลูกหนี้ NPL เป็นกิจการที่ไม่สามารถฟื้นฟูได้ การ
ใช้นโยบายการพิจารณาและวิเคราะห์สินเชื่อที่เหมือนกัน แม้ว่าจะมีลักษณะกิจการ ขนาดธุรกิจและ
วัตถุประสงค์การกู้เงินที่แตกต่างกันการขาดมาตรฐานการพิจารณาการให้บริการตามลาดับก่อนหลัง
เป็นต้น
SMEs จะต้องเตรียมตัวอย่างไร
องค์ประกอบสาคัญที่สถาบันการเงินและธนาคารพาณิชย์พิจารณาปล่อยสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ
SMEs ได้แก่ ความสามารถของตัวผู้ประกอบการ การมีและใช้แผนธุรกิจในการประกอบธุรกิจ และ
การมีหลักประกันค้าประกันที่เพียงพอ ทั้งนี้มีหลัก 8 ประการคือ
1. ผู้ประกอบการ SMEs มีความแน่นอนชัดเจนในธุรกิจ
2. มีความเหมาะสมและความจาเป็นในการกู้
3. มีความพร้อมและความโปร่งใสด้านข้อมูล
4. สามารถแสดงหลักฐานประกอบ เช่น สัญญาเงินกู้ สัญญาซื้อ
5. มีประสบการณ์และมีการศึกษาในรายละเอียดของธุรกิจ
6. มีเงินทุนของตนเองขั้นต่า 20u0E02องเงินลงทุนทั้งหมด
7. มีหลักประกัน เช่น หลักทรัพย์ หนังสือค้าประกัน การโอนสิทธิการรับเงิน และ
8. มีความสามารถในการชาระหนี้
ทั้งนี้เอกสารประกอบการกู้ที่สาคัญที่สุดคือ แผนธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วยแผนงานด้านการตลาด การ
จัดกาลังคน แผนการผลิต และแผนการเงิน ซึ่งแผนธุรกิจนี้นอกจากจะช่วยให้ผู้?ประกอบการ
สามารถวางแผนการทาธุรกิจได้อย่างเป็นระบบ รอบคอบ และครบวงจรแล้ว ยังเป็นเครื่องมือที่จะ
ทาให้ผู้ให้กู้เข้าใจธุรกิจของผู้ประกอบการเองได้ง่ายขึ้น สามารถวิเคราะห์ ศักยภาพการดาเนินธุรกิจ
และความสามารถในการใช้คืนเงินกู้ได้นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการ SMEs ไม่ควรมุ่งเน้นการระดมทุนจากการกู้เงินเป็นหลักโดยเฉพาะใน
ช่วงแรกของการเริ่มธุรกิจใหม่และไม่มีประสบการณ์ เพราะจะทาให้เกิดความวิตกกังวลต่อภาระ
ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น แทนที่จะมุ่งเน้นการพัฒนาตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการสร้างนวัตกรรม
ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นกุญแจแห่งความสาเร็จของ SMEs
ผู้ประกอบการที่ต้องการคาปรึกษาแนะนาในการจัดทา "แผนธุรกิจ" สามารถติดต่อสอบถามและรับ
บริการปรึกษาแนะนาของสถาบันพัฒนา SMEs ได้ที่โทร 0 2564 4000 ต่อ 2225-2226
การกู้ยืมเงิน เพื่อการลงทุน และต่อยอดธุรกิจ
รายชื่อธนาคารที่ท่านสามารถยื่นเพื่อขอกู้ยืมเพื่อพัฒนาธุรกิจ ได้แก่
กองทุนรวมเพื่อร่วมลงทุนในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ( One-asset)
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม วรรณ จากัด ชั้น 5 อาคารเกษรเพลซ เลขที่ 999 ถ.เพลินจิต
ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 Tel: 2656-1200 ต่อ 2802-2804
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่อยู่ 273 ถนนสามเสน บางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 Tel: 0-2283-5353
ธนาคารกรุงเทพ จากัด (มหาชน) โครงการเงินกู้บัวหลวงเพื่อ SMEs บริการเงินกู้แก่
ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
ธนาคารกรุงเทพ จากัด (มหาชน) ทุกสาขา และสานักงานใหญ่ เลขที่ 2222 ถนนพระราม 3 ช่อง
นนทรี ยานนาวา กรุงเทพ 10120 Tel: 2645-5555
ธนาคารกรุงไทย จากัด (มหาชน) กรุงไทย SMEs บริการเงินกู้ยืมแก่ SMEs ภายใต้โครงการ
ต่าง ๆ
ธนาคารกรุงไทย จากัด (มหาชน) 35 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ
10110 Tel:0-2255-2222
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จากัด (มหาชน) สินเชื่อกรุงศรี SMEs
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จากัด (มหาชน) สานักงานใหญ่ 1222 ถนนพระราม3 บางโพงพาง
ยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 Tel: 0-2296-3000
ธนาคารไทยพาณิชย์ จากัด (มหาชน) โครงการสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม
(SMEs) รวมถึงสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการรายย่อย (SBEs)
Tel: 2777-7777
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส) โครงการสินเชื่อนอกภาคการเกษตร
(สินเชื่อเพื่อSMEs)
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 469 ถนนนครสวรรค์ เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
Tel: 0-2280-0180 ต่อ 2027
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนาเข้าแห่งประเทศไทย (ธนส EXIM Bank) บริการสินเชื่อเพื่อธุรกิจ
นาเข้า ส่งออก
ศูนย์บริการสินเชื่อผู้ส่งออกรายย่อย ธสน. สานักงานใหญ่ ชั้นล็อบบี้ อาคารเอ็กซิม เลขที่ 1193
ถนนพหลโยธิน พญาไท กรุงเทพฯ 10400
Tel: 2271-3700 , 2617-2111 ต่อ 1310-1316
ธนาคารออมสิน บริการ สินเชื่อเพื่อธุรกิจ
สานักงานใหญ่ ธนาคารออมสินสานักงานใหญ่ สะพานควาย พญาไท กรุงเทพฯ 10400 Tel: 0-
2299-8000 ต่อ 2110-3 , 0-2299-8451
บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐบาล
ให้บริการด้าน การค้าประกันสินเชื่อในส่วนที่ขาดหลักประกันให้แก่ผู้ประกอบ
การอุตสาหกรรมขนาดย่อม ที่อยู่บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม อาคารชาญอิสสระ
ทาวเวอร์ II ชั้น 18 เลขที่ 2922/243 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพฯ 10320 Tel:(02) 308-2741
(อัตโนมัติ 12 เลขหมาย)
บริษัท นครหลวง-โชวา สิสซิ่ง จากัด (มหาชน) การให้บริการเช่าซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์
เครื่องคอมพิวเตอร์ฯลฯ
ที่อยู่ บริษัท นครหลวง-โชวา ลิสซิ่ง จากัด (มหาชน) สานักงานใหญ่ 1091/179-181 ถนนเพชรบุรี
ตัดใหม่ ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 Tel: (0)2651-6442-51
ธนาคารทหารไทย บริการเพื่อธุรกิจเอส เอ็ม อี
ที่อยู่ ธนาคารทหารไทย สานักงานใหญ่ 3000 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร
กรุงเทพฯ 10900 Tel:(0)2299-1111, 0-2617-9111
ธนาคารกสิกรไทย จากัด บริการเพื่อธุรกิจเอส เอ็ม อี
ธนาคารกสิกรไทย จากัด สานักงานใหญ่ 1 ซอยกสิกรไทย ถนนราษฏร์บูรณะ กรุงเทพฯ 10140
ประเทศไทย Tel: 02 470-1122, 02 470-1199
ตลาดหลักทรัพย์ ให้คาปรึกษาเรื่องการลงทุนในตลาดหุ้น
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 62 ถนนรัชดาภิเษก
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 Tel: 02 229 2000, 02 654 5656
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) โครงการเงินกู้
เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดย่อม โดยกรมส่งเสริม อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ที่อยู่
เลขที่ 475 อาคารสิริภิญโญ ชั้นที่ 9 ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 Tel: 0-2201-
3700-10
สงวนลิขสิทธิ์โดย : สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

Weitere ähnliche Inhalte

Was ist angesagt?

คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคการผลิต]
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคการผลิต]คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคการผลิต]
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคการผลิต]siep
 
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องKittichai Pinlert
 
โครงงานน้ำยาปรับผ้านุ่ม
โครงงานน้ำยาปรับผ้านุ่มโครงงานน้ำยาปรับผ้านุ่ม
โครงงานน้ำยาปรับผ้านุ่มeeii
 
ภาคผนวกโครงงานกล้อง
ภาคผนวกโครงงานกล้องภาคผนวกโครงงานกล้อง
ภาคผนวกโครงงานกล้องkrupornpana55
 
04 บทที่ 4-ผลการดำเนินโครงงาน
04 บทที่ 4-ผลการดำเนินโครงงาน04 บทที่ 4-ผลการดำเนินโครงงาน
04 บทที่ 4-ผลการดำเนินโครงงานChamp Wachwittayakhang
 
โครงงานเรื่องการใช้โปรแกรม Gsp ออกแบบลายไทย
โครงงานเรื่องการใช้โปรแกรม Gsp ออกแบบลายไทยโครงงานเรื่องการใช้โปรแกรม Gsp ออกแบบลายไทย
โครงงานเรื่องการใช้โปรแกรม Gsp ออกแบบลายไทยกก กอล์ฟ
 
กิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศกิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศPa'rig Prig
 
แผนธุรกิจ Business Plan
แผนธุรกิจ Business Planแผนธุรกิจ Business Plan
แผนธุรกิจ Business Planinnoobecgoth
 
บทที่ 11 นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย 55
บทที่ 11 นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย 55บทที่ 11 นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย 55
บทที่ 11 นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย 55Decode Ac
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ ยาดมสมุนไพร PDF
โครงงานคอมพิวเตอร์ ยาดมสมุนไพร PDFโครงงานคอมพิวเตอร์ ยาดมสมุนไพร PDF
โครงงานคอมพิวเตอร์ ยาดมสมุนไพร PDFWichitchai Buathong
 
รายงานคอมพิวเตอร์
รายงานคอมพิวเตอร์รายงานคอมพิวเตอร์
รายงานคอมพิวเตอร์Pimrada Seehanam
 
สารบัญโครงงานคอม
สารบัญโครงงานคอมสารบัญโครงงานคอม
สารบัญโครงงานคอมkand-2539
 
รูปแบบองค์กรธุรกิจ
รูปแบบองค์กรธุรกิจรูปแบบองค์กรธุรกิจ
รูปแบบองค์กรธุรกิจNetsai Tnz
 
ค่าอำนาจจำแนก
ค่าอำนาจจำแนก ค่าอำนาจจำแนก
ค่าอำนาจจำแนก Jeerapob Seangboonme
 
ตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงานตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงานSiriporn Kusolpiamsuk
 
คู่มือสภานักเรียน
คู่มือสภานักเรียนคู่มือสภานักเรียน
คู่มือสภานักเรียนkrupornpana55
 
องค์ประกอบของหลักสูตร
องค์ประกอบของหลักสูตรองค์ประกอบของหลักสูตร
องค์ประกอบของหลักสูตรSunisa199444
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจน้ำพริก
ตัวอย่างแผนธุรกิจน้ำพริกตัวอย่างแผนธุรกิจน้ำพริก
ตัวอย่างแผนธุรกิจน้ำพริกThamonwan Theerabunchorn
 
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติกโครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติกพัน พัน
 

Was ist angesagt? (20)

คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคการผลิต]
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคการผลิต]คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคการผลิต]
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคการผลิต]
 
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
โครงงานน้ำยาปรับผ้านุ่ม
โครงงานน้ำยาปรับผ้านุ่มโครงงานน้ำยาปรับผ้านุ่ม
โครงงานน้ำยาปรับผ้านุ่ม
 
ภาคผนวกโครงงานกล้อง
ภาคผนวกโครงงานกล้องภาคผนวกโครงงานกล้อง
ภาคผนวกโครงงานกล้อง
 
04 บทที่ 4-ผลการดำเนินโครงงาน
04 บทที่ 4-ผลการดำเนินโครงงาน04 บทที่ 4-ผลการดำเนินโครงงาน
04 บทที่ 4-ผลการดำเนินโครงงาน
 
โครงงานเรื่องการใช้โปรแกรม Gsp ออกแบบลายไทย
โครงงานเรื่องการใช้โปรแกรม Gsp ออกแบบลายไทยโครงงานเรื่องการใช้โปรแกรม Gsp ออกแบบลายไทย
โครงงานเรื่องการใช้โปรแกรม Gsp ออกแบบลายไทย
 
กิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศกิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศ
 
แผนธุรกิจ Business Plan
แผนธุรกิจ Business Planแผนธุรกิจ Business Plan
แผนธุรกิจ Business Plan
 
บทที่ 11 นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย 55
บทที่ 11 นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย 55บทที่ 11 นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย 55
บทที่ 11 นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย 55
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ ยาดมสมุนไพร PDF
โครงงานคอมพิวเตอร์ ยาดมสมุนไพร PDFโครงงานคอมพิวเตอร์ ยาดมสมุนไพร PDF
โครงงานคอมพิวเตอร์ ยาดมสมุนไพร PDF
 
รายงานคอมพิวเตอร์
รายงานคอมพิวเตอร์รายงานคอมพิวเตอร์
รายงานคอมพิวเตอร์
 
สารบัญโครงงานคอม
สารบัญโครงงานคอมสารบัญโครงงานคอม
สารบัญโครงงานคอม
 
รูปแบบองค์กรธุรกิจ
รูปแบบองค์กรธุรกิจรูปแบบองค์กรธุรกิจ
รูปแบบองค์กรธุรกิจ
 
ค่าอำนาจจำแนก
ค่าอำนาจจำแนก ค่าอำนาจจำแนก
ค่าอำนาจจำแนก
 
ตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงานตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงาน
 
คู่มือสภานักเรียน
คู่มือสภานักเรียนคู่มือสภานักเรียน
คู่มือสภานักเรียน
 
องค์ประกอบของหลักสูตร
องค์ประกอบของหลักสูตรองค์ประกอบของหลักสูตร
องค์ประกอบของหลักสูตร
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจน้ำพริก
ตัวอย่างแผนธุรกิจน้ำพริกตัวอย่างแผนธุรกิจน้ำพริก
ตัวอย่างแผนธุรกิจน้ำพริก
 
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติกโครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
 

Ähnlich wie แผนธุรกิจ (คู่มือการจัดทำแผนธุรกิจ Sme)

Business Plan Guideline_Supavadee 17012023.pdf
Business Plan Guideline_Supavadee 17012023.pdfBusiness Plan Guideline_Supavadee 17012023.pdf
Business Plan Guideline_Supavadee 17012023.pdfSupavadee(Noi) Tantiyanon
 
การบริหารโครงการอย่างมีประสิทธิผล 2 วัน
การบริหารโครงการอย่างมีประสิทธิผล  2 วันการบริหารโครงการอย่างมีประสิทธิผล  2 วัน
การบริหารโครงการอย่างมีประสิทธิผล 2 วันDr.Wasit Prombutr
 
บทที่1 แผนธุรกิจ คืออะไร
บทที่1 แผนธุรกิจ คืออะไรบทที่1 แผนธุรกิจ คืออะไร
บทที่1 แผนธุรกิจ คืออะไรkkampanat
 
แบบฟอร์มข..[1]
แบบฟอร์มข..[1]แบบฟอร์มข..[1]
แบบฟอร์มข..[1]kvlovelove
 
บทที่2 การวางแผนธุรกิจที่ดีมีประโยชน์อย่างไร
บทที่2 การวางแผนธุรกิจที่ดีมีประโยชน์อย่างไรบทที่2 การวางแผนธุรกิจที่ดีมีประโยชน์อย่างไร
บทที่2 การวางแผนธุรกิจที่ดีมีประโยชน์อย่างไรkkampanat
 
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและแผน
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและแผนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและแผน
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและแผนประพันธ์ เวารัมย์
 
หลักสูตรที่ 2 หน่วยที่ 4: ความเข้าใจแผนธุรกิจ
หลักสูตรที่ 2 หน่วยที่ 4: ความเข้าใจแผนธุรกิจหลักสูตรที่ 2 หน่วยที่ 4: ความเข้าใจแผนธุรกิจ
หลักสูตรที่ 2 หน่วยที่ 4: ความเข้าใจแผนธุรกิจthanathip
 
Guide note on wrting a business plan thai
Guide note on wrting a business plan  thai Guide note on wrting a business plan  thai
Guide note on wrting a business plan thai Utai Sukviwatsirikul
 
Guide notes on writing a business plan ข้อแนะนำในการเขียนแผนธุรกิจ
Guide notes on writing a business plan ข้อแนะนำในการเขียนแผนธุรกิจGuide notes on writing a business plan ข้อแนะนำในการเขียนแผนธุรกิจ
Guide notes on writing a business plan ข้อแนะนำในการเขียนแผนธุรกิจUtai Sukviwatsirikul
 
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจภาคการผลิต
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจภาคการผลิตคู่มือการเขียนแผนธุรกิจภาคการผลิต
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจภาคการผลิตMobile_Clinic
 
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555Nattapon
 
Greeen bus plan green shop beleaf 15 june 2014
Greeen bus plan   green shop beleaf 15 june 2014Greeen bus plan   green shop beleaf 15 june 2014
Greeen bus plan green shop beleaf 15 june 2014Utai Sukviwatsirikul
 
คุณลักษณะผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในภาคใต้ : ภาคการบริการ
คุณลักษณะผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในภาคใต้ : ภาคการบริการคุณลักษณะผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในภาคใต้ : ภาคการบริการ
คุณลักษณะผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในภาคใต้ : ภาคการบริการRuangvate Meesup
 
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคบริการ]
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคบริการ]คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคบริการ]
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคบริการ]siep
 

Ähnlich wie แผนธุรกิจ (คู่มือการจัดทำแผนธุรกิจ Sme) (20)

Business model to Business plan
Business model to Business planBusiness model to Business plan
Business model to Business plan
 
Business Plan Guideline_Supavadee 17012023.pdf
Business Plan Guideline_Supavadee 17012023.pdfBusiness Plan Guideline_Supavadee 17012023.pdf
Business Plan Guideline_Supavadee 17012023.pdf
 
การบริหารโครงการอย่างมีประสิทธิผล 2 วัน
การบริหารโครงการอย่างมีประสิทธิผล  2 วันการบริหารโครงการอย่างมีประสิทธิผล  2 วัน
การบริหารโครงการอย่างมีประสิทธิผล 2 วัน
 
บทที่1 แผนธุรกิจ คืออะไร
บทที่1 แผนธุรกิจ คืออะไรบทที่1 แผนธุรกิจ คืออะไร
บทที่1 แผนธุรกิจ คืออะไร
 
แบบฟอร์มข..[1]
แบบฟอร์มข..[1]แบบฟอร์มข..[1]
แบบฟอร์มข..[1]
 
Business plan chap4
Business plan chap4Business plan chap4
Business plan chap4
 
บทที่2 การวางแผนธุรกิจที่ดีมีประโยชน์อย่างไร
บทที่2 การวางแผนธุรกิจที่ดีมีประโยชน์อย่างไรบทที่2 การวางแผนธุรกิจที่ดีมีประโยชน์อย่างไร
บทที่2 การวางแผนธุรกิจที่ดีมีประโยชน์อย่างไร
 
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและแผน
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและแผนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและแผน
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและแผน
 
ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและแผน
ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและแผนความรู้เกี่ยวกับนโยบายและแผน
ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและแผน
 
หลักสูตรที่ 2 หน่วยที่ 4: ความเข้าใจแผนธุรกิจ
หลักสูตรที่ 2 หน่วยที่ 4: ความเข้าใจแผนธุรกิจหลักสูตรที่ 2 หน่วยที่ 4: ความเข้าใจแผนธุรกิจ
หลักสูตรที่ 2 หน่วยที่ 4: ความเข้าใจแผนธุรกิจ
 
Guide note on wrting a business plan thai
Guide note on wrting a business plan  thai Guide note on wrting a business plan  thai
Guide note on wrting a business plan thai
 
Guide notes on writing a business plan ข้อแนะนำในการเขียนแผนธุรกิจ
Guide notes on writing a business plan ข้อแนะนำในการเขียนแผนธุรกิจGuide notes on writing a business plan ข้อแนะนำในการเขียนแผนธุรกิจ
Guide notes on writing a business plan ข้อแนะนำในการเขียนแผนธุรกิจ
 
คำศัพท์ ต้องรู้
คำศัพท์ ต้องรู้คำศัพท์ ต้องรู้
คำศัพท์ ต้องรู้
 
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจภาคการผลิต
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจภาคการผลิตคู่มือการเขียนแผนธุรกิจภาคการผลิต
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจภาคการผลิต
 
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
 
Greeen bus plan green shop beleaf 15 june 2014
Greeen bus plan   green shop beleaf 15 june 2014Greeen bus plan   green shop beleaf 15 june 2014
Greeen bus plan green shop beleaf 15 june 2014
 
คุณลักษณะผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในภาคใต้ : ภาคการบริการ
คุณลักษณะผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในภาคใต้ : ภาคการบริการคุณลักษณะผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในภาคใต้ : ภาคการบริการ
คุณลักษณะผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในภาคใต้ : ภาคการบริการ
 
14001
1400114001
14001
 
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคบริการ]
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคบริการ]คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคบริการ]
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคบริการ]
 
Pocketbook bean
Pocketbook beanPocketbook bean
Pocketbook bean
 

แผนธุรกิจ (คู่มือการจัดทำแผนธุรกิจ Sme)

  • 1. แผนธุรกิจ (คู่มือการจัดทาแผนธุรกิจ) Date: 25 / 12 / 2001 แผนธุรกิจ (Business Plan) เป็นเครื่องมือที่มี ความสาคัญยิ่งสาหรับผู้ประกอบการที่ริเริ่มจะก่อตั้ง กิจการ แผนนี้เป็นผลสรุปหรือผลรวมแห่ง กระบวนการคิดพิจารณา และการตัดสินใจที่จะ เปลี่ยนความคิดของผู้ประกอบการออกมาเป็นโอกาส ทางธุรกิจ มีผู้เปรียบเทียบว่าแผนธุรกิจเปรียบเหมือนแผนที่ในการเดินทาง ที่จะชี้แนะขั้นตอนต่างๆ ทีละขั้นตอนในกระบวนการก่อตั้งกิจการ แผนจะให้รายละเอียดต่างๆ ทั้งเรื่องของการตลาด การ แข่งขันกลยุทธ์ในการดาเนินธุรกิจ การคาดคะเนทางการเงิน ที่จะชี้นาผู้ประกอบการไปสู่ความสาเร็จ หรือชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนและข้อควรระวังด้วยเช่นกัน ถ้าเปรียบว่าแผนที่ที่ดีย่อมจะให้รายละเอียดถนนหนทาง และทิศทางที่ชัดเจนแล้ว แผนธุรกิจก็ไม่ ต่างกันในการที่จะให้รายละเอียดอย่างเพียงพอที่จะทาให้ผู้ร่วมลงทุนตัดสินใจได้ว่า ธุรกิจนั้นควรจะ ร่วมลงทุนด้วยหรือไม่ จากแผนธุรกิจจะทาให้ผู้ร่วมลงทุนเข้าใจวัตถุประสงค์ของธุรกิจอย่างชัดเจน เข้าใจแนวคิดและปรัชญาของธุรกิจ แผนปฏิบัติการ ปัญหาอุปสรรค และหนทางที่เตรียมการเพื่อ ไปสู่ความสาเร็จ ถึงแม้ว่าผู้ประกอบการจะใช้เงินลงทุนของตัวเอง ไม่ต้องการผู้ร่วมลงทุนหรือเงินกู้ จากสถาบันการเงิน แผนธุรกิจก็ยังจาเป็นอยู่ดีเพื่อให้ผู้ประกอบการมีแผนที่ในการบอกทิศทางของ การดาเนินกิจการในอนาคต แผนธุรกิจสาคัญอย่างไร สาหรับผู้ประกอบการแล้ว แผนธุรกิจเป็นเอกสารที่มีความสาคัญยิ่งกว่าเอกสารใดๆ ที่เคยมีการ รวบรวมมา ความสาคัญเหล่านี้ ได้แก่ 1. แผนธุรกิจสาคัญในฐานะที่จะให้รายละเอียดของการเริ่มต้นธุรกิจ แผนธุรกิจทาให้ผู้ประกอบการ มีเป้าหมายที่ชัดเจน กาหนดแนวทางของความคิด และช่วยให้ผู้ประกอบการแน่วแน่ต่อการใช้ ทรัพยากรและกาลังความพยายามเพื่อไปสู่เป้าหมาย 2. แผนธุรกิจสาคัญในฐานะเป็นเครื่องมือที่จะแสวงหาเงินทุนจากผู้ร่วมลงทุน จากกองทุนร่วมลงทุน และจากสถาบันการเงินต่างๆ 3. แผนธุรกิจสาคัญในฐานะที่เป็นเสมือนพิมพ์เขียวที่ให้รายละเอียดของกิจกรรมต่างๆ ทั้งกิจกรรม ในการจัดหาเงินทุน กิจกรรมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กิจกรรมการตลาด และอื่นๆ ในการ บริหารกิจการใหม่ แผนธุรกิจยังใช้เพื่อกาหนดการปฏิบัติงานที่ต่อเนื่องในอนาคตของกิจการอีก ด้วย
  • 2. แผนธุรกิจควรมีอะไรบ้าง เนื่องจากแผนธุรกิจที่ดีย่อมช่วยในการวัดถึงความเป็นไปได้ของกิจการที่จะลงทุน แผนจึงควร ประกอบด้วยการวิเคราะห์อย่างละเอียดในตัวแปรหรือปัจจัยดังต่อไปนี้ 1. สินค้าหรือบริการที่จะขาย 2. กลุ่มลูกค้าที่คาดหวัง 3. จุดแข็งและจุดอ่อนของกิจการที่จะทา 4. นโยบายการตลาด เช่น นโยบายด้านราคา การส่งเสริมการตลาด การกระจายสินค้า 5. วิธีการหรือกระบวนการในการผลิต รวมถึงเครื่องจักร อุปกรณ์ที่ต้องใช้ 6. ตัวเลขทางการเงิน นับตั้งแต่รายได้ที่คาดว่าจะได้ ค่าใช้จ่าย กาไร ขาดทุน จานวนเงินลงทุนที่ ต้องการ และกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้มาหรือใช้ไป แผนธุรกิจที่ดี เมื่ออ่านแล้วควรจะต้องตอบคาถามเหล่านี้ได้ 1. การก่อตั้งธุรกิจเป็นรูปร่างชัดเจนขนาดไหน เสร็จสมบูรณ์แล้วหรือยัง 2. ธุรกิจนี้น่าลงทุนไหม 3. ธุรกิจมีแนวโน้มหรือโอกาสที่จะประสบความสาเร็จตั้งแต่เมื่อแรกตั้งมากน้อยขนาดไหน 4. ธุรกิจนี้มีความได้เปรียบหรือความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวมากน้อยเพียงใด 5. สินค้าที่จะผลิตมีวิธีการผลิตที่มีประสิทธิภาพเพียงใด 6. สินค้าที่ผลิตสามารถวางตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด 7. วิธีการผลิตและการวางตลาดสินค้านั้น มีทางเลือกอื่นๆ ที่ประหยัดได้มากกว่าหรือไม่ 8. หน้าที่ต่างๆ เช่น การผลิต การจาหน่าย การจัดการทางการเงิน การจัดการคน มีการ จัดการที่ดีและเหมาะสมเพียงใด 9. จานวนและคุณภาพของพนักงานที่ต้องการมีเพียงพอหรือไม่ โดยสรุปแล้วแผนธุรกิจที่มีการรวบรวมและเขียนขึ้นอย่างดีนั้น ไม่เพียงแต่ให้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง เท่านั้น ตัวแผนต้องสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ดี ที่จะส่งผ่านความคิด ผลการวิจัยและแผนที่จะ นาเสนอให้กับผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าของเงิน ต้องเป็นพื้นฐานสาคัญของการบริหารและ
  • 3. ดาเนินกิจการที่จะจัดตั้งขึ้น นอกจากนี้ ยังต้องเป็นเครื่องมือในการวัดผลความก้าวหน้าของกิจการ รวมถึงการประเมินถึงความเปลี่ยนแปลงที่จาเป็น ดังนั้น นับได้ว่าการวางแผนธุรกิจเป็นเรื่องที่ต้อง พิถีพิถัน ใช้เวลาใช้ความพยายาม เสียค่าใช้จ่าย แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับมา คือ ความแตกต่างระหว่าง ความสาเร็จและความล้มเหลวของกิจการทีเดียว องค์ประกอบของแผนธุรกิจ แม้ว่าองค์ประกอบของแผนธุรกิจจะไม่ได้มีกาหนดไว้ตายตัว หากแต่องค์ประกอบหลัก ซึ่งนักลงทุน พิจารณาว่าเป็นสิ่งสาคัญและต้องการรู้ จะประกอบด้วยสิ่งเหล่านี้ คือ 1. บทสรุปสาหรับผู้บริหาร 2. ประวัติโดยย่อของกิจการ 3. การวิเคราะห์สถานการณ์ 4. วัตถุประสงค์และเป้าหมายทางธุรกิจ 5. แผนการตลาด 6. แผนการจัดการและแผนกาลังคน 7. แผนการผลิต/ปฏิบัติการ 8. แผนการเงิน 9. แผนการดาเนินงาน 10. แผนฉุกเฉิน หมายเหตุ คู่มือการจัดทาแผนธุรกิจ (Business Plan) ฉบับนี้ ย่อจากเอกสารประกอบการบรรยายใน โครงการอบรมวิทยากร หลักสูตร "การวางแผนธุรกิจ" ซึ่งสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมได้จัดทาขึ้น เพื่ออบรมคณาจารย์ในระดับอุดมศึกษา สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย และ กระทรวงศึกษาธิการ ให้มีความรู้ในการจัดทาแผนธุรกิจ แล้วนาความรู้นั้นไปเผยแพร่ กระตุ้น ชักชวนให้นิสิตนักศึกษาที่กาลังศึกษาอยู่ (กลุ่มเป้าหมายที่ 1) และเยาวชนผู้สาเร็จการศึกษาระดับ อาชีวศึกษาหรือระดับปริญญาตรีขึ้นไป อายุไม่เกิน 30 ปี (กลุ่มเป้าหมายที่ 2) เข้าร่วมโครงการ สร้างเสริมนักธุรกิจยุคใหม่ "เอื้ออาทร" เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาให้นิสิต นักศึกษาและเยาวชน ในการทาแผนธุรกิจ คู่มือการจัดทาแผนธุรกิจฉบับย่อนี้ จะแสดงให้เห็นความสาคัญของแผนธุรกิจ แนวทางการเขียนแผน ธุรกิจ และองค์ประกอบที่สาคัญของแผนธุรกิจพอสังเขป ผู้ประกอบการที่ริเริ่มประกอบกิจการ หรือ นิสิตนักศึกษา เยาวชนและบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในการดาเนินธุรกิจส่วนตัว สามารถนาไปศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการทาแผนธุรกิจต่อไปได้
  • 4. สาหรับ โครงการอบรมวิทยากร (Train-Of-Trainers) หลักสูตร "การวางแผนธุรกิจ" (Business Plan) เป็นโครงการที่ได้จัดทาขึ้นเพื่อสนับสนุนโครงการสร้างเสริมนักธุรกิจยุคใหม่ "เอื้ออาทร" เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่กระทรวงอุตสาหกรรม ทบวงมหาวิทยาลัย กระทรวงศึกษาธิการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อม (สถาบันพัฒนา SMEs) ได้ร่วมกันจัดตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออบรม คณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาที่สังกัดทบวงมหาวิทยาลัยและกระทรวงศึกษาธิการ ให้มีความรู้ใน การจัดทาแผนธุรกิจ แล้วนาความรู้นั้นไปเผยแพร่ กระตุ้น ชักชวนให้นิสิตนักศึกษาที่กาลังศึกษาอยู่ (กลุ่มเป้าหมายที่ 1) และเยาวชนผู้สาเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษาหรือระดับปริญญาตรีขึ้นไปอายุ ไม่เกิน 30 ปี (กลุ่มเป้าหมายที่ 2) เข้าร่วมโครงการฯ ตลอดจนเป็นที่ปรึกษาให้นิสิตนักศึกษาและ เยาวชนในการทาแผนธุรกิจ แล้วนาแผนนั้นไปเป็นแนวทางในการดาเนินธุรกิจส่วนตัวยึดเป็นอาชีพได้ แทนการมุ่งหวังที่จะเป็นพนักงานในภาครัฐหรือเอกชน ช่วยให้นิสิตนักศึกษามีงานทา มีอาชีพส่วนตัว ลดอัตราการว่างงาน อันจะส่งผลให้โครงการฯ "เอื้ออาทร" ฯ บรรลุวัตถุประสงค์ได้ การอบรมวิทยากร หลักสูตรการวางแผนธุรกิจ (Business Plan) ได้ดาเนินการแล้ว ระหว่าง วันที่ 22 พฤษภาคม - 16 มิถุนายน 2543 รวม 8 รุ่น โดยสัญจรไปตามมหาวิทยาลัยที่เป็น เครือข่ายของสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) 7 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จานวนผู้เข้า รับการอบรมทั้งสิ้น 1,105 คน ประกอบด้วย คณาจารย์จากทบวงมหาวิทยาลัย 289 คน คณาจารย์ จากกระทรวงศึกษาธิการ 499 คน และผู้สนใจทั่วไปและ SMEs 317 คน
  • 5. องค์ประกอบที่ 1 : บทสรุปสาหรับผู้บริหาร ผู้เขียน : ผศ.วิทยา ด่านธารงกูล เป็นส่วนที่จะสรุปใจความสาคัญๆ ของแผนธุรกิจทั้งหมดให้ อยู่ในความยาวไม่เกิน 1-2 หน้า ส่วนนี้มีความสาคัญ เพราะ เป็นส่วนแรกที่ผู้ร่วมลงทุนจะอ่านและจะต้องตัดสินใจจาก ส่วนนี้ว่า จะอ่านรายละเอียดในตัวแผนต่อหรือไม่ ดังนั้น บทสรุปผู้บริหารจึงต้องชี้ให้เห็นประเด็นสาคัญสองประการ คือ หนึ่ง ชี้ให้เห็นว่ามีโอกาสจริงๆ เกิดขึ้นในตลาดสาหรับ ธุรกิจที่กาลังคิดจะทา สอง ต้องชี้ให้เห็นว่า สินค้าหรือบริการที่จะทานั้น จะสามารถใช้โอกาสใน ตลาดที่ว่านั้นให้เป็นประโยชน์ได้อย่างไร บทสรุปผู้บริหารจึงต้องเขียนให้เกิดความน่าเชื่อถือ หนัก แน่น และชวนให้ติดตามรายละเอียดที่อยู่ในแผนต่อไป ผู้เขียนแผนควรระลึกไว้เสมอว่า คุณภาพของ บทสรุปผู้บริหารจะสะท้อนถึงคุณภาพของแผนโดยรวม จึงควรให้เวลากับการเขียนส่วนนี้อย่าง พิถีพิถัน เนื้อหาในบทสรุปผู้บริหารควรจะกล่าวถึงสิ่งต่อไปนี้ 1. อธิบายว่าจะทาธุรกิจอะไร และแนวคิดของธุรกิจนั้นเป็นอย่างไร พยายามอธิบายให้เห็นว่า สินค้าหรือบริการที่จะทานั้นจะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตหรือวิถีการใช้สินค้า หรือบริการไปจากเดิมอย่างไร บอกด้วยว่าธุรกิจจะก่อตั้งเมื่อไร สินค้า/บริการมีคุณสมบัติพิเศษอะไร ในแง่รูปลักษณ์ ประโยชน์ใช้สอย เทคโนโลยี ฯลฯ ที่จะได้เปรียบเหนือคู่แข่ง หากธุรกิจดาเนินการมา เป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว บอกด้วยว่า ขนาดของธุรกิจใหญ่ขนาดไหน มีความเติบโตก้าวหน้าในช่วงที่ ผ่านมาอย่างไร 2. โอกาสและกลยุทธ์ สรุปว่าอะไรคือโอกาส ทาไมจึงน่าในใจ และจะใช้โอกาสนั้นด้วยวิธี อย่างไร ข้อมูลส่วนนี้อาจนาเสนอในรูปข้อเท็จจริงของตลาด เงื่อนไขตลาด สภาพของคู่แข่ง (เช่น คู่แข่งขันไม่ ปรับปรุงสินค้ามานานแล้ว คู่แข่งขันกาลังเพลี่ยงพล้า แนวโน้มของอุตสาหกรรมและอื่นๆ ที่แสดงว่า โอกาสทางการค้ากาลังเปิดให้)
  • 6. 3. กลุ่มลูกค้าเป้าหมายและการคะเนลูกค้าเป้าหมาย ระบุและอธิบายย่อๆ ถึงลักษณะตลาด ใครเป็นกลุ่มลูกค้าหลัก จะจัดวางตาแหน่งผลิตภัณฑ์อย่างไร จะวางแผนการเข้าถึงลูกค้าอย่างไร รวมถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างของตลาด ขนาดและอัตรา การเติบโตของกลุ่มลูกค้า ยอดขาย และส่วนแบ่งตลาดที่คาดหมาย 4. ความได้เปรียบเชิงแข่งขันของธุรกิจ ระบุถึงความได้เปรียบและความเหนือกว่าในการแข่งขัน เช่น ความได้เปรียบจากตัวผลิตภัณฑ์ การ ได้เปรียบจากการเข้าตลาดก่อน ความได้เปรียบจากการที่คู่แข่งขันอยู่ในภาวะอ่อนแอ ตลอดจน เงื่อนไขอื่นๆ ของอุตสาหกรรมนั้นๆ 5. ความคุ้มค่าเชิงเศรษฐกิจและความสามารถในการทากาไร บทสรุปให้เห็นถึงความคุ้มค่าของการลงทุน เช่น กาไรขั้นต้น กาไรจากการดาเนินงาน ระยะเวลา ของการทากาไร ระยะเวลาการคุ้มทุน ระยะเวลาที่กระแสเงินสดจะเป็นบวก การคาดหมายอัตรา ผลตอบแทนจาการลงทุน และการคาดคะเนผลตอบแทนทางการเงินอื่นๆ 6. ทีมผู้บริหาร สรุปความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และทักษะของผู้ที่เป็นตัวหลักในการก่อตั้งและบริหาร พร้อมสมาชิกในทีม บอกย่อๆ ถึงความสาเร็จในอดีต โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการทากาไร การ บริหารงานและคน 7. ข้อเสนอผลตอบแทน ระบุสั้นๆ ถึงเงินลงทุนหรือเงินกู้ที่ต้องการ จะเอาเงินไปทาอะไร จะตอบแทนเจ้าของเงินอย่างไร ผลตอบแทนของการลงทุนของเจ้าหน้าที่หรือผู้ร่วมลงทุนจะเป็นเท่าใด
  • 7. องค์ประกอบที่ 2 : ประวัติย่อของกิจการ ผู้เขียน : อ.ดร.พิภพ อุดร ส่วนนี้คือการให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของการก่อตั้งกิจการ ทั้งในด้านรูปแบบ การจัดตั้งหรือจดทะเบียน ตลอดจนแนวคิดและที่มาของการเล็งเห็นโอกาสทางการตลาด การคิดค้น และพัฒนาสินค้า/บริการ ที่ต้องการนาเสนอให้กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้ควรให้ข้อมูล เกี่ยวกับเป้าหมายระยะที่ต้องการให้เป็นในอนาคต องค์ประกอบที่ 3 : การวิเคราะห์สถานการณ์ ผู้เขียน : อ.ดร.พิภพ อุดร อ.ดร.ครรชิตพล ยศพรไพบูลย์ ขั้นตอนแรกของการจัดทาแผนธุรกิจ คือ การพยายาม ทาความเข้าใจถึงสภาพแวดล้อมของการดาเนินธุรกิจใน ปัจจุบัน และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคตของ ปัจจัยสาคัญๆที่ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์การแข่งขัน ความน่าสนใจโดยรวมของอุตสาหกรรม ตลอดจนความสามารถในการทากาไร และความพร้อมใน ด้านต่างๆ ของกิจการ ดังนั้นการวิเคราะห์สถานการณ์จึงเป็นงานอันดับแรกที่สาคัญที่ผู้ประกอบการ ควรกระทา เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการกาหนดทิศทาง กลยุทธ์ และแผนการดาเนินงานของกิจการ การ วิเคราะห์สถานการณ์หรือเรียกอย่างย่อๆ ว่า SWOT ANALYSIS 1. การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน หมายถึง การตรวจสอบความสามารถและความพร้อมของกิจการใน ด้านต่างๆ ทั้งนี้โดยมุ่งเน้นการวิเคราะห์ในส่วนที่เป็น จุดแข็ง (Strengths) และ จุดอ่อน (Weaknesses) ของกิจการ 2. การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก หมายถึง การประเมินสภาพแวดล้อมในการดาเนินธุรกิจที่ ผู้ประกอบการไม่สามารถควบคุมหรือเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นจึงต้องพยายามเข้าใจในสถานการณ์ ปัจจุบันและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคตของสภาพแวดล้อมดังกล่าว เป็นไปในลักษณะที่เป็น โอกาส (Opportunities) หรือ อุปสรรค (Threats) ในการดาเนินธุรกิจ ผลลัพธ์จากขั้นตอนของการวิเคราะห์สถานการณ์ คือ บทวิเคราะห์ความเป็นไปและแนวโน้มการ เปลี่ยนแปลงของการดาเนินธุรกิจที่เป็นประโยชน์ในการกาหนดกลยุทธ์ด้านต่างๆ ของกิจการ
  • 8. องค์ประกอบที่ 4 : วัตถุประสงค์และเป้าหมายทางธุรกิจ ผู้เขียน : อ.ดร.พิภพ อุดร อ.ดร.ครรชิตพล ยศพรไพบูลย์ วัตถุประสงค์และเป้าหมายทางธุรกิจ หมายถึง ผลลัพธ์ทางธุรกิจที่กิจการต้องการได้รับในช่วง ระยะเวลาของแผน ซึ่งโดยทั่วไปเป้าหมายทางธุรกิจอาจเป็นเป้าหมายโดยรวมของกิจการ และ เป้าหมายเฉพาะด้านในแต่ละแผนกหรือลักษณะงาน เช่น เป้าหมายทางการตลาด เป้าหมาย ทางการจัดการ เป้าหมายทางการผลิต และเป้าหมายทางการเงิน เป็นต้น นอกจากนี้เป้าหมายทาง ธุรกิจอาจแบ่งเป็นเป้าหมายระยะสั้น คือ ภายใน 1 ปี เป้าหมายระยะกลาง ประมาณ 3-5 ปี และ เป้าหมายระยะยาวที่นานกว่า 5 ปี ลักษณะของเป้าหมายของธุรกิจที่ดีมี 3 ประการ คือ 1. มีความเป็นไปได้ หมายความว่า กิจการมีโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายได้ หากได้มีการดาเนินงาน อย่างเต็มที่ตามแผนธุรกิจที่วางไว้ การกาหนดเป้าหมายทางธุรกิจควรประเมินจาก สภาพแวดล้อมในการดาเนินธุรกิจทั้งภายนอกและภายในกิจการ กล่าวคือ ไม่ควรตั้งเป้าหมายที่ เลื่อนลอยเกินความจริงจนทาไม่ได้ และก่อให้เกิดความท้อแท้ แต่ก็ไม่ควรตั้งเป้าหมายที่ง่าย จนเกินไปจนไม่ต้องทุ่มเทความพยายามใดๆ ก็สามารถที่จะบรรลุเป้าหมายได้โดยง่าย เป้าหมาย ที่ดีจึงควรเป็นผลลัพธ์ที่ทาได้ยากแต่มีความเป็นไปได้ 2. สามารถวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม หมายถึง มีความชัดเจนที่สามารถประเมินได้ว่า กิจการ บรรลุตามเป้าหมายนั้นหรือไม่ ทั้งนี้ โดยทั่วไป ควรจะต้องกาหนดระยะเวลาให้ชัดเจนว่า จะต้องบรรลุถึงเป้าหมายนั้นภายในระยะเวลาเท่าใด 3. เป็นไปในทิศทางเดียวกัน หมายถึง เป้าหมายย่อยๆ ในแต่ละฝ่ายควรมีความสอดคล้องและ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมทั้งให้แน่ใจว่าเป้าหมายระยะสั้นๆ เป็นไปเพื่อสนับสนุนและ ส่งเสริมเป้าหมายในระยะปานกลางและระยะยาว กล่าวคือ ไม่มุ่งหวังเพียงกาไรหรือผลลัพธ์ในระยะสั้นมากจนเกินไป โดยเฉพาะหากผลในระยะสั้นนั้น จะก่อให้เกิดผลเสียได้ในระยะปานกลางและระยะยาว
  • 9. องค์ประกอบที่ 5 : แผนการตลาด ผู้เขียน : อ.ดร.พิภพ อุดร อ.ดร.ครรชิตพล ยศพรไพบูลย์ แผนการตลาด คือ การกาหนดทิศทางและแนวทางในการ ทุ่มเทความพยายามทางการตลาด ตลอดจนกลไกในการ ตรวจสอบและประเมินผลกิจกรรมการตลาดไว้ล่วงหน้า โดยใช้ ประโยชน์จากความเข้าใจที่ได้รับจากการวิเคราะห์สถานการณ์ ในองค์ประกอบที่ 3 มาพิจารณาร่วมกับวัตถุประสงค์และ เป้าหมายทางธุรกิจที่กาหนดไว้ในองค์ประกอบที่ 4 ดังนั้น การวางแผนการตลาดจึงเป็นการกาหนดกลยุทธ์และวิธีในการดาเนินกิจกรรมทางการตลาด เพื่อให้กิจการสามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่มุ่งหวัง โดยคานึงถึงการใช้ทรัพยากรทาง การตลาดให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการตอบรับกับความเป็นไปและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของ สภาพแวดล้อมในดาเนินธุรกิจทั้งภายนอกและภายในกิจการ เนื้อหาของแผนการตลาดต้องตอบคาถามหลักๆ ให้กับผู้ประกอบการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ 1. เป้าหมายทางการตลาดที่ต้องทาให้ได้ในระยะเวลาของแผนคือเรื่องอะไรบ้าง 2. ใครคือลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ทั้งกลุ่มเป้าหมายหลักและกลุ่มเป้าหมายรอง 3. จะนาเสนอสินค้า/บริการอะไรให้กลุ่มเป้าหมาย ในราคาเท่าใด และด้วยวิธีการใด 4. จะสร้างและรักษาความพึงพอใจให้กับกลุ่มเป้าหมายเหล่านั้นได้ด้วยวิธีการใดบ้าง 5. ถ้าสถานการณ์ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ จะปรับตัวหรือแก้ไขอย่างไร ในการตอบคาถามดังกล่าวข้างต้น ผู้ประกอบการจาเป็นต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ตลอดจน ประสบการณ์และวิจารณญาณที่ดี ในการกาหนดเป้าหมาย กลยุทธ์ และวิธีการทางการตลาด สาหรับกิจการตามองค์ประกอบที่สาคัญของแผนการตลาด ซึ่งมีเนื้อหาหลัก 4 ส่วน ดังต่อไปนี้ 1. เป้าหมายทางการตลาด 2. การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย 3. กลยุทธ์และกิจกรรมทางการตลาด - กลยุทธ์การตลาดเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน - กลยุทธ์เพื่อการเติบโตทางการตลาด - กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด 4. การควบคุมและประเมินผลทางการตลาด
  • 10. องค์ประกอบที่ 6 : แผนการจัดการและแผนคน ผู้เขียน : ผศ.วิทยา ด่านธารงกูล ในส่วนนี้ผู้จัดทาแผนจะต้องระบุโครงสร้างขององค์การให้ชัดเจน โดยแสดงแผนผัง โครงสร้างขององค์กรว่า ประกอบไปด้วยหน่วยงานอะไรบ้าง หน่วยงานแต่ละหน่วยมีความ รับผิดชอบอะไร รวมถึงตาแหน่งผู้บริหารหลักๆ ขององค์การ โครงสร้างของคณะกรรมการและการ ถือหุ้น การเขียนในส่วนนี้ควรจะทาให้ผู้อ่านเห็นว่าคณะผู้บริหารรวมตัวกันในลักษณะเป็นทีมที่ดีใน การบริหาร มีความสมดุลในด้านความรู้ ความสามารถที่ครบถ้วน ทั้งด้านเทคนิคและการบริหาร มี ความชานาญและประสบการณ์ในกิจการที่ทา รายละเอียดในส่วนนี้ประกอบด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้ คือ 1. โครงสร้างองค์กร 1.1 ตาแหน่งงานหลักๆ ขององค์การ คนที่จะมา ดารงตาแหน่ง พร้อมทั้งแผนผังองค์การ 1.2 หากผู้บริหารคนใดคนหนึ่ง ไม่สามารถปฏิบัติ หน้าที่ได้เต็มเวลา ต้องระบุว่าใครจะเป็นผู้ช่วย ในงานนั้น เพื่อทาให้งานสมบูรณ์ 1.3 หากทีมงานผู้บริหารเคยทางานร่วมกันมาก่อน ให้ระบุว่าเคยทางานอะไร มีความสาเร็จใน ฐานะทีมที่ดีอะไรบ้าง 2. ตาแหน่งบริหารหลัก 2.1 ระบุว่าตาแหน่งบริหารหลักๆ มีความรู้ความชานาญอะไรบ้าง และมีความเหมาะสมใน ตาแหน่งงานนั้นอย่างไร 2.2 ระบุบทบาท ภาระความรับผิดชอบของแต่ละตาแหน่งในทีมบริหาร 2.3 อาจใส่ประวัติสั้นๆ ของทีมบริหารเอาไว้ในส่วนนี้ด้วยก็ได้ หรือมิฉะนั้นอาจนาไปใส่ไว้ รวมกันในภาคผนวก 3. ผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้บริหาร ระบุเงินเดือนที่จ่ายแก่ผู้บริหาร ตลอดจนผลประโยชน์ใน รูปแบบอื่นๆ และสัดส่วนการถือหุ้น ของผู้บริหารแต่ละคน 4. ผู้ร่วมลงทุน ระบุผู้ร่วมลงทุนอื่นๆ และเปอร์เซ็นต์การถือหุ้น 5. คณะกรรมการบริษัท ระบุคุณสมบัติของกรรมการบริษัท องค์ประกอบและภูมิหลังของ กรรมการแต่ละคนว่าจะเป็นประโยชน์ต่อกิจการอย่างไร
  • 11. องค์ประกอบที่ 7 : แผนการผลิต/ปฏิบัติการ ผู้เขียน : อ.ดร.เอกจิตต์ จึงเจริญ หลังจากที่ผู้ประกอบการได้ทาการวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของกิจการ ตลอดจนกาหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจและแผนกล ยุทธ์ของกิจการในภาพรวม เพื่อสร้างความ ได้เปรียบเชิงแข่งขันแล้ว ผู้ประกอบการจาเป็นต้อง ถ่ายทอดสิ่งเหล่านั้นให้ออกมาเป็นแผนการผลิต/ ปฏิบัติที่สอดคล้องและเชื่อมโยงกับแผนธุรกิจส่วน อื่นๆ ของบริษัท อันได้แก่ แผนการตลาด แผนการ บริหารและจัดการบุคลากรและแผนการเงิน เพื่อ สนับสนุนและส่งเสริมให้องค์กรมีศักยภาพในการบรรลุเป้าหมายตามแผนนั้นๆ แผนการผลิต/ปฏิบัติการที่ดีจะต้องสะท้อนความสามารถของกิจการในการจัดการกระบวนการผลิต และปฏิบัติการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับธุรกิจ โดย มุ่งเน้นประเด็นการจัดการไปยังระบบการแปลงสภาพวัตถุดิบและทรัพยากรในการผลิตให้เป็น ผลผลิต ซึ่งสามารถแสดงความสัมพันธ์ได้ดังแผนภาพที่ 1 โดย วัตถุดิบและทรัพยากร นั้น หมายถึง ปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ ชั่วโมงแรงงานที่ทาการผลิต หรือค่าใช้จ่ายรวมของทรัพยากรทุก อย่างที่ใช้ ได้แก่ ค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงาน เงินลงทุน และอื่นๆ สาหรับ กระบวนการผลิตและ ปฏิบัติการ หมายถึง กระบวนการในการแปลงสภาพวัตถุดิบและทรัพยากรการผลิตให้เป็นผลผลิต และ ผลผลิต นั้น หมายความถึง จานวนหรือมูลค่าของสินค้าและบริการที่ผลิตได้
  • 12. ในการวางแผนการผลิต/ปฏิบัตินั้น ผู้ประกอบการต้องพิจารณาตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการ ผลิตและปฏิบัติการภายในกิจการตามประเด็นที่สาคัญๆ รวม 10 ประเด็นดังต่อไปนี้ คือ 1. คุณภาพ 2. การออกแบบสินค้าและบริการ 3. การออกแบบกระบวนการผลิตและปฏิบัติการ และการตัดสินใจเรื่องกาลังการผลิต 4. การเลือกสถานที่ตั้ง 5. การออกแบบผังของสถานประกอบการ 6. การออกแบบระบบงานและการวางแผนกาลังคน 7. การจัดกระบวนการจัดส่งวัตถุดิบ และสินค้าสาเร็จรูป (Supply-Chain Management) 8. ระบบสินค้าคงคลัง 9. กาหนดการผลิตและปฏิบัติการ 10. การดารงรักษาเครื่องมือและเครื่องจักร
  • 13. องค์ประกอบที่ 8 : แผนการเงิน ผู้เขียน : รศ.ประนอม โฆวินวิพัฒน์ อ.วิภาดา ตันติประภา ผศ.พรชนก รัตนไพจิตร ผศ.พรชนก รัตนไพจิตร ในการจัดทาแผนธุรกิจนั้น กิจการต้องทราบให้ได้ว่าแผนที่จะจัดทาขึ้นนั้น เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ที่ตั้งไว้หรือไม่ การที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว จะต้องใช้เงินลงทุนจานวนเท่าใด จะได้มาจาก แหล่งใดบ้าง จากแหล่งเงินทุนภายใน ในรูปของเจ้าของกิจการ หรือแหล่งเงินทุนภายนอกในรูปของ การกู้ยืมจากเจ้าหนี้ เรียกว่า กิจกรรมจัดหาเงิน (Financing Activities) จากนั้น จะเป็นเรื่อง ของการตัดสินใจนาเงินไปลงทุน กิจกรรมนี้เรียกว่า กิจกรรมลงทุน (Investing Activities) ซึ่ง จะแตกต่างไปตามประเภทของธุรกิจ กิจกรรมที่สาคัญต่อเนื่องจากกิจกรรมดังกล่าวข้างต้น คือ กิจกรรมดาเนินงาน (Operating Activities) ซึ่งจะประกอบไปด้วย การผลิต การซื้อ การขาย และการจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ การตัดสินใจเกี่ยวกับกิจกรรมหลักทั้งสาม คือ กิจกรรมจัดหาเงิน กิจกรรมลงทุน และกิจกรรม ดาเนินงาน จะเป็นปัจจัยสาคัญต่อความสาเร็จของการดาเนินธุรกิจ นักบัญชีจะเป็นผู้นาเสนอผลของ กิจกรรมทั้งสาม และสรุปออกมาเป็น งบการเงิน (Financial Statements) ซึ่งเป็นรายงานสรุป ขั้นสุดท้ายของขบวนการจัดทาบัญชี ที่แสดงให้เห็นถึงข้อมูลทางการเงินของธุรกิจหรืออาจจะเป็นงบ การเงินที่ครอบคลุมการดาเนินกิจกรรมทางธุรกิจในรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อให้ทราบว่า ในรอบระยะเวลาที่ผ่านมานั้น ธุรกิจมีฐานะการเงินอย่างไร กาไรหรือขาดทุน มีการเปลี่ยนแปลงใน เงินสดอย่างไรบ้าง เพิ่มขึ้นหรือลดลง และสาเหตุเกิดจากอะไร งบการเงินประกอบด้วย 1. งบดุล เป็นรายงานที่แสดงถึงฐานะของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง ในงบดุลจะประกอบไปด้วย ข้อมูลทางการเงินที่แสดงถึงฐานะของกิจการ คือ ข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของผู้ เป็นเจ้าของ 2. งบกาไรขาดทุน เป็นงบที่แสดงถึงผลการดาเนินงานของกิจการ โดยแสดงรายได้ ค่าใช้จ่ายและ กาไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง 3. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ ส่วนของผู้เป็นเจ้าของหรือส่วนของผู้ถือหุ้น ประกอบไปด้วย 2 ส่วนด้วยกัน คือ - ทุนเรือนหุ้น - กาไรสะสม งบนี้จึงแสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของทุนเรือนหุ้นและกาไรสะสม
  • 14. 4. งบกระแสเงินสด เป็นงบการเงินที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของกระแสเงินใดในรอบ ระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง จะรายงานให้ทราบว่า เงินสดในปีปัจจุบันที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้น มี สาเหตุจากอะไรในกิจกรรม 3 ประเภท ดังต่อไปนี้ - กิจกรรมดาเนินงาน - กิจกรรมลงทุน - กิจกรรมจัดหาเงิน 5. นโยบายบัญชี หมายถึง หลักการบัญชีหรือวิธีปฏิบัติที่กิจการใช้ในการจัดทาและนาเสนองบ การเงิน เนื่องจากหลักการบัญชีที่กิจการเลือกใช้มีได้หลายวิธี วิธีการบัญชีที่กิจการเลือกใช้จะมี ผลกระทบต่องบการเงินไม่เหมือนกัน กิจการจึงต้องบอกข้อมูลดังกล่าวให้ผู้ใช้ในงบการเงินทราบ โดยทั่วไปแล้วกิจการควรเปิดเผยนโยบายบัญชีในเรื่องต่อไปนี้ไว้ในงบการเงิน - วิธีการรับรู้รายได้ - การตีราคาสินค้าคงเหลือ - การตีราคาเงินทุน - ค่าเผื่อหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ - วิธีการคิดค่าเสื่อมราคา และการตัดบัญชีสินทรัพย์ไม่มีตัวตน - การแปลงค่าเงินตราต่างประเทศ - การจัดทางบการเงินรวม
  • 15. องค์ประกอบที่ 9 : แผนการดาเนินงาน ผู้เขียน : ผศ.วิทยา ด่านธารงกูล หลังจากผู้ประกอบการกาหนดกลยุทธ์ในด้านต่างๆ ของ กิจการอย่างรอบคอบและครบถ้วนแล้ว ขั้นตอนต่อมาก็คือ การจัดทารายละเอียดของกลยุทธ์ดังกล่าว โดยการกาหนด กิจกรรมของกลยุทธ์แต่ละด้านให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ในทางปฏิบัติ ผู้ประกอบการอาจจะทาแผนการดาเนินงานในลักษณะของตารางที่มีรายละเอียดของ เป้าหมาย กลยุทธ์ วิธีการ งบประมาณ และระยะเวลาดาเนินการ โดยจัดทารายละเอียดเป็นราย เดือนหรือรายสัปดาห์ ตามที่ผู้ประกอบการเห็นสมควร องค์ประกอบที่ 10 : แผนฉุกเฉิน
  • 16. แผนฉุกเฉินเป็นการเตรียมแนวทางการดาเนินงานไว้ล่วงหน้า ในกรณีที่สถานการณ์หรือผลลัพธ์จาก การดาเนินงานไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ หรือมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น จนเป็นผลกระทบในทางลบ กับกิจการ ซึ่งโดยทั่วไปผู้ประกอบการควรอธิบายลักษณะความเสี่ยงทางธุรกิจที่อาจส่งผลให้การ ดาเนินธุรกิจไม่เป็นไปอย่างราบรื่นตามแผนธุรกิจที่ได้กาหนดไว้ ตัวอย่างของประเด็นความเสี่ยงทางธุรกิจและการเตรียมพร้อมที่ควรระบุไว้ในแผนฉุกเฉิน ได้แก่กรณี ดังต่อไปนี้ - ยอดขายหรือการเก็บเงินจากลูกหนี้ไม่เป็นไปตามคาดหมาย จนทาให้เงินสดหมุนเวียนขาด สภาพคล่อง - ธนาคารไม่ให้เงินกู้หรือลดวงเงินกู้ - คู่แข่งตัดราคาหรือจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่องระยะยาว - มีคู่แข่งรายใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่า ทันสมัยกว่า มีสินค้าครบถ้วนกว่า ราคาถูกกว่า เข้าสู่ อุตสาหกรรม หรือมาตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียง - สินค้าถูกลอกเลียนแบบและขายในราคาที่ถูกกว่า - มีปัญหากับหุ้นส่วนจนไม่สามารถร่วมงานกันได้ - สินค้าผลิตไม่ทันตามคาสั่งซื้อเนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบ - สินค้าผลิตมากจนเกินไป ทาให้มีสินค้าในมือเหลือมาก - เกิดการชะงักการเติบโตของทั้งอุตสาหกรรม - ต้นทุนการผลิต/การจัดการสูงกว่าที่คาดไว้ ฯลฯ
  • 17. สถาบันการเงิน "อยากรู้อะไรในแผนธุรกิจ" แผนธุรกิจไม่เพียงแต่จะเป็นเข็มทิศนาทางให้ผู้ประกอบการบริหารธุรกิจได้อย่างมี ประสิทธิภาพเพื่อสร้างผลประกอบการที่ดีให้แก่ธุรกิจแผนธุรกิจยังเป็น "เอกสารสาคัญ" ที่ สถาบันการเงินจะใช้พิจารณาประกอบการอนุมัติสินเชื่อให้แก่ธุรกิจด้วย โครงการเวทีพบปะและแสวงหาโอกาสและความร่วมมือทางธุรกิจของสถาบันพัฒนา SMEs เป็น กิจกรรมที่นามาซึ่งความร่วมมือ การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ทางธุรกิจ รวมถึงการเปิด โลกทัศน์ในการรับรู้เทคโนโลยีการจัดการสมัยใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการ โดยสถาบันฯ ได้เปิดเวที พบปะครั้งสุดท้ายของปี 2545 ด้วยการจัดเสวนากลุ่มย่อย เรื่อง "ลักษณะพึงประสงค์ของแผน ธุรกิจเพื่อเสนอสถาบันการเงิน" โดยระดมผู้เกี่ยวข้องจากสถาบันการเงินทั้งภาครัฐและภาคเอกชน มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อกาหนดกรอบหรือแนวทางสาหรับแผนธุรกิจที่สถาบันฯ จะช่วย ผู้ประกอบการจัดทาให้ถูกต้องตามมาตรฐาน และสอดคล้องกับความต้องการของสถาบันการเงิน โดยเฉพาะในเวลาที่ผู้ประกอบการมีความเร่งรีบในการใช้เงินและได้เข้ามาใช้บริการปรึกษาแนะนา ทางธุรกิจของสถาบันฯ เพื่อจัดทาแผนธุรกิจยื่นขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน หากแผนธุรกิจที่ สถาบันฯ ได้ช่วยผู้ประกอบการจัดทานั้น ต้องถูกสถาบันการเงินพิจารณาแก้ไขใหม่อีกครั้ง ก็อาจทา ให้ผู้ประกอบการเสียโอกาสทางธุรกิจได้ และความช่วยเหลือที่สถาบันฯ มีต่อผู้ประกอบการก็ไม่ ประสบผลสาเร็จเช่นกัน การจัดเสวนากลุ่มย่อยเพื่อประสานความร่วมมือในครั้งนี้ ทาให้สถาบันฯ ทราบว่าในการยื่นขอ สินเชื่อของผู้ประกอบการต่อสถาบันการเงินนั้นยังมีผู้ประกอบการอีกมากที่ไม่สามารถเสนอแผน ธุรกิจที่ถูกต้องหรือแสดงองค์ประกอบในแผนธุรกิจได้อย่างชัดเจน ซึ่งถือเป็นข้อจากัดที่สาคัญในการ พิจารณาอนุมัติสินเชื่อ และจากการเสวนาทาให้ทราบถึงมุมมองของสถาบันการเงินที่ต่อการ พิจารณาแผนธุรกิจเพื่ออนุมัติสินเชื่อ โดยเฉพาะรายละเอียดเพิ่มเติมบางประการที่สถาบันการเงิน เห็นว่าผู้ประกอบการควรระบุไว้ในแผนธุรกิจให้ชัดเจน ดังนี้ 1. แผนธุรกิจที่ดี ควรเป็นแผนที่ผู้ประกอบการลงมือเขียนด้วยตนเองเนื่องจากเป็นผู้ที่ทราบ รายละเอียดและข้อมูลต่างๆ ของธุรกิจมากที่สุด และองค์ประกอบที่สาคัญของแผนธุรกิจ คือ การ วิเคราะห์สมมติฐานและความเป็นไปได้ของโครงการนั้นๆ โดยเฉพาะในด้านการตลาดและการเงิน 2. ปัจจัยขององค์ประกอบที่มีผลต่อการพิจารณาของสถาบันการเงิน ทั้งผู้ประกอบการเดิม และผู้ประกอบการใหม่ได้แก่ ประสบการณ์ในการดาเนินงาน ความรู้ความชานาญ นอกจากนี้สถาบัน การเงินยังพิจารณาถึงปัจจัยที่มีส่วนสนับสนุนการดาเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ เช่น คณะผู้บริหาร ตลาด คู่แข่งขันทางธุรกิจ กระบวนการผลิต กรอบเงื่อนไขด้านระยะเวลา ขนาดของการลงทุน ความสามารถในการชาระหนี้คืนในระยะเวลาที่เหมาะสม หลักประกันความเสี่ยง วิธีการควบคุม
  • 18. ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และควรระบุปัจจัยความสาเร็จของธุรกิจซึ่งจะเป็นตัวสรุปภาพรวม ของธุรกิจให้เห็นอย่างชัดเจน 3. สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่จะส่งผลต่อการดาเนินธุรกิจ โดยพิจารณาทั้งในระดับมหภาค (Macroeconomic) ประกอบด้วย สภาวะเศรษฐกิจโลก แนวโน้มของภาคอุตสาหกรรม สภาพทาง สังคม ปัจจัยโอกาสทางธุรกิจหรือภัยคุกคามและระดับจุลภาค (Microeconomic) ประกอบด้วย ศักยภาพของบริษัท เป้าประสงค์ จุดขายของธุรกิจ ลักษณะสินค้า/บริการ 4. การบริหารจัดการบุคลากร ควรระบุแผนผังโครงสร้างการบริหารของพนักงานทุกระดับและ การแบ่งหน้าที่ของพนักงานแต่ละฝ่ายกระบวนการบริหารจัดการ สาหรับความน่าเชื่อถือของ ผู้บริหารควรให้ข้อมูลประวัติส่วนตัวประวัติการทางาน ประวัติการศึกษา 5. การตลาด ต้องระบุกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนในแนวทางหรือกลยุทธ์ในการขยายตลาด กลุ่มเป้าหมายในอนาคตด้วย 6. การบริหารจัดการด้านกระบวนการผลิต ควรระบุกาลังและเทคนิคทางการผลิต ขบวนการผลิต นโยบายการบริหารสินค้าคงคลัง ด้านวัตถุดิบ (การจัดหา การจัดสรรและการ จัดการ) สภาพของโรงงานผลิตและที่ตั้ง 7. การบริหารระบบบัญชีและการเงิน ข้อมูลด้านการเงินและบัญชีที่แสดงในแผนธุรกิจควรเป็นงบ ที่เชื่อถือได้และแสดงสถานภาพทางการเงินของบริษัทได้อย่างชัดเจนเพื่อนาไปสู่การวิเคราะห์งบ การเงินได้อย่างเป็นระบบ 8. การวิเคราะห์ความเสี่ยงและแผนสารอง ความเสี่ยงทางธุรกิจสามารถวิเคราะห์ได้จากปัจจัย หลายๆ อย่าง เช่น ศักยภาพของคณะผู้บริหาร แนวทางการตลาดและการบริหารการผลิต คู่แข่งขัน ทางธุรกิจ ซึ่งในบางครั้งอาจต้องมองไปถึงความเสี่ยงระดับประเทศที่อาจมีผลต่อกิจการได้ และอาจ ต้องทาแผนสารองสาหรับกรณีดังกล่าวไว้ด้วย เช่น เงินทุนสารองยามฉุกเฉิน พนักงานทดแทน ทรัพยากรสารองฯลฯ สาหรับรายละเอียดเชิงลึกในประเด็นต่างๆ ที่ผู้เข้าร่วมเสวนาได้ให้คาแนะนา สถาบันพัฒนา SMEs โดยฝ่ายปรึกษาแนะนาธุรกิจ จะได้จัดทารูปแบบมาตรฐานของแผนธุรกิจที่สามารถนาเสนอ รายละเอียดที่สถาบันการเงินต้องการได้อย่างครบถ้วน เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการใช้เวลาน้อยที่สุดใน การขออนุมัติสินเชื่อ และสถาบันการเงินเองก็สามารถพิจารณาอนุมัติสินเชื่อได้อย่างรวดเร็ว
  • 19. ผู้ประกอบการที่ต้องการใช้บริการปรึกษาแนะนาธุรกิจในด้านการเขียนแผนธุรกิจของสถาบัน พัฒนา SMEs ติดต่อได้ที่ โทรศัพท์ 0-2564-4000 ต่อ 1111 ในวันและเวลาทาการ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. 2545. "สถาบันการเงินอยากรู้อะไร ในแผนธุรกิจ." เพื่อนธุรกิจ SMEs. 2, 7: 2-3. ทาอย่างไรให้ SMEs กู้เงินจากสถาบันการเงินได้ ด้วยคาถามยอดฮิตที่สถาบันพัฒนา SMEs ได้รับจากผู้ประกอบการ SMEs ตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่าน มาเป็นคาถาม ที่ว่า "ทาอย่างไรจึงจะกู้เงินจากสถาบันการเงินได้?" จึงขอถือโอกาสเปิดตัวคอลัมน์นี้ ด้วยการนาข้อสรุปที่ได้จากเวทีเสวนากลุ่มย่อยเรื่องดังกล่าว ซึ่งสถาบันพัฒนา SMEs จัดขึ้นเมื่อ 18 เมษายน 2544 มานาเสนอเพื่อประโยชน์แก่ SMEs โดยทั่วกัน โดยจะขอนาเสนอประเด็นที่ เกี่ยวข้องกับการเตรียมพร้อมของ SMEs เป็นสาระสาคัญ ปัญหาและอุปสรรคในการกู้เงินของ SMEs ส่วนใหญ่เกิดจากความไม่พร้อมของผู้ประกอบการใน หลายๆ ด้าน ตัวอย่างเช่น เป็นผู้ประกอบการรายใหม่ ขาดประสบการณ์ ขาดความเข้าใจในการทา ธุรกิจที่ดีพอมีระดับภาระหนี้เกินตัว เป็นลูกหนี้ NPL ขาดการทาระบบบัญชีที่น่าเชื่อถือ ขาด หลักประกันที่เพียงพอ ขาดหลักฐานสาคัญในการยื่นประกอบคาขอกู้ เช่น สัญญาเงินกู้ ใบส่งสินค้า สัญญาการซื้อขาย เป็นต้น ปัญหาและอุปสรรคการกู้เงินไม่ได้ของผู้ประกอบการ SMEs อีกส่วนหนึ่งเกิดจากสถาบันการเงิน ธนาคารพาณิชย์และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนนโยบาย กฎเกณฑ์ และการปฏิบัติ เช่น การจัดชั้นลูกหนี้ที่เป็น NPL และตั้งสมมุติฐานว่าลูกหนี้ NPL เป็นกิจการที่ไม่สามารถฟื้นฟูได้ การ ใช้นโยบายการพิจารณาและวิเคราะห์สินเชื่อที่เหมือนกัน แม้ว่าจะมีลักษณะกิจการ ขนาดธุรกิจและ วัตถุประสงค์การกู้เงินที่แตกต่างกันการขาดมาตรฐานการพิจารณาการให้บริการตามลาดับก่อนหลัง เป็นต้น SMEs จะต้องเตรียมตัวอย่างไร องค์ประกอบสาคัญที่สถาบันการเงินและธนาคารพาณิชย์พิจารณาปล่อยสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ SMEs ได้แก่ ความสามารถของตัวผู้ประกอบการ การมีและใช้แผนธุรกิจในการประกอบธุรกิจ และ การมีหลักประกันค้าประกันที่เพียงพอ ทั้งนี้มีหลัก 8 ประการคือ 1. ผู้ประกอบการ SMEs มีความแน่นอนชัดเจนในธุรกิจ 2. มีความเหมาะสมและความจาเป็นในการกู้ 3. มีความพร้อมและความโปร่งใสด้านข้อมูล 4. สามารถแสดงหลักฐานประกอบ เช่น สัญญาเงินกู้ สัญญาซื้อ 5. มีประสบการณ์และมีการศึกษาในรายละเอียดของธุรกิจ
  • 20. 6. มีเงินทุนของตนเองขั้นต่า 20u0E02องเงินลงทุนทั้งหมด 7. มีหลักประกัน เช่น หลักทรัพย์ หนังสือค้าประกัน การโอนสิทธิการรับเงิน และ 8. มีความสามารถในการชาระหนี้ ทั้งนี้เอกสารประกอบการกู้ที่สาคัญที่สุดคือ แผนธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วยแผนงานด้านการตลาด การ จัดกาลังคน แผนการผลิต และแผนการเงิน ซึ่งแผนธุรกิจนี้นอกจากจะช่วยให้ผู้?ประกอบการ สามารถวางแผนการทาธุรกิจได้อย่างเป็นระบบ รอบคอบ และครบวงจรแล้ว ยังเป็นเครื่องมือที่จะ ทาให้ผู้ให้กู้เข้าใจธุรกิจของผู้ประกอบการเองได้ง่ายขึ้น สามารถวิเคราะห์ ศักยภาพการดาเนินธุรกิจ และความสามารถในการใช้คืนเงินกู้ได้นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการ SMEs ไม่ควรมุ่งเน้นการระดมทุนจากการกู้เงินเป็นหลักโดยเฉพาะใน ช่วงแรกของการเริ่มธุรกิจใหม่และไม่มีประสบการณ์ เพราะจะทาให้เกิดความวิตกกังวลต่อภาระ ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น แทนที่จะมุ่งเน้นการพัฒนาตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการสร้างนวัตกรรม ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นกุญแจแห่งความสาเร็จของ SMEs ผู้ประกอบการที่ต้องการคาปรึกษาแนะนาในการจัดทา "แผนธุรกิจ" สามารถติดต่อสอบถามและรับ บริการปรึกษาแนะนาของสถาบันพัฒนา SMEs ได้ที่โทร 0 2564 4000 ต่อ 2225-2226 การกู้ยืมเงิน เพื่อการลงทุน และต่อยอดธุรกิจ รายชื่อธนาคารที่ท่านสามารถยื่นเพื่อขอกู้ยืมเพื่อพัฒนาธุรกิจ ได้แก่ กองทุนรวมเพื่อร่วมลงทุนในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ( One-asset) บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม วรรณ จากัด ชั้น 5 อาคารเกษรเพลซ เลขที่ 999 ถ.เพลินจิต ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 Tel: 2656-1200 ต่อ 2802-2804 ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่อยู่ 273 ถนนสามเสน บางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 Tel: 0-2283-5353 ธนาคารกรุงเทพ จากัด (มหาชน) โครงการเงินกู้บัวหลวงเพื่อ SMEs บริการเงินกู้แก่ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ธนาคารกรุงเทพ จากัด (มหาชน) ทุกสาขา และสานักงานใหญ่ เลขที่ 2222 ถนนพระราม 3 ช่อง นนทรี ยานนาวา กรุงเทพ 10120 Tel: 2645-5555 ธนาคารกรุงไทย จากัด (มหาชน) กรุงไทย SMEs บริการเงินกู้ยืมแก่ SMEs ภายใต้โครงการ ต่าง ๆ ธนาคารกรุงไทย จากัด (มหาชน) 35 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 Tel:0-2255-2222
  • 21. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จากัด (มหาชน) สินเชื่อกรุงศรี SMEs ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จากัด (มหาชน) สานักงานใหญ่ 1222 ถนนพระราม3 บางโพงพาง ยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 Tel: 0-2296-3000 ธนาคารไทยพาณิชย์ จากัด (มหาชน) โครงการสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMEs) รวมถึงสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการรายย่อย (SBEs) Tel: 2777-7777 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส) โครงการสินเชื่อนอกภาคการเกษตร (สินเชื่อเพื่อSMEs) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 469 ถนนนครสวรรค์ เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 Tel: 0-2280-0180 ต่อ 2027 ธนาคารเพื่อการส่งออกและนาเข้าแห่งประเทศไทย (ธนส EXIM Bank) บริการสินเชื่อเพื่อธุรกิจ นาเข้า ส่งออก ศูนย์บริการสินเชื่อผู้ส่งออกรายย่อย ธสน. สานักงานใหญ่ ชั้นล็อบบี้ อาคารเอ็กซิม เลขที่ 1193 ถนนพหลโยธิน พญาไท กรุงเทพฯ 10400 Tel: 2271-3700 , 2617-2111 ต่อ 1310-1316 ธนาคารออมสิน บริการ สินเชื่อเพื่อธุรกิจ สานักงานใหญ่ ธนาคารออมสินสานักงานใหญ่ สะพานควาย พญาไท กรุงเทพฯ 10400 Tel: 0- 2299-8000 ต่อ 2110-3 , 0-2299-8451 บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐบาล ให้บริการด้าน การค้าประกันสินเชื่อในส่วนที่ขาดหลักประกันให้แก่ผู้ประกอบ การอุตสาหกรรมขนาดย่อม ที่อยู่บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม อาคารชาญอิสสระ ทาวเวอร์ II ชั้น 18 เลขที่ 2922/243 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพฯ 10320 Tel:(02) 308-2741 (อัตโนมัติ 12 เลขหมาย) บริษัท นครหลวง-โชวา สิสซิ่ง จากัด (มหาชน) การให้บริการเช่าซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ฯลฯ ที่อยู่ บริษัท นครหลวง-โชวา ลิสซิ่ง จากัด (มหาชน) สานักงานใหญ่ 1091/179-181 ถนนเพชรบุรี ตัดใหม่ ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 Tel: (0)2651-6442-51 ธนาคารทหารไทย บริการเพื่อธุรกิจเอส เอ็ม อี ที่อยู่ ธนาคารทหารไทย สานักงานใหญ่ 3000 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 Tel:(0)2299-1111, 0-2617-9111 ธนาคารกสิกรไทย จากัด บริการเพื่อธุรกิจเอส เอ็ม อี ธนาคารกสิกรไทย จากัด สานักงานใหญ่ 1 ซอยกสิกรไทย ถนนราษฏร์บูรณะ กรุงเทพฯ 10140 ประเทศไทย Tel: 02 470-1122, 02 470-1199 ตลาดหลักทรัพย์ ให้คาปรึกษาเรื่องการลงทุนในตลาดหุ้น
  • 22. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 62 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 Tel: 02 229 2000, 02 654 5656 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) โครงการเงินกู้ เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดย่อม โดยกรมส่งเสริม อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ที่อยู่ เลขที่ 475 อาคารสิริภิญโญ ชั้นที่ 9 ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 Tel: 0-2201- 3700-10 สงวนลิขสิทธิ์โดย : สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม